เรื่อง แด่หนุ่มสาวผู้เขียน กฤษณมูรติผู้แปล พจนา จันทรสันติสำนักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทองเลขมาตรฐานหนังสือ 9789749461679 ทัศนคติเราน่าจะไม่ค่อยตรงกับคุณพจนาสักเท่าไรติดใจตั้งแต่คำนำ รู้สึกเหมือนถูกตัดสิน และให้คำจำกัดความทำไมแค่การเป็นคนคนยุคเก่าทำให้เราต้องกลายเป็นคนที่น่ารังเกียจ สังคมต่อต้านอ่านไปอ่านมา ชักรู้สึกเหมือนถูกกบฎประนามว่าเราประนามกบฎหรือหนังสือเล่มนี้ต้องการพูดกับคนหนุ่มสาวจึงต้องดึงคนยุคเก่าขึ้นมาเป็นตัวร้าย? แค่เป็นคนรุ่นเก่าก็ผิดแล้วงั้นหรือทำไมต้องเหมารวมว่าคนรุ่นเก่าใช้ระบบเก่า และมีแนวความคิดแบบเก่าไปเสียหมดมีแต่คนรุ่นใหม่เท่านั้นหรือ ที่มีพลังในการเปลี่ยนประเทศแค่เริ่มอ่าน ก็ถูกกีดกันออกจากกลุ่มเสียแล้ว ส่วนเนื้อความภายในเล่มหนังสือเล่มนี้ไม่ค่อยตรงจริตเราเท่าไรแต่ก็อธิบายยากเหมือนกันมันเป็นหนังสือที่ฉีกออกไปจากกรอบของเราถ้าคลิกก็ชอบเลย เปิดรับเลยแต่ถ้าไม่คลิกอย่างเรา ..มันก็จะก้ำๆ กึ่งๆ อธิบายไม่ถูกอยู่แบบนี้ แด่หนุ่มสาว เป็นหนังสือที่ตั้งค่า mindset ให้คนหนุ่มสาวออกจะอุดมคติหน่อยๆ เป็นค่านิยมยอดนิยมในยุคสมัยหนึ่งหนังสือบอกให้เราเลิกกลัว ต้องออกจากกรอบและกฎเกณฑ์ต้องมีความรักต่อสิ่งที่เราเป็นด้วยใจจริงและทำสิ่งนั้นอย่างไม่หวังผล ไม่ครอบครองเป็นเจ้าของ แต่เรากลับรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เข้าใจในสิ่งที่เราเป็นจริงๆแต่กลับบอกให้เราเป็นอีกอย่าง หนังสือตั้งคำถามต่อระบบการศึกษาว่าเราเรียนไปเพื่อรู้หรือเรียนเพื่อนำความรู้ไปทำงานหาเลี้ยงชีพคนเราเกิดมาเพื่ออะไรเพื่อทำงาน หาเงิน ใช้ชีวิต และตายไป อย่างนั้นหรือหรือเกิดมาเพื่อแสวงหาคำตอบของชีวิต? สำหรับเรา การศึกษาไม่ได้ผิดอาจผิดที่ผู้สอนและผู้เรียนรู้ ผิดที่เจตนาและเป้าหมายถ้าคนเรียนท่องจำไปสอบ หรือถ้าคนสอนไม่สอนวิธีคิด แต่สอนวิธีทำถ้าคนเรียนอยากเรียนสูงเพื่อเหนือกว่าคนอื่น ฯลฯ ความรู้ทำให้เราพ้นความโง่เขลา พ้นอวิชางมงายหากเราไม่รู้เรียน รู้คิด รู้ศึกษาแล้วเริ่มต้นด้วยการนั่งนึกเอาเองถึงความหมายของชีวิต ..คำตอบที่ได้จะเป็นอวิชาได้หรือไม่?ทุกคนสามารถหาคำตอบของชีวิตได้ด้วยวิธีเช่นนี้หรือ?แล้วยังไงต่อ? ตอนที่เราอ่านเล่มนี้มันให้ความรู้สึกเหมือนพบใครสักคนที่ตั้งตนเหนือกว่าอุปโลกน์ตนเองเป็นผู้รู้ แล้วชี้นิ้วว่ากล่าวว่าสิ่งที่เราคิด เราเป็น นั้นผิดเธอต้องขบถสิ ต้องต่อต้านการศึกษาสิ ต้องค้นหาความหมายของชีวิตสิ ฯลฯ บางที เราอาจไม่ได้มีปัญหากับเนื้อหาของเขาแต่มีปัญหากับวิธีเล่าของเขาที่เหมารวมเกินไป[…]

เรื่อง แผ่นดินบนหลังเต่า เรื่องเล่าของชนเผ่าอินเดียน รวบรวมแปล ไกรวรรณ สีดาฟอง บรรณาธิการ ไอดา อรุณวงศ์ สำนักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง เลขมาตรฐานหนังสือ 9747233215 เล่มนี้ไม่ได้ถูกแปลมาจากหนังสือเล่มใดในภาษาต่างประเทศ หากแต่ผู้เขียนได้รวบรวมและแปลนิทานตำนานของหลายๆ เผ่าเอาไว้ในเล่มเดียว มันเป็นการรวบรวมตำนานของอินเดียนแดงหลายเผ่า ตำนานการเกิดวีรบุรุษ วีรสตรี ตำนานการเกิดสรรพสัตว์ ตำนานการเกิดภูเขา แม่น้ำ ทะเลสาบ เรื่องเล่าภูติผี เทวดา ความเชื่อ พอผ่าน ลิตเติ้ลทรี มาแล้ว ต่อด้วยเล่มนี้ ความรู้สึกถูกนำมาเปรียบเทียบกันเลยว่า เล่มนี้นำเสนอตัวตนของอินเดียนแดงแบบทื่อๆ เกินไป ในขณะที่ลิตเติ้ลทรีนำเสนอได้ละมุนละม่อม สวยงามกว่า (เยอะ) บางทีอาจเป็นที่สำนวนการเล่าเรื่อง ที่มีลักษณะคล้ายตำนานพื้นบ้านไทยโบราณ แฟนตาซี ทำนองนิยายปรัมปรา หรือตำนานชนเผ่า เรื่องราวเกี่ยวกับกำเนิดโลก กำเนิดมนุษย์ ในเรื่องท้ายๆ ยังมีเรื่องเล่าผสมเรื่องจริง ที่ได้สอดแทรกประวัติศาสตร์การบุกรุก ครอบครอง กดขี่ ที่คนขาวกระทำต่ออินเดียนแดงเอาไว้ด้วย ก่อนจบเล่ม ผู้เขียนได้รวบรวมประวัติของชนเผ่าอินเดียนแดงแต่ละเผ่า เอาไว้อย่างสั้นๆ ซึ่งมันทำให้เราค่อยๆ ทำความรู้จัก[…]

เรื่อง ลิตเติ้ลทรี ผู้แต่ง ฟอร์เรสต์ คาร์เตอร์ ผู้แปล กรรณิการ์ พรมเสาร์ สำนักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง เลขมาตรฐานหนังสือ 9747092867 หนังสือเล่มนี้ เล่าเรื่องในมุมมองของหนูน้อยดินเดียนแดง วัย 5 – 6 ขวบ ชื่อของเขาคือ ลิตเติ้ลทรี เรื่องราวมีอารมณ์ขัน คล้ายๆ จะเสียดสี แต่ก็คล้ายจะซื่อๆ ถ่ายทอดความรู้สึกได้ดี ในเรื่อง เป็นยุคสมัยที่คนขาวเข้ามาอยู่บนผืนแผ่นดินของอินเดียนแดงแล้ว และพยายามจัดระเบียบ แทรกซึม และแทรกแซงชาวอินเดียนแดงทีละน้อย เรื่องเปิดขึ้นด้วยบรรยากาศอบอุ่น อ่านแล้วมันอุ่นๆ ในใจ แม้ว่าเรื่องราวจะเริ่มต้นด้วยการที่ ‘ผม’ กลายเป็นลูกกำพร้า และต้องย้ายไปอยู่กับปู่และย่า ซึ่งเป็นอินเดียนแดง นับแต่นั้น เด็กชายลูกครึ่งนอกสมรส ก็กลายเป็นเด็กชายอินเดียนแดงเชโรกีโดยสมบูรณ์ ปู่กับย่า (น่าจะ) อาศัยอยู่ในเขตสงวนแห่งหนึ่งของอเมริกา อยู่ในป่าที่ไม่ไกลจากเมืองนัก กับเหล่าสุนัขล่าเนื้อ ลาแก่ๆ และสรรพสัตว์ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของใคร ลิตเติ้ลทรีเรียนรู้วิถีชีวิตของอินเดียนแดง วิถีแห่งป่า วิถีชีวิตที่กลมกลืน เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ผู้เขียนผูกโยงธรรมชาติการอยู่ร่วมกันระหว่างสัตว์ด้วยกัน ระหว่างคนกับสัตว์ และเชื่อมโยงมาถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนด้วยกัน[…]