เรื่อง ข้ามสมุทร ผู้แต่ง วิษณุ เครืองาม สำนักพิมพ์ มติชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9789740214434 เห็นปก และสำนักพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือเรื่อง ข้ามสมุทร ครั้งแรก รวมทั้งชื่อผู้เขียนที่เป็นนักการเมืองชื่อดัง ทำให้เราเข้าใจไปว่า มันต้องเป็นหนังสือเชิงวิชาการที่อ่านยากแน่ๆ เดชะบุญที่มีโอกาสไปอ่านรีวิวที่ไหนสักที่ จึงรู้ว่ามันไม่ได้เป็นอย่างที่คิด ด้วยคำว่า .. การเดินทางข้ามเวลา .. แท้ๆ เทียว เราเป็นแฟนหนังสือแนวนี้ค่ะ แค่คำนี้คำเดียว (จริงๆ ก็มีปัจจัยอื่นๆ ด้วยอีกนิดหน่อย) ก็ทำให้เราตัดสินใจลองซื้อมาอ่าน แล้วก็ไม่ผิดหวังจริงๆ เพราะมันเป็นนิยายแท้ๆ เลย แต่เป็นนิยายที่อัดแน่นไปด้วยเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ของทั้งฝรั่งเศสและอยุธยา ทั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์อันตรงกับสมัยของพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 และในยุคต่อๆ อีกประปรายตามความรู้ความทรงจำของตัวละคร มาจนถึงยุคปัจจุบัน ข้อมูลประวัติศาสตร์รอบด้าน ครบถ้วน กระชับ ได้ใจความ ไม่เยิ่นเย้อรุงรัง แต่ก็ให้รายละเอียดมาก ทั้งรายละเอียดบ้านเมือง การเดินทาง บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งสำหรับเรา[…]

เรื่อง อธิราชา ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม เลขมาตรฐานหนังสือ 97444634449 ในช่วงต้น อธิราชา เล่าเรื่องคู่ขนานไปกับ แก้วกัลยาแห่งแผ่นดิน ต่างกันแต่เพียงว่า เล่มก่อนเล่าเรื่องมาจากทางฝั่งพม่า แต่ อธิราชา เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางฝั่งพระนเรศวรโดยละเอียด เริ่มเรื่องในตอนที่พระนเรศวรทรงรวบรวมไพร่พล หนีออกจากหงสาวดี (บางครั้งก็เรียกตามพม่าว่าหานตาวดี) จากนั้น ผู้เขียนก็เล่าประวัติศาสตร์ทั้งหมดในมุมของพระนเรศวร ซึ่งก็เน้นเป็นการทำศึกเกือบทั้งหมด เล่าถึงการประกาศอิสรภาพ การทำศึกต่างๆ ทั้งกับเขมร เชียงใหม่ พม่า ทั้งหงสาวดี อังวะ ตองอู ฯลฯ ทั้งเป็นฝ่ายป้องกันพระนคร และการยกทัพออกไปตีพม่า เล่าถึงเจ้าหญิงมิมณีจันทร์ อัครมเหสี พระนางเอกษัตรี ราชธิดาพระเจ้าศรีสุพรรณมาธิราช กษัตริย์เขมร และพระธิดาเจ้าเชียงใหม่ (ในปกครองของพม่า) (ไม่ทราบพระนาม) ซึ่งเป็นพระเมหสีอีกสองพระองค์ของพระนเรศวร ตอนที่เราอ่าน อธิราชา เราไม่รู้สึกเหมือนอ่านนิยาย แต่เหมือนการอ่านหนังสือเล่าประวัติศาสตร์มากกว่า เหมือนนั่งฟังคุณป้าคุณยายเล่าเรื่องพระนเรศวรให้ฟัง เพียงเปลี่ยนวิธีเล่าด้วยปากมาเป็นตัวหนังสือ มีอคติส่วนตัวทั้งทางบวกและลบลงไปนิดหน่อยพอชูรส ผู้เขียนแทรกตำราพิชัยสงคราม รวมทั้งบันทึกการศึกของพระนเรศวร[…]