เรื่อง บ้านเล็กริมห้วย หนังสือชุดบ้านเล็ก เล่มที่ 4 ผู้แต่ง ลอร่า อิงกัลล์ส ไวล์เดอร์ ผู้แปล สุคนธรส สำนักพิมพ์ แพรวเยาวชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9749804295 เล่มนี้ย้อนกลับมาเล่าเรื่องของลอร่าต่ออีกครั้ง ซึ่งในตอนนี้ เธอมีอายุ 7 ขวบแล้วค่ะ ตอนที่เล่า ก็จะสปอยล์หน่อยๆ นะคะ ^^” ใน บ้านเล็กริมห้วย เล่มนี้ แม้จะเป็นเล่มที่ 4 แต่เนื้อเรื่องไปต่อเนื่องกับตอนที่เธออพยพย้ายออกจากดินแดนของอินเดียนแดงในเล่มที่ 2 (ซึ่งก็ดีนะ .. จบเล่มหนึ่งอพยพ จบเล่มสองก็อพยพอีก ถ้าต้องอ่านแบบนี้ไปซ้ำๆ คงจะเบื่อกัน มีเด็กชายชาวนามาคั่นเปลี่ยนบรรยากาศสักนิดก็สนุกดี) การเดินทางครั้งนี้ ดูเหมือนจะเป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายของครอบครัวอิงกัลล์ส พ่อไม่เริ่มต้นด้วยการสร้างบ้านหลังใหม่อีกแล้ว พวกเขาแลกม้าของพวกเขากับบ้านที่สร้างสำเร็จแล้ว บ้านหลังนี้ไม่ใช่บ้านธรรมดาเสียด้วย แต่เป็นบ้านที่ขุดเอาไว้ใต้เนินดินริมตลิ่ง หลังจากครอบครัวอิงกัลล์สอพยพมาอยู่ในบ้านในรูดินได้ไม่ถึงหนึ่งปี พ่อก็ลงมือสร้างบ้านจริงๆ อีกครั้ง ครั้งนี้พ่อไม่ได้ออกไปตัดไม้เอง แต่ซื้อไม้กระดานมาจากในเมือง เมืองใหม่นี้อยู่ห่างบ้าน ออกไปไม่ไกล สามารถไปกลับได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเป็นห่วงคนที่อยู่ในบ้าน ไม่มีหมาป่า[…]

เรื่อง บ้านเล็กในทุ่งกว้าง หนังสือชุดบ้านเล็ก เล่มที่ 2 ผู้แต่ง ลอร่า อิงกัลล์ส ไวล์เดอร์ ผู้แปล สุคนธรส สำนักพิมพ์ แพรวเยาวชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9749804201 เล่มนี้ขอเล่าแบบติดสปอยล์นิดนึงนะคะ เพราะอันที่จริงเรื่องราวก็ไม่ได้หวือหวาอะไร ความสนุกอยู่ที่วิถีประจำวันของตัวละครนี่แหละ .. ซึ่งเล่ายังไงก็คงไม่เท่าอ่านเองแน่ๆ ค่ะ 🙂 บ้านเล็กในทุ่งกว้าง เป็นเล่มที่ 2 ของหนังสือชุดบ้านเล็ก เป็นตอนต่อของ บ้านเล็กในป่าใหญ่ หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับครอบครัวอิงกัลล์ส และบ้านของพวกเขายังไม่ทันเท่าไร มาในเล่มนี้ พ่อก็ชวนครอบครัวให้อพยพย้ายบ้านกันเสียแล้ว พ่อของลอร่าเป็นมนุษย์แบบที่รักความเงีบสงบ รักป่าและสัตว์ป่า ต่อเมื่อรอบๆ บ้านของพวกเขาเริ่มพลุกพล่าน และเจริญขึ้นทุกที ก็เป็นสาเหตุให้พ่อกับแม่ตัดสินใจย้ายบ้าน (ง่ายๆ อย่างนั้นเลย!?) พวกเขาอพยพกันในฤดูหนาว เพราะจะต้องนั่งเกวียนข้ามผ่านทะเลสาบซึ่งเป็นน้ำแข็ง ซึ่งมันน่าทึ่งไม่น้อยที่ได้รู้ว่ามีการเดินทางแบบนี้อยู่ด้วย เป็นการเดินทางที่เสี่ยงมาก เพราะต้องเลือกวันเดินทางให้ข้ามผ่านไปก่อนที่น้ำแข็งจะละลายและแตกออก พวกเขาเดินทางจากบ้านเดิมที่ตั้งอยู่ในมลรัฐวิสคอนซิน อพยพไปทางตะวันตก ผ่านมลรัฐมินนิโซตา มลรัฐไอโอวา และมลรัฐมิสซูรี และแคนซัส ข้ามแม่น้ำมิสซูรีด้วยแพ (ซึ่งมีเกวียนอยู่บนแพอีกที) ซึ่งการเดินทางธรรมดาๆ ของพวกเขา[…]

เรื่อง บ้านเล็กในป่าใหญ่ หนังสือชุดบ้านเล็ก เล่มที่ 1 ผู้แต่ง ลอร่า อิงกัลล์ส ไวล์เดอร์ ผู้แปล สุคนธรส สำนักพิมพ์ แพรวเยาวชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9749804198 เราเลื่อนลำดับการอ่าน บ้านเล็กในป่าใหญ่ มาอ่านต่อจาก สาวน้อย อย่างตั้งใจ เพราะเรารู้สึกว่ายุคสมัยของการเล่าเรื่อง สาวน้อย (สี่ดรุณี) และหนังสือชุดบ้านเล็กฯ นั้นเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน และพอตรวจสอบดู ก็พบว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เสียด้วย สาวน้อย ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1868 และ 1869 (เนื้อเรื่องมีด้วยกัน 2 ภาค) (ผู้เขียนมีชีวิตระหว่างปี ค.ศ. 1832-1888) ส่วน บ้านเล็กในป่าใหญ่ เล่มนี้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1932 (ผู้เขียนมีชีวิตระหว่างปี ค.ศ. 1867 – 1957) แม้ว่าผู้เขียนทั้งสองคนจะเป็นอเมริกันชนเหมือนกัน และมีชีวิตอยู่ในช่วงใกล้ๆ กัน แต่สภาพสังคมของทั้งสองเล่มนั้นแตกต่างกันไปคนละเรื่องทีเดียว ฉากของสี่พี่น้องในสาวน้อยนั้น เกิดขึ้นในเมืองคอนคอร์ด[…]

1984 จอร์จ ออร์เวลล์ 100 เรื่องเล่าของผู้หญิงเปลี่ยนโลก เอเลนา ฟาวิลลี, ฟรันเชสกา คาวัลโล ผู้แปล สิริยากร พุกกะเวส มาร์ควอร์ท, ศรัยฉัตร กุญชร ณ อยุธยา จีระแพทย์, พลอยแสง เอกญาติ 100 ice cream homemade เมกุมิ ฮาเซกาวะ 16 องศาเหนือ วินทร์ เลียววาริณ 17 องศาเหนือ วินทร์ เลียววารินทร์ 1Q84 ฮารูกิ มูราคามิ 4 ปี นรกในเขมร ยาสึโกะ นะอิโต ก้นกลม พุงป่อง ท่องดอยสูง ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ กระเตงลูกเที่ยว ธีรภาพ โลหิตกุล[…]

เรื่อง แปดขุนเขาผู้แต่ง เปาโล คนเญตติผู้แปล นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐสำนักพิมพ์ อ่านอิตาลีเลขมาตรฐานหนังสือ 9786169348795 แปดขุนเขา เริ่มเรื่องด้วยเสียงเล่าของตัวละคร ซึ่งกำลังเล่าถึงวัยเด็กของตนปิเอโตรเกิดมาในครอบครัวที่มีพ่อและแม่ชอบปีนเขาโดยที่การปีนเขาของพ่อ คือการเดินเพื่อพิชิตบางสิ่งบางอย่างเดินให้เร็วที่สุด แซงคนที่อยู่ข้างหน้าเสมอถ้าเขาไปเดินเขากับพ่อ จะต้องห้ามหยุด ห้ามบ่นหิวหรือเหนื่อยในขณะที่การเดินเขาของแม่ คือการเดินช้าๆ เพื่อชมวิวระหว่างทางมีความสุขกับดอกไม้ ต้นไม้ หรือสายน้ำ ทั้งพ่อและแม่ของเขา เติบโตขึ้นมาจากเมืองชนบทแห่งเดียวกันความรักของพ่อกับแม่เป็นความรักที่ญาติฝ่ายแม่ไม่เห็นด้วยหลังจากแต่งงาน ทั้งสองคนจึงย้ายเข้ามาที่มิลาน ปิเอโตรเกิดและเติบโตขึ้นที่นั่นที่ในเมือง พ่อและแม่ทำงานอย่างขยันขันแข็งแต่ถึงอย่างนั้นครอบครัวก็ยังมีชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อแม่ตัดสินใจที่จะปักหลักที่บ้านสักหลังเป็นบ้านที่ปิเอโตรจะได้มีช่วงชีวิตระยะหนึ่งเติบโตขึ้นที่นี่มันเป็นเมืองแบบที่พ่อและแม่เติบโตมาพ่อกลับไปทำงานในเมือง ในขณะที่แม่กับเขาอยู่ในชนบทแห่งนั้น บรูโน กุลเยลมินาเพื่อนคนแรกของเขา คือเด็กชายคนเดียวในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้มิตรภาพระหว่างเพื่อน ค่อยๆ งอกงาม ด้วยการสนับสนุนของแม่ และพ่อในบางครั้งปิเอโตรเริ่มเติบโตมาในแบบของคนภูเขาขณะเดียวกัน ความเป็นเมืองก็อยู่ในตัวเขาด้วย เมื่อปิเอโตร โตพอที่จะปีนเขา เขาจะได้ออกไปกับพ่อและบางครั้งบรูโนก็ไปด้วยพ่อตอนปีนเขา ดูอารมณ์ดีและมีความสุขมากกว่าตอนทำงานในเมือง หนังสือเล่มนี้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ภาคภาคแรก เล่าถึงชีวิตในวัยเด็กของปิเอโตรน้ำเสียงที่เล่าเรื่องมีความอบอุ่นเป็นเสียงของความอนาทร เข้าอกเข้าใจแม้เรื่องที่เล่าจะยังไม่ใช่ความสุขแต่เราก็รู้สึกว่า อย่างน้อย มันมีความสุขอยู่ในความทรงจำต่างๆ ที่ผู้เขียนเล่าถึง แปดขุนเขา เป็นหนังสือที่เล่าถึงความสัมพันธ์ของคนความสัมพันธ์แบบพ่อกับลูก แบบเพื่อนกับเพื่อนเป็นเรื่องเล่าที่ดำเนินเรื่องไปอย่างเนิบๆ มีบรรยากาศของการหวนระลึกถึงความหลังไม่ว่าจะเป็นความสุข ความเศร้าความผิดพลาด หรือความสำเร็จเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว และไม่อาจหวนคืนเขาเพียงแต่นึกถึงมัน[…]

เรื่อง หิมาลัยต้องกลับไปฟัง ผู้แต่ง คัมภีร์ สรวมศิริ สำนักพิมพ์ แซลมอน เลขมาตรฐานหนังสือ 9786162985270 เราได้ยินชื่อหนังสือ หิมาลัยต้องใช้หูฟัง สะดุดหูมาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นหนังสือที่ฟังผ่านๆ แล้วเข้าใจไปว่า หนังสือคงเล่าเรื่องการปีนหิมาลัย หรือพิชิตยอดเอเวอเรสต์ อีกหนึ่งเล่ม เพิ่งมาเข้าใจอย่างแท้จริงว่า หิมาลัยต้องใช้หูฟัง เป็นหนังสือบันทึกประสบการณ์ การไปเป็นอาสาสมัครของคุณหมอฉุกเฉินคนหนึ่ง ประสบการณ์ในเล่มนั้นจะเป็นอย่างไรบ้างไม่รู้ แต่คุณหมอคนเดิม ได้ออกเดินทางอีกครั้ง ไปเป้นอาสาสมัครอีกครั้ง ฟังดูเหมือนว่าอะไรๆ จะเหมือนเดิม .. แต่เท่าที่อ่านจนจบ (แค่เล่มเดียว) เราว่าเล่มนี้ไม่เหมือนเดิมแน่ๆ เรียกได้ว่า หิมาลัยต้องกลับไปฟัง เป็นภาคต่อที่น่าติดตาม ของ หิมาลัยต้องใช้หูฟัง ค่ะ ค่ายอาสาสมัครที่คุณหมอเก๋อผู้เขียน ตัดสินใจเข้าร่วมเดินทางอีกครั้งนี้มีชื่อว่า Himalayan Health Exchange เรียกย่อๆ ว่า HHE ซึ่งสิ่งที่อาสาสมัครจะต้องทำก็คือ การเดินทางไปยังหมู่บ้านเล็กๆ ในหิมาลัย ร่วมกับทีมแพทย์อาสาสมัครกลุ่มเล็กๆ เพื่อตรวจรักษาชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลหมอ และความเจริญอื่นๆ โดยกลุ่มแพทย์อาสาสมัครจะต้องเดินสาย[…]

ตั้งใจจะทำ 1 เล่ม 1 บรรทัด มาตั้งแต่ต้นปีช่วงต้นปีก็จะคึกคักฮึกเหิมหน่อยทุกครั้งที่อ่านจบ ก็จะทำบทสรุป 1 บรรทัดเอาไว้เลยแต่พอเวลาผ่านไป ความขยันก็ลดลงและโละทุกอย่างไปท้ายปีตามคาดค่ะ เมื่อช่วงเวลาเหล่านั้นมาถึง เราก็เหลือความทรงจำเพียงน้อยนิดต้องย้อนกลับไปอ่านรีวิวตัวเองซึ่งบางครั้งก็เขียนไว้อย่างกำกวม เพราะหลบสปอยล์ 555วิธีทวนความทรงจำครั้งนี้ เราลองทำจากเล่มล่าสุดก่อนแล้วค่อยๆ ถอยหลังทีละเล่ม กลับไปสู่อดีตพบว่าเราจำย้อนหลังไปได้ไม่กี่เล่มอยู่ดีทั้งที่ปีนี้ตั้งใจจะอ่านน้อยๆ เพื่อดื่มด่ำกับเนื้อเรื่องแต่สุดท้ายก็ได้ประมาณนึงมีเพียงบางเรื่องที่ยังตราตรึงในหัวใจส่วนบางเรื่อง ต้องเค้นตั้งนาน แอบเปิดโพยดูด้วยกว่าจะได้เค้าลางมนุษย์เราเลือกจำจริงๆ น่ะแหละ ถึงจะอ่านแล้วลืมแต่เราก็เชื่อว่ามันยังตกตะกอนอยู่ภายในไม่เสียเปล่าหรอก อะไรไม่ดีก็คัดกรองทิ้งไปอะไรดีๆ ก็ซุกซ่อนอยู่ในตัวเรานี่แหละรอวันขบคิด แตกฉานอ่านเถอะ ถึงแม้ว่าอ่านแล้วเราจะลืมมันในวันหนึ่งก็ตาม สิริรวม สุดท้ายแล้วปีนี้เราก็อ่านไปได้ทั้งหมด 71 เล่มเป็นมวลรวมระหว่างหนังสือประวัติศาสตร์ที่ตกค้างมาจากปีก่อนมีหนังสือเกี่ยวกับอาหารกรุบกริบ เฟมินิสต์อีกนิดหน่อยแล้วที่เหลือล้วนๆ ก็เป็นนิยายแปลจากญี่ปุ่นเกาหลีเป็นเคโงะไปมหาศาล แต่ก็ยังเคลียร์ของคุณเค้าไม่หมดเสียทีนั่นล่ะค่ะ ทั้งหมดของปีนี้ ที่เราจะมาเล่าย่อๆ รวดเดียว 1 เล่ม 1 บรรทัด พร้อมกันหรือยังคะ ..ถ้าพร้อมแล้ว ไปกันเล้ยยยย!! ราชมรรคาเล่าประสบการณ์ที่เคยขโมยวัตถุโบราณในเขมรของตัวเอง แต่แปลงเป็นนิยายเสียหน่อย 4 ปี นรกในเขมรเมื่อเขมรกลายร่างเป็นคอมมิวนิสต์ ผ่านชีวิตของหญิงชาวญี่ปุ่นที่บังเอิญไปอยู่ผิดที่ผิดทาง หนีไฟนรกดิ้นรน และเดินทางเพื่อหาอิสรภาพ[…]

เรื่อง เมฆาสัญจร ผู้แต่ง เดวิด มิตเชลล์ ผู้แปล จุฑามาศ แอนเนียน สำนักพิมพ์ มติชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9789740210566 คำเตือน .. รีวิวนี้ เล่าไปสปอยล์ไปนะคะ ถึงจะนิดหน่อย แต่ก็มีบางเนื้อหาหลุดรั่วไปบ้าง ถ้าอยากได้อรรถรสและความเซอร์ไพร้ส์ แนะนำว่าอย่าเพิ่งอ่าน และอย่าเพิ่งดูภาพยนตร์ด้วย ถ้าเคยดูแล้ว เราว่าน่าจะลืมๆ ไปบ้างแล้วแหละ อย่าเพิ่งไปรื้อมาดูซ้ำ อ่านหนังสือให้จบก่อน มันจะเซอร์ไพร้ส์กว่าจริงๆ (จริงๆ เรื่องก็ไม่ได้หักมุมอะไรมากนะ แต่มันจะมีจุดเล็กจุดน้อยที่ถ้าเราไม่รู้มาก่อน มันจะประทับใจมาก) แต่ว่านะ ถ้าไม่รู้อะไรมาก่อนเลย มันก็จะเริ่มต้นยากหน่อย .. สู้ๆ นะคะ เพื่อความสนุก ^^ เราหยิบเล่มนี้มาอ่านเพราะเชื่อคนง่ายค่ะ เคยไปอ่าน บทความ ที่บอกว่า ถ้าเราชอบเล่มนี้ น่าจะชอบอีกเล่มนั้นด้วย ซึ่งหนึ่งในหลายๆ คู่ที่ผู้เขียนบทความเขาอ้างถึงก็คือ โมบี้ดิ๊ค กับ เมฆาสัญจร นี่แหละ ซึ่ง .. เมื่อเราอ่านจบแล้วก็พบว่า[…]

เรื่อง วัยฝันวันเยาว์ ผู้แต่ง อเล็กไซ ตอลสตอย ผู้แปล ทัศนีย์ วีระภาสพงษ์ สำนักพิมพ์ ดอกหญ้า เลขมาตรฐานหนังสือ 9746022466 สิ่งแรกที่เรารู้สึกต่อหนังสือเล่มนี้คือ .. ชื่อตัวละครจำยากจัง เรื่องก็สนุกดี มันเริ่มต้นเมื่อเด็กๆ ได้หยุดเรียนช่วงคริสต์มาสที่รัสเซีย ฉากของเรื่องจึงเต็มไปด้วยน้ำแข็งและหิมะขาวโพลน เป็นบรรยากาศที่แปลกใหม่ เปิดโลกทัศน์ เนื้อเรื่องสนุกแบบเด็กๆ มีความรักแบบ puppy love พอขำๆ เขินๆ เป็นแฟนฉันภาครัสเซีย เนื้อเรื่องสนุกดี เพียงแต่วิธีเล่าทำให้มันไม่ค่อยสนุก เด็กๆ ที่ไม่ซับซ้อนนักอาจจะชอบ แต่สำหรับผู้ใหญ่ เราว่ามันขาดเสน่ห์บางอย่าง เรื่องดำเนินไปเรื่อยๆ บางทีก็น่าเบื่อ บางทีก็สนุก นิกิตาเป็นตัวดำเนินเรื่อง มีแม่ที่เป็นแม่บ้านแสนดี มีครูสอนพิเศษที่อยู่ร่วมบ้าน มีพ่อที่พร้อมซื้ออะไรโดยไม่คิดทันทีที่มีเงินอยู่ในมือ (เบื่อตรงนี้มาก) มีคนงานอีกมากมายสำหรับงานบ้าน งานในไร่ และเลี้ยงสัตว์ วันฝันวันเยาว์ มีวิธีเล่าคล้ายๆ วรรณกรรมชุด บ้านเล็ก อยู่เหมือนกัน คือบันทึกวิถีชีวิตและการเปลี่ยนผันของฤดูกาลในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เปลี่ยนจากอเมริกาเป็นรัสเซีย หม่นหมองน้อยกว่า[…]

ต้อนรับวันเด็กกันด้วยเรื่องของหนังสือสำหรับเด็กกันดีกว่าค่ะ ๕๐ วรรณกรรมที่ต้องอ่านก่อนโต!! (เหรอ!?) จะว่าไป มันเป็นการตั้งชื่อแคมเปญที่ชวนอ่านแกมบังคับยังไงไม่รู้ ๕๐ วรรณกรรมที่ ต้อง อ่านก่อนโต!! เราเคยเห็นหัวข้อนี้มานานหลายปีแล้วค่ะ และเราเคยลองลิสต์ดูเล่นๆ ถึงเล่มที่เราเคยอ่านด้วย .. พบว่า .. เราโตมาด้วยหนังสือที่ไม่ต้องอ่านมากกว่าหนังสือที่ต้องอ่าน (นะ) ;P ทีนี้ เมื่อมาตั้งใจทำบล็อกรีวิวหนังสืออย่างจริงจัง ก็เลยอยากลองไปไล่อ่านเล่มที่ยังไม่เคยอ่านพวกนี้ดู เพื่อจะค้นพบว่า ในวัยเด็กชีวิตของเราพลาดอะไรไปบ้าง .. เมื่อตั้งใจอย่างนี้แล้ว ตอนช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเราจึงเริ่มอ่านวรรณกรรมเยาวชนเยอะขึ้น แต่อ่านเท่าไรก็ไม่หมดค่ะ (เพราะยิ่งอ่านยิ่งซื้อ 555) รอบล่าสุดนี่ก็ตั้งอกตั้งใจอ่านวรรณกรรมเยาวชนมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ไม่มีหนังสือหมวดอื่นมาแทรกเลย .. จนป่านนี้ก็ยังอ่านไม่หมดบ้าน!! อ่านไปอ่านมาสักพัก เราพบว่า หนังสือบางเล่ม ถ้าได้อ่านตั้งแต่ยังเด็กก็น่าจะดี เพราะความคิดและมุมมองที่ไม่มีกรอบแห่งกฎเกณฑ์ใดๆ มาคลุมครอบ จะทำให้หนังสือเล่มนั้นสนุกขึ้นอีกนิด และมันไม่มีทางตอบได้เลยว่า ถ้าเราอ่านมันตั้งแต่เด็ก จินตนาการของเราที่มีต่อหนังสือเล่มนี้จะกว้างไกลไปมากกว่านี้อีกแค่ไหน มีหนังสือบางเล่มที่เราได้อ่านตอนโตแล้วเกลียดมันมาก อดนึกเสียดายไม่ได้ว่า ถ้าได้อ่านเสียตั้งแต่เด็กๆ บางทีเราอาจไม่ใส่กรอบใส่กฎเกณฑ์ให้มัน และอคติต่อมันไปถึงขนาดนี้ อยากย้อนเวลากลับไป[…]