เรื่อง แด่หนุ่มสาวผู้เขียน กฤษณมูรติผู้แปล พจนา จันทรสันติสำนักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทองเลขมาตรฐานหนังสือ 9789749461679 ทัศนคติเราน่าจะไม่ค่อยตรงกับคุณพจนาสักเท่าไรติดใจตั้งแต่คำนำ รู้สึกเหมือนถูกตัดสิน และให้คำจำกัดความทำไมแค่การเป็นคนคนยุคเก่าทำให้เราต้องกลายเป็นคนที่น่ารังเกียจ สังคมต่อต้านอ่านไปอ่านมา ชักรู้สึกเหมือนถูกกบฎประนามว่าเราประนามกบฎหรือหนังสือเล่มนี้ต้องการพูดกับคนหนุ่มสาวจึงต้องดึงคนยุคเก่าขึ้นมาเป็นตัวร้าย? แค่เป็นคนรุ่นเก่าก็ผิดแล้วงั้นหรือทำไมต้องเหมารวมว่าคนรุ่นเก่าใช้ระบบเก่า และมีแนวความคิดแบบเก่าไปเสียหมดมีแต่คนรุ่นใหม่เท่านั้นหรือ ที่มีพลังในการเปลี่ยนประเทศแค่เริ่มอ่าน ก็ถูกกีดกันออกจากกลุ่มเสียแล้ว ส่วนเนื้อความภายในเล่มหนังสือเล่มนี้ไม่ค่อยตรงจริตเราเท่าไรแต่ก็อธิบายยากเหมือนกันมันเป็นหนังสือที่ฉีกออกไปจากกรอบของเราถ้าคลิกก็ชอบเลย เปิดรับเลยแต่ถ้าไม่คลิกอย่างเรา ..มันก็จะก้ำๆ กึ่งๆ อธิบายไม่ถูกอยู่แบบนี้ แด่หนุ่มสาว เป็นหนังสือที่ตั้งค่า mindset ให้คนหนุ่มสาวออกจะอุดมคติหน่อยๆ เป็นค่านิยมยอดนิยมในยุคสมัยหนึ่งหนังสือบอกให้เราเลิกกลัว ต้องออกจากกรอบและกฎเกณฑ์ต้องมีความรักต่อสิ่งที่เราเป็นด้วยใจจริงและทำสิ่งนั้นอย่างไม่หวังผล ไม่ครอบครองเป็นเจ้าของ แต่เรากลับรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เข้าใจในสิ่งที่เราเป็นจริงๆแต่กลับบอกให้เราเป็นอีกอย่าง หนังสือตั้งคำถามต่อระบบการศึกษาว่าเราเรียนไปเพื่อรู้หรือเรียนเพื่อนำความรู้ไปทำงานหาเลี้ยงชีพคนเราเกิดมาเพื่ออะไรเพื่อทำงาน หาเงิน ใช้ชีวิต และตายไป อย่างนั้นหรือหรือเกิดมาเพื่อแสวงหาคำตอบของชีวิต? สำหรับเรา การศึกษาไม่ได้ผิดอาจผิดที่ผู้สอนและผู้เรียนรู้ ผิดที่เจตนาและเป้าหมายถ้าคนเรียนท่องจำไปสอบ หรือถ้าคนสอนไม่สอนวิธีคิด แต่สอนวิธีทำถ้าคนเรียนอยากเรียนสูงเพื่อเหนือกว่าคนอื่น ฯลฯ ความรู้ทำให้เราพ้นความโง่เขลา พ้นอวิชางมงายหากเราไม่รู้เรียน รู้คิด รู้ศึกษาแล้วเริ่มต้นด้วยการนั่งนึกเอาเองถึงความหมายของชีวิต ..คำตอบที่ได้จะเป็นอวิชาได้หรือไม่?ทุกคนสามารถหาคำตอบของชีวิตได้ด้วยวิธีเช่นนี้หรือ?แล้วยังไงต่อ? ตอนที่เราอ่านเล่มนี้มันให้ความรู้สึกเหมือนพบใครสักคนที่ตั้งตนเหนือกว่าอุปโลกน์ตนเองเป็นผู้รู้ แล้วชี้นิ้วว่ากล่าวว่าสิ่งที่เราคิด เราเป็น นั้นผิดเธอต้องขบถสิ ต้องต่อต้านการศึกษาสิ ต้องค้นหาความหมายของชีวิตสิ ฯลฯ บางที เราอาจไม่ได้มีปัญหากับเนื้อหาของเขาแต่มีปัญหากับวิธีเล่าของเขาที่เหมารวมเกินไป[…]