เรื่อง โครงกระดูกในตู้ ผู้แต่ง ศ.พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช สำนักพิมพ์ ดอกหญ้า 2000 ราคา 110 บาท เป็นที่เข้าใจตรงกันมานานแล้วว่า .. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชนั้นเป็นผู้เล่าเรื่องได้สนุก มีอารมณ์ขัน แต่ผู้เขียนได้ออกตัวแต่แรกไว้แล้วว่า เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ .. เป็นการบันทึกเรื่องราวที่เล่าต่อๆ กันมาภายในตระกูล ไม่ใช่ข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงทางวิชาการได้ (แต่เราก็อ่านพบในหนังสือเชิงประวัติศาสตร์ศาสตร์หลายเล่ม ที่นำเรื่องเล่าต่างๆ จากในหนังสือเล่มนี้ ไปใช้อ้างอิงเพื่ออรรถรส ออกไปทาง .. เรื่องเล่า หรือเกร็ดพงศาวดารทำนองนั้น หลายเรื่อง ดูมีอภินิหารเหลือเชื่ออยู่บ้าง และหลายเรื่องก็มีสีสันโลดโผนเหลือเกิน อ่านเอาสนุก มีกลิ่นอายของประวัติศาสตร์ ส่วนจริงไม่จริงก็อย่างเพิ่งไปปักใจเชื่อ และอย่างเพิ่งไปตัดสินบุคคลใดจากการอ่านเล่มนี้) คำว่า ‘โครงกระดูในตู้‘ หมายถึงแกะดำของตระกูล ที่คนในตระกูลไม่อยากเล่าถึง แต่ผู้เขียนนำมาเล่า เพื่อบอกเล่าประวัติของคนในตระกูลแก่ลูกหลาน ทัศนคติของผู้เขียนมีอยู่ว่า มนุษย์ที่แท้จริง ต้องมีทั้งส่วนที่ดี และส่วนที่ทำผิดพลาด และการที่เราเล่าถึงบุคคลแต่ส่วนที่ดีนั้น ก็นับว่าเป็นการรู้จักเขาแต่เพียงครึ่งเดียว[…]

เรื่อง ลูกแก้วเมียขวัญ ผู้แต่ง ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย สำนักพิมพ์ ศิลปวัฒนธรรม (สนพ. ในเครือสำนักพิมพ์มติชน) ราคา 200บาท คำแนะนำหนังสือที่ปกหลังเขียนแนะนำด้วยสำนวนราวกับเขียนนิยาย ใช้ถ้อยคำกระตุ้นเร้าอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง หนักหน่วง เอาความตื่นเต้นเกินจริงเข้าว่าจนเกือบจะดูไม่เป็นประวัติศาสตร์ หยิบอ่านพลิกอ่านด้านหลังเสร็จแล้วแทบจะอยากวาง มันพลิกอารมณ์กับเล่มก่อนเกินไป ความละเมียดๆ ยังกรุ่นอยู่ในอารมณ์ (จาก แลวังหลังตำหนัก) มาเจอสำนวนอย่างนี้แทบจะอยากวาง โชคดีที่เป็นเพียงแค่สำนวนจากสำนักพิมพ์ เลยขอลองอ่านต่อไปอีกหน่อยก่อนตัดสิน ลูกแก้วเมียขวัญ เป็นหนังสือที่รวมเล่มขึ้นมาจากคอลัมน์ หม่อมห้ามนางใน ที่ลงเป็นตอนในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม โดยสำนักพิมพ์คัดมาเฉพาะบทตอนที่ทรงเป็น “ลูกแก้ว” และ “เมียขวัญ” เท่านั้น เป็นหนังสือที่เล่าถึงสตรีผู้มีบทบาทสำคัญในราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ยกเว้นแต่เพียง กรมโยธาเทพ (สมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี) เท่านั้น ที่ทรงเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยแบ่งเป็นตอนๆ หนึ่งตอนหนึ่งท่าน จบลงในตอน ไม่ได้ต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน และเพราะการเล่าแบบแบ่งเป็นตอนนี้เองที่ทำให้ .. มือใหม่หัดอ่านประวัติศาสตร์อย่างเรา ถึงกับมึนพระนามของเจ้านายแต่ละพระองค์จริงๆ เพราะเมื่อผู้เขียนเล่าถึงพระองค์หนึ่ง ก็มักจะต้องอ้างอิงถึงพระองค์อื่นด้วยอีกตอนละหลายพระองค์ พออ่านติดต่อกันหลายๆ ตอนเข้า ทีนี้ถึงกับสับสนว่าหมายถึงพระองค์ไหนกันแน่[…]

เรื่อง แลวังหลังตำหนัก ผู้แต่ง ดร. ม.ร.ว. เบญจาภา (จักรพันธุ์) ไกรฤกษ์ สำนักพิมพ์ อมรินทร์ ราคา 425 บาท แลวังหลังตำหนัก เป็นหนังสือที่เล่าชีวิตชาววังในสมัยโบราณ ยุคเดียวกันกับ เจ้าจอมก๊กออ เป็นเรื่องเล่าในอีกสายตระกูลหนึ่ง .. คือตระกูลไกรฤกษ์ บรรพบุรุษของตระกูลไกรฤกษ์ เป็นจีนฮกเกี้ยนที่เดินทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ มีแซ่เดิมว่าแซ่หลิม เดินทางมาค้าขายกับสยามตั้งแต่สมัยที่อยุธยาเป็นราชธานี บุคคลในตระกูลนี้เริ่มเข้ารับราชการตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี คือพระยาไกรโกษา และพระยาอินอากร ตั้งรกรากอยู่ที่สำเพ็งในสมัยรัชกาลที่ 1 อันเป็นที่มาของตรอกที่มีชื่อว่า “ตรอกพระยาไกร” และ “ตรอกโรงกระทะ” เจ้าจอมอิ่ม ย่าหรัน อดีตเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็นบุตรีของพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน) กับคุณหญิงนก กุลสตรีในตระกูลไกรฤกษ์นั้น ได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 2 ถึงสามท่าน คือเจ้าจอมยี่สุ่น เจ้าจอมมารดาอำภา และเจ้าจอมอิ่ม ย่าหรัน เจ้าจอมมารดาอำภา มีพระราชโอรส และพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 6[…]