สามก๊ก ลำดับ 2เรื่อง สามก๊กบนเส้นขนานผู้แต่ง วินทร์ เลียววาริณสำนักพิมพ์ 113เลขมาตรฐานหนังสือ 9786164789913 สามก๊กบนเส้นขนาน จับเรื่องราวบางช่วงของสามก๊กมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทยนับเริ่มตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ไปจนถึงช่วงท้ายของเล่มเป็นเหตุการณ์สดใหม่ ร่วมสมัย ที่เราเกิดทัน แต่ไม่เคยรู้ตื้นลึกหนาบางใดๆผู้เขียนสรุปเหตุการณ์โดยไม่ได้ตัดสินถ่ายทอดเป็นบทตอน ไม่ต่อเนื่องกันนัก (ยกเว้นบางบท)จะอ่านเพียงบทเดียว ก็ได้น้ำได้เนื้อแต่ถ้าอ่านติดต่อกันไปตั้งแต่ต้นจนจบก็จะได้เห็นภาพโครงสร้างระบอบการปกครองและได้เห็นสาระบางอย่างที่ผู้เขียนตั้งใจจะบอก ย้ำซ้ำในหลายบท โดยความชอบส่วนตัวเราว่า สามก๊กบนเส้นขนาน เล่มนี้อ่านง่ายกว่า สามก๊ก ลำดับแรกของผู้เขียนด้วยฉากและตัวละคร (นักการเมืองชื่อดังแห่งสยามประเทศ) เป็นที่คุ้นเคยกันดีโดยเฉพาะเหตุการณ์ในช่วงที่เราเกิดทัน จะอ่านไปได้ไวมาก ต้องบอกกันก่อนว่าเราไม่ใช่คอการเมืองแม้จะอยู่ร่วมสมัย แต่ก็ไม่เคยเสาะแสวงหา ขุดคุ้ยความจริง (ทางการเมือง) ใดๆทำให้เรารู้เรื่องราวต่างๆ อย่างผิวเผิน .. จนบางที ไม่รู้ไม่สนใจด้วยซ้ำเราเพิ่งจะมาเข้าใจเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบหลายๆ อย่าง จากคำอธิบายของผู้เขียนผู้เขียนอธิบายกลไกการจำนำข้าวให้เราเข้าใจได้ด้วยประโยคไม่กี่ประโยคได้เข้าใจว่าทำไมทักษิณจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คนไทยแตกแยกกันขนาดนั้นฯลฯ ผู้เขียนใช้วิธีเล่าอย่างห้วน สั้น จนบางครั้งก็ขาดความเข้มข้น (เหมือนกันนะ)แบบที่ได้จากการอ่านนวนิยายอิงการเมืองเรื่องอื่นๆ ของผู้เขียนเองว่าด้วยเรื่องสามก๊กที่นำมาเปรียบเทียบ .. หลายเหตุการณ์เล่าซ้ำกันกับ สามก๊ก ฉบับวินทร์ เลียววาริณ ที่เพิ่งอ่านจบไปเรื่องที่นำมาเปรียบเทียบ บางเรื่องเป็นเรื่องที่เรานึกถึงเหมือนกันตอนอ่านเล่มแรกแต่บางเรื่อง ก็ยังดูจับคู่กันไม่พอดี อ่านแล้วไม่อิน แต่โดยรวม สามก๊กบนเส้นขนาน ก็ยังนับว่าเป็นหนังสือที่น่าอ่านเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่อยากรู้อะไรเร็วๆ[…]

เรื่อง อธิบายเบ็ดเตล็ดในเรื่องพงศาวดารสยามผู้ทรงนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสำนักพิมพ์ แสงดาวเลขมาตรฐานหนังสือ 9786165082785   เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ผ่านพระวินิจฉัยของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพโดยคำว่าเบ็ดเตล็ดจากชื่อหนังสือนี้คือการรวบรวมเรื่องราวต่างๆ เบ็ดเตล็ดดังชื่อ อันได้แก่ ..ที่มาของคำเรียกชื่อสยามการออกพระนามพระเจ้าแผ่นดินในแต่ละกรณีธรรมเนียมการตั้งพระมหาอุปราชในแต่ละรัชกาลเส้นทางการเดินทางของชาวยุโรปที่จะมายังดินแดนตะวันออกการล่าอาณานิคมรวมไปถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์อันเกี่ยวข้องกับท้าวศรีสุดาจันทร์ขุนวรวงศาธิราช พระเทียรราชา พระมหาธรรมราชา ฯลฯและประวัติการชำระแก้ไขกฏหมายแต่ละครั้งในสมัยอยุธยา โดยสำนวนภาษาโบราณจากต้นฉบับมาเลยอ่านยากนิดหน่อยเพราะไม่คุ้น แต่ก็ไม่ยากมากจนชวนท้อที่ติดใจเราเป็นที่เนื้อหามากกว่า คือเป็นความรู้เก่ายังไม่มีข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้มาภายหลังไปเปรียบเทียบเหมาะที่จะอ่านเล่นๆ เพื่อดูแนวคิดหรือดูพัฒนาการของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของไทยและหากจะใช้อ้างอิงก็ต้องตรวจสอบกับข้อมูลที่มีในปัจจุบันก่อน ปล. หนังสือเขียนพระยศของผู้ทรงนิพนธ์เอาไว้งงมาก สองที่เขียนไม่เหมือนกันคาดว่าอาจจะเป็นพระยศในขณะทรงนิพนธ์ และตีพิมพ์ครั้งแรกแต่ถ้าจะยึดแบบนั้น ก็ควรจะเขียนให้ตรงกันส่วนที่เราเขียนพระนามผู้ทรงนิพนธ์ คือใช้พระยศปัจจุบัน เสิร์ชจาก google มาอีกที    

  เรื่อง ผลัดแผ่นดินผู้แต่ง สุกิจ สุวานิชสำนักพิมพ์ นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์เลขมาตรฐานหนังสือ 9786160416028 ผลัดแผ่นดิน เริ่มต้นเรื่องเกือบจะช่วงเวลาเดียวกับกับที่ ชีวิตของประเทศ เปิดเรื่องคือบอกเล่าประวัติศาสตร์ตั้งแต่ครั้งที่รัชกาลที่ 1 เริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ไปจนกระทั่งสิ้นสุดรัชกาลที่ 4 ขึ้นรัชกาลที่ 5แต่ ผลัดแผ่นดิน เล่าด้วยภาษาที่ง่ายกว่า เห็นภาพได้มากกว่าสิ่งที่แตกต่างไปก็คือการตีความ เรื่องราวในประวัติศาสตร์นั้นยังคงเดิมแต่ความรู้สึกนึกคิดของผู้คนซึ่งมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์นั้นแตกต่างไปเป็นอีกแบบ ผลัดแผ่นดิน เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ในรูปแบบของนวนิยายหากแต่ในเล่มนี้ไม่มีตัวละครสมมติเลยทุกพระองค์และทุกท่าน ล้วนแต่เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ทั้งสิ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นพระบรมราชวงศ์ และเป็นขุนนางคนสำคัญๆ ทั้งนั้น ผลัดแผ่นดิน จึงเป็นหนังสือที่อ่านง่าย ซื่อตรง แต่ก็ไม่ซับซ้อนเป็นข้อดีที่กลายเป็นข้อเสียไปด้วย คือทำให้มันดูไม่สมจริงในส่วนของนิยายพระราชดำริและพระราชดำรัสต่างๆ ไม่หนักแน่นสมจริงพอคำพูดของบรรดาข้าหลวงขุนนางที่ยุยงส่งเสริมก็ดูเป็นละครหลังข่าวโดยรวมคือดีต่อการอ่านเพื่อทำความเข้าใจในประวัติศาสตร์แต่ไม่ดีต่อความรู้สึกด้านความสละสลวย หรือจรรโลงใจ เมื่อเราหยิบ ชีวิตของประเทศ และ ผลัดแผ่นดิน มาอ่านต่อกันเรามองว่าหนังสือสองเล่มนี้เป็นหนังสือคู่ขนานกันเลยทั้งสองเล่มเล่าเรื่องในช่วงเวลาเดียวกันแทบจะเป๊ะๆ เลยขึ้นอยู่กับคนอ่านว่าจะชอบแบบไหนสำหรับเรา ถ้าสลับกันมาอ่าน ผลัดแผ่นดิน ก่อน แล้วค่อยไปอ่าน ชีวิตของประเทศ ทีหลัง ก็จะทำให้อ่านเล่มหลังได้เข้าใจง่ายขึ้นแต่เราอ่าน ชีวิตของประเทศ มาก่อน พอมาอ่าน ผลัดแผ่นดิน จึงไม่ค่อยเหลืออะไรใหม่ให้ตื่นตาตื่นใจมีเพียงมุมมองของผู้เขียนให้คอยติดตามเท่านั้น ซึ่งก็ยังถือว่าอ่านได้เพลินๆ ดีและเป็นหนังสือที่อ่านง่าย อ่านเร็วว่า[…]

เรื่อง ชีวิตของประเทศ ผู้แต่ง วิษณุ เครืองาม สำนักพิมพ์ มติชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9789740215141 เราใช้เวลาอ่าน ชีวิตของประเทศ นานเกือบหนึ่งเดือนเต็ม เป็นการอ่านที่ยาวนานเกินธรรมดามาก แถมยังอ่านไม่ค่อยปะติดปะต่อ พออ่านจนถึงตอนจบ ก็ลืมเรื่องราวตอนต้นไปเสียเกือบหมดแล้ว จะเล่ายังไงดีละ? ชีวิตของประเทศ เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องราวตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อันที่จริงเล่ามาตั้งแต่ช่วงหลังกรุงศรีอยุธยาแตกเลยด้วยซ้ำ เล่าถึงความยากลำบากของผู้คนในยุคก่อร่างสร้างเมือง เป็นยุคแห่งการเริ่มต้น ยุคแห่งความหวัง และยุคแห่งความไม่แน่นอน ผู้เขียนได้เล่าถึงแผ่นดินของพระเจ้าตากสินเอาไว้เป็นการเริ่มต้น ในช่วงที่เพิ่งเปิดเรื่องนั้น ตัวละครชุดแรกที่ออกมาเล่าเรื่องให้เราฟัง ล้วนแต่เป็นตัวละครที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ ทั้งสิน (พระเจ้าตากสินมหาราช) , เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช), นายบุนนาค (เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ต้นตระกูลบุนนาค), คุณหญิงนาค (สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี), นวล (เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล), ท่านทอง, ท่านสั้น, เจ้าขรัวเงิน, พ่อฉิม (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย), แม่ฉิมใหญ่ (เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่), บุญมา (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท), บุญรอด (สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์)[…]

เรื่อง ลูกแก้วเมียขวัญ ผู้แต่ง ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย สำนักพิมพ์ ศิลปวัฒนธรรม (สนพ. ในเครือสำนักพิมพ์มติชน) ราคา 200บาท คำแนะนำหนังสือที่ปกหลังเขียนแนะนำด้วยสำนวนราวกับเขียนนิยาย ใช้ถ้อยคำกระตุ้นเร้าอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง หนักหน่วง เอาความตื่นเต้นเกินจริงเข้าว่าจนเกือบจะดูไม่เป็นประวัติศาสตร์ หยิบอ่านพลิกอ่านด้านหลังเสร็จแล้วแทบจะอยากวาง มันพลิกอารมณ์กับเล่มก่อนเกินไป ความละเมียดๆ ยังกรุ่นอยู่ในอารมณ์ (จาก แลวังหลังตำหนัก) มาเจอสำนวนอย่างนี้แทบจะอยากวาง โชคดีที่เป็นเพียงแค่สำนวนจากสำนักพิมพ์ เลยขอลองอ่านต่อไปอีกหน่อยก่อนตัดสิน ลูกแก้วเมียขวัญ เป็นหนังสือที่รวมเล่มขึ้นมาจากคอลัมน์ หม่อมห้ามนางใน ที่ลงเป็นตอนในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม โดยสำนักพิมพ์คัดมาเฉพาะบทตอนที่ทรงเป็น “ลูกแก้ว” และ “เมียขวัญ” เท่านั้น เป็นหนังสือที่เล่าถึงสตรีผู้มีบทบาทสำคัญในราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ยกเว้นแต่เพียง กรมโยธาเทพ (สมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี) เท่านั้น ที่ทรงเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยแบ่งเป็นตอนๆ หนึ่งตอนหนึ่งท่าน จบลงในตอน ไม่ได้ต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน และเพราะการเล่าแบบแบ่งเป็นตอนนี้เองที่ทำให้ .. มือใหม่หัดอ่านประวัติศาสตร์อย่างเรา ถึงกับมึนพระนามของเจ้านายแต่ละพระองค์จริงๆ เพราะเมื่อผู้เขียนเล่าถึงพระองค์หนึ่ง ก็มักจะต้องอ้างอิงถึงพระองค์อื่นด้วยอีกตอนละหลายพระองค์ พออ่านติดต่อกันหลายๆ ตอนเข้า ทีนี้ถึงกับสับสนว่าหมายถึงพระองค์ไหนกันแน่[…]

เรื่อง แลวังหลังตำหนัก ผู้แต่ง ดร. ม.ร.ว. เบญจาภา (จักรพันธุ์) ไกรฤกษ์ สำนักพิมพ์ อมรินทร์ ราคา 425 บาท แลวังหลังตำหนัก เป็นหนังสือที่เล่าชีวิตชาววังในสมัยโบราณ ยุคเดียวกันกับ เจ้าจอมก๊กออ เป็นเรื่องเล่าในอีกสายตระกูลหนึ่ง .. คือตระกูลไกรฤกษ์ บรรพบุรุษของตระกูลไกรฤกษ์ เป็นจีนฮกเกี้ยนที่เดินทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ มีแซ่เดิมว่าแซ่หลิม เดินทางมาค้าขายกับสยามตั้งแต่สมัยที่อยุธยาเป็นราชธานี บุคคลในตระกูลนี้เริ่มเข้ารับราชการตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี คือพระยาไกรโกษา และพระยาอินอากร ตั้งรกรากอยู่ที่สำเพ็งในสมัยรัชกาลที่ 1 อันเป็นที่มาของตรอกที่มีชื่อว่า “ตรอกพระยาไกร” และ “ตรอกโรงกระทะ” เจ้าจอมอิ่ม ย่าหรัน อดีตเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็นบุตรีของพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน) กับคุณหญิงนก กุลสตรีในตระกูลไกรฤกษ์นั้น ได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 2 ถึงสามท่าน คือเจ้าจอมยี่สุ่น เจ้าจอมมารดาอำภา และเจ้าจอมอิ่ม ย่าหรัน เจ้าจอมมารดาอำภา มีพระราชโอรส และพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 6[…]