เรื่อง ย้อนตำนานสะพานเก่าผู้แต่ง จุติสำนักพิมพ์ แสงดาวเลขมาตรฐานหนังสือ 9786165084826 ย้อนตำนานสะพานเก่า เป็นหนังสืออีกหนึ่งเล่ม ที่เล่าเรื่องราวในอดีตโดยที่ผู้เขียนเล่าประวัติศาสตร์เหล่านั้น ผ่านเรื่องราวของสะพานทั้งประวัติการก่อสร้าง ประวัติการบูรณะ ที่มาของชื่อสะพานรวมไปถึงประสบการณ์และความผูกพันที่ตัวผู้เขียนเองมีต่อสะพานนั้นๆ ด้วย สะพานไม่ได้มีประโยชน์แค่เพียงใช้สัญจรเดินทางข้ามแม่น้ำลำคลองแต่เพียงอย่างเดียวแต่ผู้สร้างยังคำนึงถึงความสวยงาม เหมาะสมและมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามสถานที่และเจตนาของผู้สร้างเมื่อตั้งใจดูให้ดี สะพานที่เราคุ้นชื่อ คุ้นหน้าตากันดีหลายสะพานมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ แต่สวยงาม และเราไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน เราเคยไปเดินเล่นรอบเกาะรัตนโกสินทร์และมีโอกาสได้เห็นสะพานเก่าที่สวยงามและชื่อเพราะอยู่หลายสะพานเคยอยากทำความรู้จักมันมากขึ้น ..และนั่นคือความรู้สึกก่อนที่เราจะเจอหนังสือเล่มนี้ดีใจที่ตัดสินใจซื้อมันมา และดีใจที่ได้อ่านค่ะ ผู้เขียนเล่าถึงประวัติสะพาน อธิบายโครงสร้าง อธิบายหน้าตาพร้อมทั้งมีภาพประกอบของสะพานแต่ละส่วนอย่างละเอียด(ภาพถ่ายปี พ.ศ. 2552 เป็นช่วงที่ผู้เขียนเก็บข้อมูล)ความรู้อัดแน่น ข้อมูลชี้แจงชัดแจ้งไม่ซับซ้อน ภาษาอ่านง่าย และเพราะผู้เขียนเล่าเรื่องที่เราอยากรู้อยู่ก่อนแล้วเลยทำให้อ่านเพลินมาก ชอบมาก ฟินมากอ่านแล้วก็อยากจะไปเดินดูสะพานย่านฝั่งพระนครด้วยตาตัวเองเหมือนตอนที่อ่าน ชีวิตตามคลอง ของ ส.พลายน้อย แล้วอยากจะไปนั่งเรือเที่ยวคลองบ้างนั่นแหละ เราพบหนังสือเล่มนี้อยู่ในกองลดราคาของสำนักพิมพ์แสงดาว ในงานหนังสือปีหนึ่งอ่านจบแล้วอดเสียดายไม่ได้ เพราะหนังสือมีคุณค่ามากกว่าราคาที่ซื้อมามากนักอยากจะสนับสนุนผู้เขียน อยากจะอ่านเรื่องราวแบบนี้อีกอยากแนะนำให้ใครก็ต่อที่เห็นหนังสือเล่มนี้ ลองซื้อมาอ่านดูเถอะค่ะโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่รักพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์อ่าน แล้วลองไปตามรอยเส้นทางของผู้เขียนกันดูมันต้องเป็นวันพักผ่อนที่ดีมากแน่ๆ 🙂    

เรื่อง ลูกแก้วเมียขวัญ ผู้แต่ง ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย สำนักพิมพ์ ศิลปวัฒนธรรม (สนพ. ในเครือสำนักพิมพ์มติชน) ราคา 200บาท คำแนะนำหนังสือที่ปกหลังเขียนแนะนำด้วยสำนวนราวกับเขียนนิยาย ใช้ถ้อยคำกระตุ้นเร้าอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง หนักหน่วง เอาความตื่นเต้นเกินจริงเข้าว่าจนเกือบจะดูไม่เป็นประวัติศาสตร์ หยิบอ่านพลิกอ่านด้านหลังเสร็จแล้วแทบจะอยากวาง มันพลิกอารมณ์กับเล่มก่อนเกินไป ความละเมียดๆ ยังกรุ่นอยู่ในอารมณ์ (จาก แลวังหลังตำหนัก) มาเจอสำนวนอย่างนี้แทบจะอยากวาง โชคดีที่เป็นเพียงแค่สำนวนจากสำนักพิมพ์ เลยขอลองอ่านต่อไปอีกหน่อยก่อนตัดสิน ลูกแก้วเมียขวัญ เป็นหนังสือที่รวมเล่มขึ้นมาจากคอลัมน์ หม่อมห้ามนางใน ที่ลงเป็นตอนในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม โดยสำนักพิมพ์คัดมาเฉพาะบทตอนที่ทรงเป็น “ลูกแก้ว” และ “เมียขวัญ” เท่านั้น เป็นหนังสือที่เล่าถึงสตรีผู้มีบทบาทสำคัญในราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ยกเว้นแต่เพียง กรมโยธาเทพ (สมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี) เท่านั้น ที่ทรงเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยแบ่งเป็นตอนๆ หนึ่งตอนหนึ่งท่าน จบลงในตอน ไม่ได้ต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน และเพราะการเล่าแบบแบ่งเป็นตอนนี้เองที่ทำให้ .. มือใหม่หัดอ่านประวัติศาสตร์อย่างเรา ถึงกับมึนพระนามของเจ้านายแต่ละพระองค์จริงๆ เพราะเมื่อผู้เขียนเล่าถึงพระองค์หนึ่ง ก็มักจะต้องอ้างอิงถึงพระองค์อื่นด้วยอีกตอนละหลายพระองค์ พออ่านติดต่อกันหลายๆ ตอนเข้า ทีนี้ถึงกับสับสนว่าหมายถึงพระองค์ไหนกันแน่[…]

เรื่อง  เกิดวังปารุสก์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) ผู้แต่ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ สำนักพิมพ์ บรรณกิจ ราคา ไม่ระบุราคา รูปเล่มขนาดใหญ่ทำให้อ่านยากอยู่สักหน่อย เล่มที่เรามีค่อนข้างเก่ามากแล้ว กระดาษเหลืองกรอบต้องเปิดอย่างระวัง เป็นการอ่านหนังสือที่เมื่อยเอาการ แต่ก็คุ้มค่า เพราะภายในเล่มเนื้อหาสนุก ชวนติดตาม อ่านไปอ่านมา ลืมความลำบากจากหน้ากระดาษบางกรอบเลยค่ะ เกิดวังปารุสก์ เล่มนี้ เล่าด้วยภาษาสละสลวย เล่าเรียงลำดับเหตุการณ์เข้าใจง่าย ภาษาที่ใช้ แม้มีราชาศัพท์หรือพระนามเต็มอย่างเป็นทางการของพระประยูรญาติ แต่ก็มีเพียงเท่าที่จำเป็น และกล่าวอ้างอิงไว้แต่เพียงครั้งแรกเท่านั้น หลังจากนั้นจึงลดทอนลงให้อ่านง่าย พร้อมทั้งอธิบายลำดับยศต่างๆ ด้วยภาษาที่กระชับ เข้าใจง่ายด้วย ผู้เขียนทรงบรรยายให้เราเห็นภาพบรรยากาศ วิถีชีวิตของเจ้านายโบราณ ทรงเล่าถึงความสุขสงบร่มเย็นพอประมาณ และมีความทุกข์เทียมเท่ามนุษย์เดินดินทั่วไป บางครั้งอาจทุกข์มากกว่าด้วยซ้ำ ด้วยภาระหน้าที่และกรอบประเพณี เนื้อหาภายในเล่ม เป็นอัตชีวประวัติที่อ่านสนุก ทรงเล่าได้ละเอียดลออ เก็บเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสอดแทรกได้น่ารัก เริ่มต้นตั้งแต่ครั้งความรักของพระชนกและพระชนนีของผู้เขียน ต่อเนื่องมาถึงความหลังเมื่อครั้งที่ผู้เขียนทรงอยู่ในวัยเยาว์ วิถีชีวิตวัยเด็กในวังปารุสกวัน และวังพญาไท ที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทร์ทราบรมราชินีนาถ (สมเด็จย่าของผู้เขียน) การไปเที่ยวชนบทในสมัยนั้น, ชีวิตภายในโรงเรียนนายร้อย, งานวัดเบญจมบพิตร และงานรื่นเริงฤดูหนาวที่สนามเสือป่า ทรงบรรยายสถานที่สวยงาม[…]