เรื่อง ขลุ่ยไม้ไผ่ผู้แต่ง พจนา จันทรสันติสำนักพิมพ์ openbooksเลขมาตรฐานหนังสือ 9786167982076 เปลี่ยนโหมดปุบปับ ก็เลยต้องจูนกันหน่อยค่ะประมาณต้นเดือนหน้า เรากำลังจะมีกิจกรรมเกิดอยากจะอ่าน สิทธารถะ กับ book club วันศุกร์ตอนนี้ก็เลยพยายามเลือกหนังสือที่ปรับโหมดเข้าหาสิทธารถะทีละน้อยขลุ่ยไม้ไผ่ จึงถูกหยิบมาอ่านด้วยเหตุผลนี้ 🙂 ขลุ่ยไม้ไผ่ เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องไฮกุของญี่ปุ่นในช่วงต้น ผู้เขียนยกผลงานชื่อดัง จากกวีญี่ปุ่นหลากหลายบทมาเล่างานหลักๆ ที่ถูกยกตัวอย่างมากหน่อย คืองานของท่านบาโช (มัตสึโอะ บาโช) ในส่วนต่อของเล่ม จึงเป็นงานไฮกุของผู้เขียนเองโดยที่ระหว่างบทของไฮกุ จะมีบทบรรยายเหตุการณ์หรือสถานการณ์อันเป็นที่มาของไฮกุแต่ละบท อดแปลกใจตัวเองไม่ได้ว่าทำไมเราจึงรู้สึกเฉยๆ กับเล่มนี้นั่งหาเหตุผลมาได้ว่ามันน่าจะเป็นเพราะคำอธิบายคั่นในแต่ละบทนี่แหละ เข้าใจว่าหนังสือเล่มนี้ถูกเขียนเอาไว้เมื่อนานมาแล้วมันเกิดขึ้นในยุคที่คนไทยยังไม่คุ้นเคยต่อไฮกุผู้เขียนจึงต้องใส่คำอธิบายเพื่อให้ผู้อ่านมือใหม่ได้เข้าใจรสสัมผัสของกวีแต่การแทรกคำอธิบายไปตลอดทั้งเล่มเช่นนี้ ก็ลดทอนความงดงามตามธรรมชาติของบทกวีเช่นกัน เราทุกคนอ่านบทกวี แล้วตีความต่างกันเฉกเช่นเดียวกันกับการมองดอกไม้ดอกหนึ่ง แล้วรู้สึกต่างกันซึ่งพอมีการตีความของผู้เขียนมาเป็นแนวทางและบางบทเราตีความออกมาไม่เหมือนกันทำให้รู้สึกอึดอัดเหมือนถูกขังอยู่ในกรอบ อ่านไม่สนุก ไฮกุได้สร้างภาพของเราขึ้นมาแล้วเรื่องเล่าของผู้เขียนได้สร้างภาพทับภาพนั้นทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในใจเราหรือบางที หนังสือเล่มนี้อาจจะต้องเรียงลำดับเสียใหม่นำเรื่องเล่าขึ้นต้นนำมาก่อน แล้วปิดท้ายด้วยกวีไฮกุ? ด้วยวิธีเล่าแบบนี้ ทำให้ความชอบบทกวีของเรา กลายเป็นไม่ได้อยู่ที่บทกวีหากไปอยู่ที่เรื่องเล่าประกอบแทนเราชอบบทปลาช่อน ที่เรื่องเล่าไม่มากไป ไม่น้อยไปมันช่วยเสริมให้บทกวีดูน่ารักขึ้น 🙂 การเปลี่ยนจากคำอธิบายเป็นการบอกเล่าชั่วขณะที่บทกวีนั้นถือกำเนิดขึ้นมา ดีกว่ามากเพราะเราจะเข้าใจสถานการณ์แล้วเราาก็ตีจะความจากเรื่องราวนั้นผนวกกับใส่ประสบการณ์ส่วนตัวของเราลงไปร่วมด้วยทำความเข้าใจบทกวีผ่านมุมมองของเรา และก็มีบางบทที่เราไม่ชอบ อย่างเช่น บทที่เล่าถึงฤดูหนาว ตื่นขึ้นมาในเช้าวันนี้ฉันรู้สึกได้ว่าฤดูหนาวได้มาถึงแล้ว มันดูเป็นประโยคที่ถูกตัดทอนแยกบรรทัด มากกว่าเป็นไฮกุเราว่าไฮกุน่าจะให้อารมณ์ได้มากกว่านี้น่าจะพูดถึงธรรมชาติ ที่เราอ่านแล้วรู้สึกถึงลมหนาวไม่ใช่พูดถึงลมหนาว[…]

เรื่อง วาระสุดท้าย ผู้แต่ง โตมร ศุขปรีชา สำนักพิมพ์  openbooks เลขมาตรฐานหนังสือ 9786167347509 จะบอกว่าหนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องของความตาย ก็พอจะใช่ .. แต่ถ้าให้ถูก ต้องบอกว่ามันเล่าเรื่องก่อนความตาย .. ของเหล่านักร้อง นักเขียน นักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ มากกว่า เรียกว่าเป็นหนังสือที่รวบรวมชีวประวัติที่น่าสนใจเอาไว้ แล้วเล่าด้วยวิธีแบบโตมร ซึ่งอ่านสนุก และมีมุมมองหลากหลาย โลกของโตมรเป็นโลกที่กว้าง และมักมีเกร็ดความรู้ที่เราไม่เคยรู้แทรกมาอย่างน่าสนใจ โลกใบนี้ของเรามีเรื่องเหลือเชื่อยิ่งกว่าโลกในนิยายหลายเท่านัก .. และบางความเหลือเชื่อ .. มันอยู่ในหนังสือเล่มนี้ นอกจากชีวประวัติ ยังมีอีกเพียง 2 – 3 ตอน ที่โตมรแทรกวิธีนำเสนอแปลกๆ แบบการเล่าชีวประวัติบุคคล เข้ามาเล่าในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับบุคคลเลยด้วย บ้างเป็นสัตว์เลี้ยง บ้างเป็นบางกระบวนการของมนุษย์ คล้ายๆ เป็นเรื่องสั้นที่ให้รสชาติแปลกไปอีกแบบ เนื้อหาในเล่มนี้ไม่ได้สวยใสเท่า ลม ฟ้า อาหาร แต่ก็ไม่ได้เฉพาะทางเท่ากับ เดินทางระหว่างหู มีความดาร์กนิดๆ[…]

เรื่อง ลม ฟ้า อาหาร ผู้แต่ง โตมร ศุขปรีชา สำนักพิมพ์  openbooks เลขมาตรฐานหนังสือ 9789747441642 เรื่องเล่าของโตมร เปรียบเสมือนกับเรื่องราวที่วิ่งวนไปมาในหัวเรา มันสะเปะสะปะ แต่ทุกอย่างนำพาเราไปสู่เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เขาต้องการจะเล่า เรื่องราวที่หวนคิดถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา ยำรวมกับรูปรสกลิ่นเสียงผัสสะที่เกิดขึ้นต่อหน้า เปิดเรื่องมาด้วยบทลูกผสมระหว่าอาหารและอากาศ จับแพะชนแกะไปด้วยด้วยอารมณ์ละมุนๆ อ่านเพลิน เรื่องราวละเมียดละไมของผู้เขียนที่เดินทางย้อนเวลาเข้าไปค้นพบอดีตของตัวเอง ฉุดดึงเรา ให้ก้าวย้อนเวลาเข้าไปขุดคุ้ยอดีตของตัวเองด้วย ภาษาสวย สร้างภาพนุ่มนวลชวนฝันและแสนสุข อดีตของใครก็ล้วนแต่กลั่นกรอง เก็บกักเอาไว้แต่ส่วนที่เป็นความสุข .. หรือมิใช่? แต่บางเรื่องในเล่มนี้ ก็ช่างบีบหัวใจ .. มันเหือดๆ อ่านจบแล้วมันแห้งผาก เหมือนมีบางสิ่งบางอย่างระเหยออกไปจากหัวใจ เป็นเรื่องเศร้าที่โตมรทำให้สวยงาม .. มันเป็นพรสวรรค์ของเขา สถานที่ สวยงามด้วยเรื่องเล่า แม้จะเป็นสถานที่ที่ไม่มีอะไรเลยก็ตาม โลกทุกแบบสวยงามด้วยภาษาของโตมร แต่ก็ไม่ใช่หนังสือทุกเล่มของโตมร ที่จะใช้ภาษาแบบนี้ เขาเป็นคนที่เขียนหนังสือเยอะมาก รักจะอ่านสำนวนแบบนี้ ก็เลยต้องเสี่ยงกันหน่อย อันที่จริงแล้ว เราก็มีหนังสือของเขาไม่เยอะนักหรอก ถ้าเทียบกับที่เขาเขียนเอาไว้นะ วันไหนเสี่ยงไปเจอเล่มประหลาดๆ ที[…]

เรื่อง มิตรภาพต่างสายพันธุ์ ผู้แต่ง ม.ล.ปริญญากร วรวรรณ สำนักพิมพ์ openbooks ราคา 165 บาท อีกมุมหนึ่งห่างไกลความเจริญ ห่างไกลความอหังการ์แห่งมนุษย์ ความถือตัวว่าเป็นผู้สร้าง ยังมีมนุษย์อีกกลุ่มหนึ่ง ดำเนินชีวิตไปอย่างเงียบเชียบ มนุษย์ผู้เจียมตัว มนุษย์ผู้นอบน้อมต่อธรรมชาติ .. คำถามเกิดขึ้นกับเราขณะอ่านเล่มนี้ว่า มนุษย์ที่อยู่ในป่าเดือนละ 15 วัน มีช่วงเวลาที่อยู่ในบังไพรแคบๆ อับๆ ติดต่อกันราวครึ่งเดือน เขาใช้เวลาทำอะไรนอกจากเฝ้ามองสัตว์ป่าผ่านกล้อง ห้วงเวลาอันเงียบสงบ ภายในคงจะคุยอยู่กับตัวเอง เรื่องราวแต่ละเรื่องที่ผ่านเข้ามาในแต่ละวัน ก็คงถูกหยิบมาขบคิดอย่างลึกซึ้ง ความกลัวและความกล้าก็คงจะทำบทสนทนาตกหล่นอยู่ ณ ที่นั้นด้วย เขาคงเป็นมนุษย์ที่รู้จักตนเองได้ดีพอๆ กับป่า มิตรภาพต่างสายพันธุ์ ถ่ายทอดความสัมพันธ์ระหว่างคนและสัตว์ป่า ทั้งการเอาเปรียบ ทั้งการปกป้อง และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ รับรู้ถึงการมีอยู่ของกันและกัน แต่ไม่เบียดเบียนระรานกัน มีความระทึกน้อยๆ ในบางเรื่องเล่าของป่า สัตว์ที่พบบ่อยในเล่มนี้คือเสือ .. เป็นเสือผ่านสายตาของคนที่คลุกคลีอยู่กับป่า ไม่ใช่เสือในสายตาของมนุษย์ผู้มองว่าเสือเป็นศัตรูที่ดุร้าย น่ากลัว เสือคือหนึ่งชีวิตเฉกเช่นเดียวกับเรา เป็นสิ่งมีชีวิตที่ยังชีพด้วยการล่า ..[…]

เรื่อง mimic เลียนแบบทำไม? ผู้แต่ง แทนไท ประเสริฐกุล สำนักพิมพ์ openbooks ราคา 185 บาท รู้จักแทนไทครั้งแรกจากโลกนี้มันช่างยีสต์ คนบ้าอะไรไม่รู้ เป็นถึงครูบาอาจารย์ แต่มีลีลาการสอนไม่ต่างจากโอนิสึกะ จาก GTO สำนวนสำเนียงการเล่าเรื่องก็มันส์เกินบรร (ระ) ยาย และไม่ใช่เรื่องแปลก ที่เราจะเสาะแสวงหาสำนวนสุดยีสต์นี้มาอ่านอีกครั้ง mimic เลียนแบบทำไม? เป็นการเอาบทหนึ่งในชีววิทยา มัธยมปลาย มาถ่างขยาย เปิดโลกทัศน์ของการก็อปปี้ในธรรมชาติแบบที่อลังการงานสร้างมากๆ ด้วยสำนวนยียวนสไตล์แทนไท แต่คงข้อมูลครบถ้วน หลากหลาย เกิดจินตนาการ แทนไทเลือกตัวอย่างที่ดีมาเปรียบเทียบ ทำให้เข้าใจง่าย นักเรียนที่เกลียดวิชาชีววิทยา งงกับทฤษฎีของชาลส์ ดาร์วิน อ่านหนังสือเล่มนี้เราจะได้ทฤษฎีครบถ้วน ในภาษาสนุกเข้าใจง่าย และหันมาหลงรักวิชานี้ในบัดดล (ถ้ากระทรวงศึกษาธิการเลือกให้แทนไทเป็นผู้เขียนหนังสือเรียนวิชาชีววิทยามัธยมปลาย เชื่อว่าจะไม่มีเด็กๆ คนไหนที่จะหลับคาหนังสือเรียนอีกเลย .. ไม่เชื่อก็ลองดูสิ!!) ในฐานะที่เกิดเป็นเด็กสมัยใหม่ เด็กๆ หลายคนคงเคยดูสารคดีเกี่ยวกับการ mimic มาบ้างแล้ว[…]