เรื่อง นางพญาหลวงผู้แต่ง กฤษณา อโศกสินสำนักพิมพ์ อักษรโสภณเลขมาตรฐานหนังสือ 9749309227 เอาจริงๆ นี่ก็ไม่ใช่การรีวิวหนังสือนะ ..มันคือการเล่าเรื่องย่อเลยแหละ!!(ย่อแล้วจริงๆ นะ!) ตอนที่เราเปิดมาเจอภาษาล้านนาโบราณขนานแท้ 4 – 5 หน้าแรกนั้นแทบช็อกทีเดียวค่ะนึกว่าจะต้องเจอแบบนั้นไปทั้งเล่มเสียแล้ว(ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ คงต้องเลิกอ่านไปก่อน >,<)โชคยังดีที่พอพ้นช่วงนั้นมา สำนวนก็กลับคืนสู่สภาพที่พออ่านได้บ้างคือเป็นล้านนาฉบับเบาบาง แต่ก็ยังอ่านยากอยู่ดีเพราะว่าเราจับเนื้อเรื่องไม่ติด ไม่เข้าใจชั่งใจตัวเองอยู่พอสมควร ว่าจะเลิกอ่านดีมั๊ยแต่ก็รู้ใจตัวเองอีกเช่นกันว่า ถ้าวางไปโอกาสจะกลับมาอ่านใหม่นั้นน้อยนิดจนเป็นศูนย์แน่ๆคิดได้ดังนั้น .. ก็บอกตัวเองให้ก้มหน้าก้มตาอ่านมันต่อไปเสียเถอะ! เมื่อตั้งใจว่าจะอ่านมันแน่ๆ ก็ต้องหาวิธีที่จะอ่านมันให้รอดซึ่งเราใช้วิธีเสิร์ชประวัติศาสตร์ช่วงนั้นจากกูเกิ้ลก่อนค่ะอ่านคร่าวๆ พอจับใจความได้แล้วค่อยมาอ่านประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะเล่าจากในหนังสือไปอย่างช้าๆ และก็เริ่มทำความเข้าใจเนื้อเรื่องไปด้วยเมื่อมีหลักให้จับ เราก็เริ่มชินกับภาษาไปเอง แล้วพบอีกด้วยว่า จริงๆ แล้วมันก็ไม่ยากเท่าที่คิดกลัวแต่แรก นางพญาหลวง เล่าประวัติศาสตร์ล้านนา (เชียงใหม่) เล่าถึงกษัตริย์องค์ท้ายๆ แห่งราชวงศ์มังรายในช่วงปี พ.ศ. 2000 นิดๆก่อนที่พระนางจิรประภามหาเทวีจะทรงครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2088 – 2089) ผู้เขียนเริ่มต้นเรื่องด้วยการยกบทบันทึกประวัติศาสตร์ภาษาโบราณซึ่งเท้าความถึงพระญาติโลก (พระญาลก) (พระเจ้าติโลกราช)(กษัตริย์ล้านนาลำดับที่ 10 (บางแหล่งว่า 9) แห่งราชวงศ์มังราย)ทรงมีโอรสคือท้าวสรีบุญเรือง (ท้าวบุญเรือง) ได้ครองเมืองเชียงรายก่อนจะถูกส่งไปไว้ที่[…]