เรื่อง ขลุ่ยไม้ไผ่ผู้แต่ง พจนา จันทรสันติสำนักพิมพ์ openbooksเลขมาตรฐานหนังสือ 9786167982076 เปลี่ยนโหมดปุบปับ ก็เลยต้องจูนกันหน่อยค่ะประมาณต้นเดือนหน้า เรากำลังจะมีกิจกรรมเกิดอยากจะอ่าน สิทธารถะ กับ book club วันศุกร์ตอนนี้ก็เลยพยายามเลือกหนังสือที่ปรับโหมดเข้าหาสิทธารถะทีละน้อยขลุ่ยไม้ไผ่ จึงถูกหยิบมาอ่านด้วยเหตุผลนี้ 🙂 ขลุ่ยไม้ไผ่ เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องไฮกุของญี่ปุ่นในช่วงต้น ผู้เขียนยกผลงานชื่อดัง จากกวีญี่ปุ่นหลากหลายบทมาเล่างานหลักๆ ที่ถูกยกตัวอย่างมากหน่อย คืองานของท่านบาโช (มัตสึโอะ บาโช) ในส่วนต่อของเล่ม จึงเป็นงานไฮกุของผู้เขียนเองโดยที่ระหว่างบทของไฮกุ จะมีบทบรรยายเหตุการณ์หรือสถานการณ์อันเป็นที่มาของไฮกุแต่ละบท อดแปลกใจตัวเองไม่ได้ว่าทำไมเราจึงรู้สึกเฉยๆ กับเล่มนี้นั่งหาเหตุผลมาได้ว่ามันน่าจะเป็นเพราะคำอธิบายคั่นในแต่ละบทนี่แหละ เข้าใจว่าหนังสือเล่มนี้ถูกเขียนเอาไว้เมื่อนานมาแล้วมันเกิดขึ้นในยุคที่คนไทยยังไม่คุ้นเคยต่อไฮกุผู้เขียนจึงต้องใส่คำอธิบายเพื่อให้ผู้อ่านมือใหม่ได้เข้าใจรสสัมผัสของกวีแต่การแทรกคำอธิบายไปตลอดทั้งเล่มเช่นนี้ ก็ลดทอนความงดงามตามธรรมชาติของบทกวีเช่นกัน เราทุกคนอ่านบทกวี แล้วตีความต่างกันเฉกเช่นเดียวกันกับการมองดอกไม้ดอกหนึ่ง แล้วรู้สึกต่างกันซึ่งพอมีการตีความของผู้เขียนมาเป็นแนวทางและบางบทเราตีความออกมาไม่เหมือนกันทำให้รู้สึกอึดอัดเหมือนถูกขังอยู่ในกรอบ อ่านไม่สนุก ไฮกุได้สร้างภาพของเราขึ้นมาแล้วเรื่องเล่าของผู้เขียนได้สร้างภาพทับภาพนั้นทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในใจเราหรือบางที หนังสือเล่มนี้อาจจะต้องเรียงลำดับเสียใหม่นำเรื่องเล่าขึ้นต้นนำมาก่อน แล้วปิดท้ายด้วยกวีไฮกุ? ด้วยวิธีเล่าแบบนี้ ทำให้ความชอบบทกวีของเรา กลายเป็นไม่ได้อยู่ที่บทกวีหากไปอยู่ที่เรื่องเล่าประกอบแทนเราชอบบทปลาช่อน ที่เรื่องเล่าไม่มากไป ไม่น้อยไปมันช่วยเสริมให้บทกวีดูน่ารักขึ้น 🙂 การเปลี่ยนจากคำอธิบายเป็นการบอกเล่าชั่วขณะที่บทกวีนั้นถือกำเนิดขึ้นมา ดีกว่ามากเพราะเราจะเข้าใจสถานการณ์แล้วเราาก็ตีจะความจากเรื่องราวนั้นผนวกกับใส่ประสบการณ์ส่วนตัวของเราลงไปร่วมด้วยทำความเข้าใจบทกวีผ่านมุมมองของเรา และก็มีบางบทที่เราไม่ชอบ อย่างเช่น บทที่เล่าถึงฤดูหนาว ตื่นขึ้นมาในเช้าวันนี้ฉันรู้สึกได้ว่าฤดูหนาวได้มาถึงแล้ว มันดูเป็นประโยคที่ถูกตัดทอนแยกบรรทัด มากกว่าเป็นไฮกุเราว่าไฮกุน่าจะให้อารมณ์ได้มากกว่านี้น่าจะพูดถึงธรรมชาติ ที่เราอ่านแล้วรู้สึกถึงลมหนาวไม่ใช่พูดถึงลมหนาว[…]