เรื่อง แบกเป้ตามตะวันผู้แต่ง กองบรรณาธิการจุดประกาย – เสาร์สวัสดี นสพ.กรุงเทพธุรกิจสำนักพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจเลขมาตรฐานหนังสือ 9786167008233 ค่อนข้างเห็นต่างจากทั้งคำนิยม และคำนำสำนักพิมพ์เปิดศึกตั้งแต่เปิดเล่มกันเลยทีเดียว!เราอ่านหนังสือ .. เล่มเดิมเล่มเดียว หลายครั้ง แต่สิ่งที่ได้อาจไม่เหมือนกันสักครั้งยิ่งหลายคนอ่าน ยิ่งแตกแขนงต่อยอดออกไปไม่สิ้นสุด ..หนังสือทำกับเราได้แบบนั้น ใช่แต่การเดินทาง!? และทำไมเราต้องออกเดินทาง จึงจะมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้น!?เห็นก้อนเมฆ เห็นต้นไม้ เห็นดวงดาว?ตราบใดที่เรายังตื่นเช้าด้วยความสุข (ที่บ้านตัวเอง)ยังคงมองเห็นเงาแสงแทรกผ่านผ้าม่านผืนเดินแสงเดิมๆ แต่ไม่เคยเหมือนเดิมสักวันตราบใดที่เราแหงนมองท้องฟ้าที่หน้าบ้านได้อย่างเป็นสุขมองเห็นดวงดาวทุกค่ำคืน .. ด้วยเหคุผลที่คำนำอ้างมา ..เราจะออกเดินทางเพื่ออะไร!? นั่นแหละ ทั้งหมดมันเป็นเรื่องของเพียงแค่คำนิยมและคำนำอาจไม่เกี่ยวข้องกับทัศนคติและสำนวนของผู้เขียนแต่มันก็ทำให้เราเองมีทัศนคติเริ่มต้นไม่ดีกับหนังสือเล่มนี้ งั้นเรามาเริ่มต้นว่าด้วยเรื่องในหนังสือ (ที่เป็นผลงานของผู้เขียน) จริงๆ ดีกว่าแบกเป้ตามตะวัน เกิดจากการรวบรวมบทความในเสาร์สวัสดี หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจซึ่งเป็นการรวบรวมบทความชวนเที่ยว จากนักเขียนสามคนอันได้แก่ตามตะวัน, ลาเกอปอ, และบิเบวา แบกเป้ตามตะวัน เป็นการรวบรวมบทความว่าด้วยการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติล้วนๆซึ่งบางเรื่องก็ดี แต่บางเรื่องก็อ่านแล้วไม่อินยังไม่ดึงดูดพอให้เราอยากตามไปเที่ยวด้วยมีนึกภาพตามไม่ค่อยออกบ้าง ภาพประกอบไม่พอดีกับเนื้อหาบ้างแต่ก็พอกล้อมแกล้มไปได้เพราะยุคสมัยนี้ เราสามารถอัพเดทข้อมูลต่างๆ ออนไลน์ได้หมดแล้วหนังสือมีหน้าที่จุดประกายอะไรบางอย่างให้เราเท่านั้น(จริงๆ หนังสือเล่มนี้มีข้อมูลผิดนิดๆ หน่อยๆ ด้วยชื่อดอกไม้ผิดบ้าง สะกดชื่อนกผิดบ้าง ฯลฯ) เรื่องที่เราชอบเลย อ่านแล้วอยากไปเที่ยวด้วยเลยคือตอนที่เล่าถึงน้ำพุร้อนที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ลำปางนอกจากนั้นก็ให้ความรู้สึกรวมๆ กัน และรวมจากเล่มอื่นที่อ่านมาด้วยคือหนาวแล้วววว[…]

เรื่อง คนเล็กๆ ที่หายตัวได้ ผู้แต่ง ญามิลา สำนักพิมพ์ เคล็ดไทย เลขมาตรฐานหนังสือ 9743156755 คนเล็กๆ ที่หายตัวได้ เป็นรวมบทความในคอลัมน์ Life by the drop จากเสาร์สวัสดี (ส่วนแทรกในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันเสาร์) โดยส่วนตัว เราว่าตัวหนังสือของญามิลามีความหม่นเศร้าอยู่ก่อนแล้ว แต่สำหรับเล่มนี้ เขาตั้งใจว่าจะให้มันเป็นเรื่องหม่นๆ เทาๆ ของชีวิต .. เราอ่านแล้ว .. ก็เศร้าพอๆกับเล่มอื่นนั่นแหละ เป็นโทนสีเดียวกัน ไม่หนีกันไกล เน้นหนักในความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน เชื่อในแนวความคิดของพรหมลิขิตและฟ้ากำหนด เป็นเรื่องของความรู้สึกมากกว่าเหตุผล เป็นอีกครั้งที่เห็นต่างจากญามิลา เป็นเล่มที่อ่านไปถกไป มีทั้งส่วนที่คล้อยตาม และส่วนที่เห็นต่าง อ่านไปค้านไป .. ในใจเป็นระยะ เอกลักษณ์ของญามิลาคือศิลปะของการเล่นคำ คนละแบบกับการเล่นของของก้อง ทรงกลด และนิ้วกลม อาจเป็นเพราะญามิลาใส่ความหม่นมัวลงไปในเนื้อเรื่องด้วย เป็นการเล่นคำที่ใช้ความขัดแย้งระหว่างสถานการณ์ โดยรวมๆ เล่มนี้กลางๆ ค่ะ

เรื่อง นายเท้าซ้าย เด็กชายเท้าขวา ผู้แต่ง ก้อง คาร์ ไว (ทรงกลด บางยี่ขัน) สำนักพิมพ์ abook ราคา 160 บาท นายเท้าซ้าย เด็กชายเท้าขวา เป็นหนังสือเล่มเปิดตัวของของก้อง คาร์ไว หรือก้อง ทรงกลด บางยี่ขัน มันเป็นการเปิดตัวที่สวยงาม เพราะเมื่ออ่านตอนแรกจบ ทรงกลดก็ส่งเท้าซ้ายเข้าไปโชะที่หัวใจเราเป็นดอกแรก และส่งเท้าขวาตามมาไม่ห่างเข้าที่ต่อมอารมณ์ดีในสมอง ความเป็นตัวเขาชัดเจนมากในเล่มแรกนี้ และมันส่งผลให้ชื่อของก้อง ทรงกลดเป็นที่จดจำของเราตั้งแต่บัดนั้น ก้อง ทรงกลดกำลังสดใหม่ ลูกเล่น ลูกล่อ ลูกชนแพรวพราว (แพรวพราวกว่าเรื่องหลังๆ โดยเฉพาะเรื่องล่าสุดอย่างเห็นได้ชัด) ความคิดและอารมณ์บางอย่างก็เกิดขึ้นได้เฉพาะช่วงวัยจริงๆ (การเขียนไดอารี ทำให้เราได้เห็นตัวเองในวัยเยาว์กว่านี้ และนั่นทำให้เราแปลกใจในตัวตนของตัวเอง) ทรงกลดเล่าเรื่องทั่วๆ ไป ธรรมดาๆ ในมุมมองที่เก๋ไก๋ ยั่วคิด อ่านได้เพลิดเพลิน ตัวหนังสือของเขามีอารมณ์ขัน (แบบที่ไม่ใช่อ่านแล้วหัวเราะออกมาดังๆ นะ) มองโลกในแง่สุข เป็นความคิดแง่บวก[…]