เรื่อง ต้นธาร วิถีมอญผู้แต่ง องค์ บรรจุนสำนักพิมพ์ แพรวสำนักพิมพ์เลขมาตรฐานหนังสือ 9789744752185 ต้นธาร วิถีมอญ เป็นบทความที่ชวนให้เรานึกถึง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กผู้เขียนความทรงจำดีมากเล่าเรื่องราวเก่าๆ เก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เอาไว้น่าสนใจ ชีวิตวัยเด็กของผู้เขียน ซึ่งเป็นคนมอญสมุทรสาครรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชน ขนานไปกับคลองปากบ่อลำคลองสายเล็กๆ ที่เชื่อมต่อออกไปได้ถึงแม่น้ำท่าจีนมีวัดปากบ่อหรือวัดสามง่ามเป็นทั้งที่พบปะแลกเปลี่ยนและเป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจคนมอญด้วยกันเรียกชาวมอญแถบนี้ว่าเป็น “มอญน้ำเค็ม”หรือบางทีก็เรียกกันว่า “มอญน้ำกร่อย” คนมอญบ้านปากบ่อนี้อพยพมารวมตัวกันตั้งแต่เมื่อราวร้อยกว่าปีก่อนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3)อพยพมาจากตำบลบางกระเจ้า และตำบลบ้านบ่อส่วนหนึ่งกับชุมชนมอญริมแม่น้ำท่าจีนอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งชาวมอญเหล่านี้ยังคงรักษาขนมธรรมเนียมประเพณีแบบมอญดั้งเดิมเอาไว้ในวิถีชีวิตประจำวันมีบ้างที่เชื่อมต่อผสมผสานไปกับธรรมเนียมชนชาติอื่นๆที่อยู่ร่วมด้วย โดยเฉพาะไทยและจีน เนื้อเรื่องที่เล่าในเล่มนี้ จึงสอดแทรกไปด้วยวิถีชีวิตตามความเชื่อของมอญ (ปนไทยและจีน)นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงครอบครัวที่คนในครอบครัวมีฝันและหวังไปกันคนละทางซึ่งทั้งหมดทั้งมวล อาจมีเศษเสี้ยวของสาเหตุมาจากชาติพันธุ์ที่ยังไม่สามารถรวมกันขึ้นเป็นประเทศได้ ..ปมยังคงเป็นปมอยู่ในหัวใจมากบ้างน้อยบ้างสุดแท้แต่จิตใจของคน ชีวิตวัยเด็กของผู้เขียนไม่ได้ร่ำรวยอะไรนักเป็นชีวิตที่เกิดมาในบ้านที่กระเบียดกระเสียรหากแต่ก็มานะอดออมและคนไทยสมัยก่อน ต่อให้อดอย่างไร ในน้ำก็ยังมีปลา ในนาก็ยังมีข้าวเสมอผู้เขียนเติบโตขึ้นมาอย่างเด็กบ้านสวนมีบ้านของพ่อและแม่ ที่ร่วมแรงกันก่อร่างขึ้นมามีสวนพุทรา ที่ภายหลังกลายเป็นสวนมะพร้าว ทำน้ำตาลมะพร้าวและยังปลูกพืชผักสวนครัว ผลไม้อื่นๆ เอาไว้อีกมากมีลำคลองน้ำกร่อยไหลผ่าน ปลูกพืชบางชนิดได้งาม แต่ก็ปลูกพืชบางชนิดก็ไม่ได้เลย ..ทั้งหมดนี้คือสังคมที่ผู้เขียนเติบโตมา ต้นธาร วิถีมอญ เป็นหนังสือที่มีภาษาเรียบง่าย เป็นกันเองไม่ได้ใช้ศัพท์แสงซับซ้อนให้ต้องแปล แม้เนื้อเรื่องจะเรื่อยๆ สนุกบ้าง เฉยๆ บ้างมาตลอดเล่มแต่เมื่ออ่านมาถึงสองบทสุดท้าย เรากลับชอบมันมากๆผู้เขียนจบเล่มลงด้วยความน่าประทับใจ และกินใจซึ่งนอกจากจะชวนให้เราคิดถึงชีวิตวัยเยาว์ของตนเองแล้วผู้เขียนยังทำให้เราเข้าใจถึงหัวใจของชนที่มีชาติ[…]