เรื่อง พาเที่ยววันวานกับคุณยาย ผู้แต่ง ว.วินิจฉัยกุล สำนักพิมพ์ ทรีบีส์ ราคา 310 บาท พาเที่ยววันวานกับคุณยาย ไม่ใช่หนังสือนิยาย เป็นหนังสือกึ่งสารคดี เล่าถึงบรรพบุรุษในสายตระกูลของผู้เขียน ซึ่งเล่าร้อยเรียงมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ลำดับมาจนถึงรัชสมัยปัจจุบัน ผู้เขียนได้สอดแทรกเกร็ดประวัติศาสตร์ต่างๆ ควบคู่ไปกับเหตุการณ์ในช่วงชีวิตของบรรพบุรุษของท่านด้วย เหตุเพราะเรื่องราวที่เล่าเป็นชีวประวัติของบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงๆ เรื่องที่เล่า (ช่วงต้นๆ) จึงเป็นเพียงบทบันทึกเท่านั้น ไม่มีคำที่ให้อารมณ์และความรู้สึกแบบนิยาย (เฉพาะช่วงที่ไม่เกี่ยวกับบุคคลอื่น) แต่ถ้าเป็นช่วงที่เล่าถึงบรรยากาศบ้านเมือง ตรงนี้อ่านสนุกค่ะ เราได้เห็นความร่มรื่น สงบ ร่มเย็น ทั้งทางกายภาพและภายในจิตใจของคนโบราณ ชื่นใจกับความอุดมสมบูรณ์ของเมืองไทยสมัยก่อน ก่อนที่จะเข้าสู่ยุคทุนนิยม ชีวิตคนไทยมีความสุข เรียบง่าย ไม่ว่าจะเป็นคนในระดับขุนนาง หรือบริวารก็ตาม นับได้ว่าเป็น “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก” ในอีกเวอร์ชั่นหนึ่ง บ้านเดิมของคุณแม่ของผู้เขียนนั้น แต่เดิมตั้งอยู่ที่คลองสาน ดังนั้น เรื่องราวในเล่มจึงปรากฏบรรยากาศของคลองสาน ในยุคปลายรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ให้เราคอยนึกภาพตามไปด้วย (นึกถึงเรื่อง สองฝั่งคลอง เลยค่ะ ทั้งภาพบรรยากาศ และเส้นชีวิตมีกลิ่นอายของเรื่องจริงอยู่เยอะมาก)[…]

เรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ๑-๔ ผู้แต่ง ทิพย์วาณี สนิทวงศ์ฯ สำนักพิมพ์ ศิลปาบรรณาคาร ราคา (เล่มละ) 50 บาท อ่านบ้านย่าไผ่จบ ก็เกิดอาการโหยหาอดีตขึ้นมาอย่างหยุดไม่อยู่กู่ไม่กลับ เป็นเหตุให้ต้องไปค้นหนังสือสามัญประจำบ้านชุดนี้มาอ่านค่ะ เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ใครไม่เคยอ่านหนังสือชุดนี้ยกมือขึ้น … ขอบอกว่าเชยมากกก ;P เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก มีอารมณ์ใกล้เคียงกันมากกับ ‘บ้านย่าไผ่’ เลยค่ะ หยิบเรื่องอดีตมาเล่าให้เด็กๆ อ่านด้วยภาษาง่ายๆ เราอ่านสนุกมาตั้งแต่ยังเด็ก เปิดอ่านเอาจากนิตยสารสตรีสาร อ่านก่อนจะถูกบังคับให้อ่านเป็นหนังสือนอกเวลาหลายปี พอมาอ่านอีกทีพร้อมเพื่อนๆ จึงรู้สึกว่าตัวเองโปรมาก (ฮา) หยิบเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กมาอ่านหนนี้ มีความรู้สึกเหมือนกับได้พบเพื่อนเก่า เปิดอ่านไปแต่ละบท รู้สึกเหมือนค่อยๆ ย้อนเวลากลับไปเป็นตัวเราเมื่อตอนเด็ก ตอนที่หยิบๆ จับๆ เล่มนี้มาอ่านบ่อยๆ นึกถึงความรู้สึกที่ได้อ่านมันหนแรก และหนต่อๆ มา ถี่ๆ ในช่วงนั้น อ่านแล้วอ่านอีก อ่านจนจำขึ้นใจ .. มันแปลกดีที่ได้ย้อนกลับไปมองตัวเองในวัยเด็ก ด้วยมุมมอง (แบบตัวเอง) ในวัยผู้ใหญ่ แต่ไม่ว่าจะอ่านครั้งโน้น[…]