เรื่อง ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัยผู้แต่ง คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตรสำนักพิมพ์ มติชนเลขมาตรฐานหนังสือ 9789740212652 ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย ไม่ได้เป็นเพียงหนังสือประวัติศาสตร์ไทยแต่มันคือหนังสือประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์ การเมือง และการปกครองของไทยซึ่งถูกเขียนขึ้นจากผู้เขียนคู่สามีภรรยานักวิชาการสองคนโดยสามี คริส เบเคอร์ เป็นชาวอังกฤษ และภรรยา ผาสุก พงษ์ไพจิตร ชาวไทยการเขียนหนักสือเล่มนี้ครั้งแรกถูกเขียนขึ้นเป็นภาษาอังกฤษเพื่อใช้เป็นตำราเรียนให้กับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และได้รับการแปลเป็นภาษาไทยในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่องของคำว่าชาติไทย – ในนิยามต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งอดีต ก่อนที่ไทยจะรวมเป็นประเทศเมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์ชาติไทย คือเริ่มต้นเล่าอย่างจริงจังในสมัยอยุธยาถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นการเล่าอย่างสรุปรวม ไปอย่างเร็วๆและเล่าทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ ภูมิประเทศ และรูปแบบการปกครอง หลายข้อมูลจากในเล่มนี้เป็นข้อมูลที่เราไม่เคยอ่านเจอมาก่อนทั้งๆ ที่ช่วงนี้ก็อ่านหนังสือประวัติศาสตร์ติดต่อกันมาหลายเล่มอาจเป็นข้อมูลจากหนังสือเล่มที่เรายังไม่เคยอ่านหรืออาจเป็นข้อมูลจากบันทึกชาวต่างชาติ เป็นมุมมองจากชนชาติอื่นที่ได้บันทึกไว้หลายตอน เป็นการสรุปผลผ่านวิจารณญาณของผู้เขียน ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เล่าประวัติศาสตร์ไทยและภูมิภาคใกล้เคียงตั้งแต่ครั้งเริ่มตั้งชุมชนริมแม่น้ำ ก่อนสมัยสุโขทัย .. อย่างคร่าวๆในช่วงนี้ผู้เขียนไม่ได้เล่าเรียงไทม์ไลน์ เล่าย้อนไปย้อนมาน่าเข้าใจผิดมีการตีความในแบบที่เราไม่คุ้นเคย แปลกๆ ดี การเล่าถึงประวัติศาสตร์ไทยในช่วงต้น ผู้เขียนเล่าไปอย่างเร็วๆอาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงในยุคก่อนเกิดขึ้นช้าต่อเมื่อคืบหน้ามาในยุคที่่ใกล้เคียงกับปัจจุบัน รายละเอียดก็เพิ่มมากขึ้นประวัติศาสตร์ไทยในช่วง 200 ปีล่าสุดนี้ถูกเล่าถึงอย่างเข้มข้น สำหรับเรา เรามองว่า ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เป็นหนังสือประวัติศาสร์ที่สรุปมาแล้วผ่านการวิเคราะห์ตีความจากผู้เขียนมาแล้วไม่ได้เป็นข้อมูลดิบ หรือเป็นบันทึกโดยตรงจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หนังสือที่ใช้อ้างอิง ก็ไม่ใช่หลักฐานบันทึกดั้งเดิมเป็นเพียงหนังสือที่ถูกผู้เขียนยุคหลังๆ วิเคราะห์และเขียนขึ้นเช่นกัน[…]

  เรื่อง ผลัดแผ่นดินผู้แต่ง สุกิจ สุวานิชสำนักพิมพ์ นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์เลขมาตรฐานหนังสือ 9786160416028 ผลัดแผ่นดิน เริ่มต้นเรื่องเกือบจะช่วงเวลาเดียวกับกับที่ ชีวิตของประเทศ เปิดเรื่องคือบอกเล่าประวัติศาสตร์ตั้งแต่ครั้งที่รัชกาลที่ 1 เริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ไปจนกระทั่งสิ้นสุดรัชกาลที่ 4 ขึ้นรัชกาลที่ 5แต่ ผลัดแผ่นดิน เล่าด้วยภาษาที่ง่ายกว่า เห็นภาพได้มากกว่าสิ่งที่แตกต่างไปก็คือการตีความ เรื่องราวในประวัติศาสตร์นั้นยังคงเดิมแต่ความรู้สึกนึกคิดของผู้คนซึ่งมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์นั้นแตกต่างไปเป็นอีกแบบ ผลัดแผ่นดิน เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ในรูปแบบของนวนิยายหากแต่ในเล่มนี้ไม่มีตัวละครสมมติเลยทุกพระองค์และทุกท่าน ล้วนแต่เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ทั้งสิ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นพระบรมราชวงศ์ และเป็นขุนนางคนสำคัญๆ ทั้งนั้น ผลัดแผ่นดิน จึงเป็นหนังสือที่อ่านง่าย ซื่อตรง แต่ก็ไม่ซับซ้อนเป็นข้อดีที่กลายเป็นข้อเสียไปด้วย คือทำให้มันดูไม่สมจริงในส่วนของนิยายพระราชดำริและพระราชดำรัสต่างๆ ไม่หนักแน่นสมจริงพอคำพูดของบรรดาข้าหลวงขุนนางที่ยุยงส่งเสริมก็ดูเป็นละครหลังข่าวโดยรวมคือดีต่อการอ่านเพื่อทำความเข้าใจในประวัติศาสตร์แต่ไม่ดีต่อความรู้สึกด้านความสละสลวย หรือจรรโลงใจ เมื่อเราหยิบ ชีวิตของประเทศ และ ผลัดแผ่นดิน มาอ่านต่อกันเรามองว่าหนังสือสองเล่มนี้เป็นหนังสือคู่ขนานกันเลยทั้งสองเล่มเล่าเรื่องในช่วงเวลาเดียวกันแทบจะเป๊ะๆ เลยขึ้นอยู่กับคนอ่านว่าจะชอบแบบไหนสำหรับเรา ถ้าสลับกันมาอ่าน ผลัดแผ่นดิน ก่อน แล้วค่อยไปอ่าน ชีวิตของประเทศ ทีหลัง ก็จะทำให้อ่านเล่มหลังได้เข้าใจง่ายขึ้นแต่เราอ่าน ชีวิตของประเทศ มาก่อน พอมาอ่าน ผลัดแผ่นดิน จึงไม่ค่อยเหลืออะไรใหม่ให้ตื่นตาตื่นใจมีเพียงมุมมองของผู้เขียนให้คอยติดตามเท่านั้น ซึ่งก็ยังถือว่าอ่านได้เพลินๆ ดีและเป็นหนังสือที่อ่านง่าย อ่านเร็วว่า[…]

เรื่อง โครงกระดูกในตู้ ผู้แต่ง ศ.พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช สำนักพิมพ์ ดอกหญ้า 2000 ราคา 110 บาท เป็นที่เข้าใจตรงกันมานานแล้วว่า .. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชนั้นเป็นผู้เล่าเรื่องได้สนุก มีอารมณ์ขัน แต่ผู้เขียนได้ออกตัวแต่แรกไว้แล้วว่า เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ .. เป็นการบันทึกเรื่องราวที่เล่าต่อๆ กันมาภายในตระกูล ไม่ใช่ข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงทางวิชาการได้ (แต่เราก็อ่านพบในหนังสือเชิงประวัติศาสตร์ศาสตร์หลายเล่ม ที่นำเรื่องเล่าต่างๆ จากในหนังสือเล่มนี้ ไปใช้อ้างอิงเพื่ออรรถรส ออกไปทาง .. เรื่องเล่า หรือเกร็ดพงศาวดารทำนองนั้น หลายเรื่อง ดูมีอภินิหารเหลือเชื่ออยู่บ้าง และหลายเรื่องก็มีสีสันโลดโผนเหลือเกิน อ่านเอาสนุก มีกลิ่นอายของประวัติศาสตร์ ส่วนจริงไม่จริงก็อย่างเพิ่งไปปักใจเชื่อ และอย่างเพิ่งไปตัดสินบุคคลใดจากการอ่านเล่มนี้) คำว่า ‘โครงกระดูในตู้‘ หมายถึงแกะดำของตระกูล ที่คนในตระกูลไม่อยากเล่าถึง แต่ผู้เขียนนำมาเล่า เพื่อบอกเล่าประวัติของคนในตระกูลแก่ลูกหลาน ทัศนคติของผู้เขียนมีอยู่ว่า มนุษย์ที่แท้จริง ต้องมีทั้งส่วนที่ดี และส่วนที่ทำผิดพลาด และการที่เราเล่าถึงบุคคลแต่ส่วนที่ดีนั้น ก็นับว่าเป็นการรู้จักเขาแต่เพียงครึ่งเดียว[…]