เรื่อง เจ้าแม่ ผู้เขียน อาจินต์ ปัญจพรรค์ สำนักพิมพ์ มติชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9789740215493 หลังจากที่เจ้าพ่อเจ้าเมืองถูกเขียนจบลงไปเมื่อราวสามสิบปีที่แล้ว (เจ้าพ่อเจ้าเมืองถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นตอนๆ ในนิตยสารฟ้าเมืองไทย ปี 2529 – 2531) เจ้าแม่ก็คลอดตามมาเมื่อราวเจ็ดปีให้หลัง (เจ้าแม่เคยถูกตีพิมพ์ลงเป็นตอนๆ ลงในนิตยสารกุลสตรี เริ่มต้นฉบับที่ 583 (น่าจะเป็นช่วงต้นปี พ.ศ. 2538) แต่เพิ่งถูกรวมเล่มครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2560 ที่ผ่านมา) เจ้าแม่ ถ่ายทอดชีวิตชนบทในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่าด้วยวิถีชีวิตและค่านิยมของผู้คนอันเป็นชาวบ้านในยุคนั้น มีวัฒนธรรมบ้าง ซึ่งบางข้อในยุคนี้กลับมองว่าไม่มีวัฒนธรรม แต่มันคือชีวิต คือธรรมชาติของผู้คน คืออดีตของพวกเรา คือรากเหง้าอันค่อยแปรเปลี่ยนไปตามวัฒนธรรมใหม่ที่เข้ามาตกกระทบ คุณอาจินต์สอดแทรกวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างการตกปลาช่อนด้วยวิธีหยกปลา การพายเรือผีหลอกให้ปลากระโดดขึ้นเรือเอง การทำขวัญข้าว การฟังเพลงพื้นบ้านจากเด็กหนุ่มที่หลงรักสาวบ้านนา เสียงร้องเพลงที่ลอยตามลมมาในยามค่ำคืน เปรียบเหมือนการฟังวิทยุแก้เหงาของชาวกรุง ฯลฯ วิถีวิธีที่คนเป็นเจ้าพ่อยุคหนึ่งปฏิบัติ อาจเป็นคนละอย่างกับเจ้าพ่อที่เราคุ้นชินและนึกภาพเอาไว้ในใจ แต่นายพรหมก็เป็นเจ้าพ่อแบบที่คนยุคนั้นเป็น ใจกว้าง ใจใหญ่ ฝักใฝ่อบายมุข และมีผู้คนนับหน้าถือตา แม้เมื่อตกต่ำและกลับเฟื่องฟู เขาก็ยังเลือกเดินวิถีเดิม คงเป็นเรื่องของค่านิยมที่บังตาให้พาไปสู่หนทางอีหรอบเดิม ยังดีที่ในตอนนี้[…]

เรื่อง เจ้าเมือง ผู้เขียน อาจินต์ ปัญจพรรค์ สำนักพิมพ์ มติชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9789740208297   เจ้าเมือง ในที่นี้หมายถึงข้าหลวงประจำจังหวัด อันเทียบได้กับผู้ว่าราชการจังหวัดในยุคนี้นั่นเอง เจ้าเมือง เป็นเรื่องต่อจาก เจ้าพ่อ ที่จบค้างคาเอาไว้ ชีวิตของพรหม (ว่าที่เจ้าพ่อ) และบรรจง (ว่าที่เจ้าเมือง) กำลังไต่เต้าสูงขึ้นไปเรื่อยๆ โดยที่น้ำหนักของเรื่องในเล่มนี้ มาเน้นอยู่ตรงที่เรื่องของบรรจง เล่าอยู่ในฝั่งของบรรจง ในเล่ม เจ้าพ่อ เนื้อเรื่องคือการปูพื้นไต่เต้ามาทั้งชีวิตของพรหมและบรรจง จวบจนเมื่อเข้าสู่เล่มเจ้าเมือง ตัวละครหลักทั้งสองคนจึงมีการปะทะกันบ้าง แต่ก็เพียงเล็กน้อย เอาจริงๆ ชีวิตของคนทั้งสองคน ต่างแยกกันออกไปมีชีวิตของตัวเอง ต่างคนต่างอยู่กันคนละท้องที่ และค่อยๆ ไกลเป็นคนละจังหวัด คนละภาค โดยรวมๆ เราชอบเล่ม เจ้าพ่อ มากกว่า เพราะเนื้อเรื่องสละสลวยกว่า สำหรับเล่มนี้ เราว่าเนื้อเรื่องไม่ค่อยปะติดปะต่อกัน เรื่องดำเนินไปเร็ว เนื้อเรื่องกำลังมาถึงตอนสนุกๆ จะได้ลุ้นทีไร รอจังหวะสะใจทีไร คุณอาจินต์ก็เล่าข้ามไปเสียเฉยๆ ทุกทีไป คุณอาจินต์ไปเน้นเล่าเรื่องที่เป็นประวัติศาสตร์และเกี่ยวกับราชการมากกว่า ได้ความรู้แปลกๆ ดี แต่ไม่ค่อยสนุกเท่าเล่มแรก แต่ถ้าใครชอบอ่านประวัติศาสตร์[…]

เรื่อง เจ้าพ่อ ผู้เขียน อาจินต์ ปัญจพรรค์ สำนักพิมพ์ มติชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9789740208136 คำนำสำนักพิมพ์ในตอนต้นเล่ม ออกจะพาเราคิดไกลเกินจริงไปหน่อย แน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้เกี่ยวข้องกับ เจ้าพ่อ และ เจ้าเมือง .. เพราะเป็นนิยายในชุดชื่อนั้น แต่ความห้ำหั่นระหว่างเจ้าพ่อกับเจ้าเมือง .. ยังไม่ได้ “ลบเหลี่ยม เฉือนคม” (อย่างที่คำนำบอก) กันถึงเพียงนั้น ทั้งเจ้าพ่อและเจ้าเมือง ดูจะเป็นมิตรที่ดีต่อกันด้วยซ้ำ ในเล่มแรกนี้เล่าถึงเพียงการก่อร่างสร้างบุญบารมีของทั้งสองฝ่าย โดยที่ฝ่าย เจ้าพ่อ ก็ยังดูง่อนแง่น เพราะใช้แต่บุญเก่า ยังไม่เห็นวี่แววจะเป็นเจ้าพ่อได้เลย ออกจะเหมือนลูกเศรษฐีที่เอาแต่ผลาญเงินพ่อเสียมากกว่า แต่ก็นั่นแหละ คำนำของทั้งเล่ม เจ้าพ่อ และ เจ้าเมือง ใช้คำนำเดียวกัน ดังนั้น การห้ำหั่นที่ว่าอาจจะเกิดขึ้นในเล่มต่อมา (ซึ่งเรายังอ่านไม่ถึง) ก็ได้ เมื่อเราอ่านเพียงเล่มแรกเล่มเดียว .. มันเลยรู้สึกแปลกๆ ที่จะใช้ชื่อ เจ้าพ่อ เป็นชื่อของหนังสือเล่มนี้ แต่ถ้าบอกว่ามันเป็นเล่ม 1 ของนวนิยายชุด เจ้าพ่อ –[…]

เรื่อง เหมืองแร่ ฉบับสมบูรณ์ ผู้เขียน อาจินต์ ปัญจพรรค์ สำนักพิมพ์ มติชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9789740213239 อย่างที่รู้กันแล้วว่า เหมืองแร่ ฉบับสมบูรณ์ เป็นเรื่องสั้นกึ่งเรื่องจริง บันทึกชีวประวัติช่วงวัยหนุ่มของคุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ ผู้ซึ่งเคยทำงานเป็นช่างแผนที่ ณ เหมืองแร่แห่งหนึ่งที่กระโสม ตะกั่วทุ่ง ชีวิตสี่ปีแห่งการทำงาน และการสร้างตัวจากเด็กหนุ่มเป็นลูกผู้ชายเต็มตัวนั้น เต็มไปด้วยประสบการณ์ชีวิต เต็มไปด้วยผู้คนที่กลายเป็นผองเพื่อน เต็มไปด้วยเรื่องเล่าจากความทรงจำมากมาย เมื่อครั้งที่ดูภาพยนตร์เรื่องมหาลัยเหมืองแร่ และในตอนเริ่มอ่าน เราเข้าใจว่าทั้งหมดทั้งเล่มนี้คือเรื่องจริง จนเมื่ออ่านถึงตอนใกล้จบ คุณอาจินต์ถึงได้เล่าว่า ภายในเล่มมีทั้งเรื่องจริงทั้งหมด เรื่องจริงบางส่วน และเรื่องที่แต่งขึ้นล้วนๆ แต่ใช้ฉากและตัวละครประกอบอันสมจริงและมีอยู่จริง แต่ทั้งนี้ก็มีแรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์จริงบางส่วนที่เกิดขึ้นในเหมืองแร่นั้น ภายในเล่ม คุณอาจินต์เล่าชีวิตของผู้คนในเหมืองแร่แต่ละคนได้อย่างมีรสชาติ เล่าเป็นตอนสั้นๆ ตัวละครต่างๆ ผลัดกันขึ้นมามีบทบาทเป็นตัวเอกในแต่ละตอน บ้างก็มีคติสอนใจ บ้างก็หักมุมหักอารมณ์ มีทั้งชวนขำ และชวนเศร้า ปลงอนิจจังกับชะตามนุษย์ คุณอาจินต์เล่าชีวิตนักเลงเหมืองแร่ได้สนุกที่สุด สำนวนที่เล่าก็ช่างโลดโผนโจนทะยานอ่านเพลิน มีชั้นเชิงในการเปิดตัวละครราวกับภาพยนตร์ชั้นดี ชีวิตจริงของมนุษย์ที่มีสีสันเสียยิ่งกว่าเรื่องแต่ง บางตอน บางตัวละครก็เป็นเพียงตัวประกอบ แต่ในบางตอน ตัวประกอบที่ว่าก็กลายเป็นพระเอก คุณอาจินต์มองมนุษย์ด้วยมุมกว้าง ในบางตัวละครหลักที่ถูกนำมาเล่าบ่อย มักจะถูกตีแผ่ทุกแง่ร้ายดี[…]

เรื่อง ตะลุยเหมืองแร่ ผู้เขียน อาจินต์ ปัญจพรรค์ สำนักพิมพ์ หมึกจีน เลขมาตรฐานหนังสือ – ตะลุยเหมืองแร่ เป็นหนึ่งในชุดเหมืองแร่ ที่ถูกเล่าผ่านความทรงจำของคุณอาจินต์ .. เมื่อครั้งเป็นเด็กเรียนไม่จบ ต้องดั้นด้นไปหาอาชีพไกลสุดกู่ถึงเหมืองแร่ทางภาตใต้ของประเทศ จากความทรงจำฝังแน่น ถูกถ่ายทอดออกมาเรื่องเล่า .. เรื่องแล้วเรื่องเล่า ไม่อาจทราบว่าหนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่เท่าไรในชุดเหมืองแร่ แต่เนื้อหาก็ค่อนข้างเล่าตั้งแต่ตอนเริ่มต้น ในตอนที่คุณอาจินต์เดินทางลงใต้เพื่อหางานทำ เรื่องราวผิดไปจากภาพยนต์มหาลัยเหมืองแร่ที่เราเคยดูมานิดหน่อย แต่ตัวละครต่างๆ รวมไปถึงกลิ่นอาย บรรยากาศต่างๆ ฯลฯ ภาพยนต์ทำเอาไว้ดีพอสมควรทีเดียว สำหรับเล่มนี้ ภาษาของคุณอาจินต์ยังคงดีงาม ภาษาของเขามีเอกลักษณ์ และเป็นเอกลักษณืที่เราชอบมาก มันสละสลวย มีภาพ มีเรื่อง มีรส ปรากฏอยู่ตรงหน้า เรื่องสุดท้ายที่จบลงในเล่มนี้ คือเรื่องของหอม เนื้อนวล ในตอนที่ชื่อว่า ขาคนมีค่าเท่าไร ซึ่งเป็นเรื่องที่กินใจ สะท้อนใจ และจบได้คาใจมาก เราไม่รอช้า รีบหยิบเหมืองแร่ฉบับสมบูรณ์มาอ่านต่อโดยพลัน จบแล้วจะรีบเล่าต่อนะคะ 🙂

เรื่อง ปรัชยาไส้ ความคิดที่เสียดทานความหิว ผู้เขียน อาจินต์ ปัญจพรรค์ สำนักพิมพ์ สยามอินเตอร์บุ๊คส์ เลขมาตรฐานหนังสือ 9746845837 หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่สองของคุณอาจินต์ที่เราหยิบมาอ่าน หลังจากที่ได้อ่าน แม่น้ำยามศึก จบ แล้วปวารณาตนเป็นแฟนอักษรของคุณอาจินต์ในบัดดล ซื้อหนังสือเล่มต่างๆ ของเขามาสะสม ไว้หลายเล่ม และเพิ่งมีโอกาสหยิบมาทยอยอ่านไปตามลำดับ เนื้อหาแต่ละบท เป็นเพียงบทความสั้นๆ เพราะรวบรวมและคัดเลือกมาจากบทบรรณาธิการนิตยสารฟ้าเมืองไทย ในช่วงปีก่อนเราหลายคนเกิด พ.ศ. 2519 – 2522 สำนวนภาษาบางตอนรุ่มรวยสวยงามอย่างที่เคยชิน แต่ส่วนมากเรียบง่ายธรรมดา เนื้อหานั้นก็เล่าเรื่องทั่วไปที่ผ่านมากระทบใจเพียงสั้นๆ แต่บางเรื่อง อ่านแล้วก็ชวนอึ้ง นอกจากนี้ บางเรื่องยังได้บันทึกภาพวิถีชีวิตของผู้คน ในยุคย่ายาย ยุคที่เรายังไม่ตายจากชาติที่แล้ว เป็นภาพตัดสลับ หนึ่งสั้นๆ เป็นหนึ่งภาพ ผนวกกับบางความทรงจำวัยเด็กจิ๋ว ทำให้เรานึกออกเป็นภาพรางๆ ซึ่งมันช่างดีต่อใจ เป็นเล่มบางๆ จะอ่านรวดเดียวจบอย่างเราก็ได้ หรือจะค่อยๆ ชิมรสบทตอนละวัน ก็จะได้อรรถรสตามฤดูกาลของผู้เขียนที่ถ่ายทอดเอาไว้ในเล่ม เป็นหนังสือที่อ่านได้เพลินๆ จะเอาเรื่องเอารสก็ได้ เป็นสาระ ขบคิดเป็นปรัชญาชีวิตก็ได้ หรือจะอ่านเพื่อพักผ่อน[…]

เรื่อง บ้านหนังสือในหัวใจ ผู้แต่ง ชมัยภร แสงกระจ่าง สำนักพิมพ์ คมบาง ราคา 105 บาท บ้านหนังสือในหัวใจ เป็นหนังสือที่เขียนถึงหนังสือ โดยผู้เขียนผู้หญิง (บ้าง) ;P เล่าเรื่องราวของหนังสือเล่มต่างๆ ในชีวิตของผู้เขียน ผู้เขียนได้แบ่งบ้านหนังสือในหัวใจของตนออกเป็นสีต่างๆ เล่าถึงนักเขียนหลายท่าน หนังสือหลายเล่ม ห้องสีม่วงที่เปิดโลกทัศน์แห่งความลุ่นหลงในสวนอักษร ห้องสีขาว ผ้าขาวแห่งการเริ่มต้นการอ่าน ห้องสีชมพู .. ในเวลาที่ความหวาน (ของตัวหนังสือ) มาเยือน ห้องสีฟ้าแห่งความพริ้ววพรายในบทกลอน ห้องสีเขียวแห่งเรื่องสั้นหลากรส ทรงพลัง ห้องสีเหลือง ที่ลงลึกถึงรายละเอียดแห่งชีวิต ห้องสีดำ งานเขียนที่ซ่อนสัญลักษณ์และต้องการการตีความ ห้องสีแดง ตัวแทนแห่งหนังสือขำขันหรรษา ห้องสีเทา ห้องแห่งวรรณกรรมต่างแดน และห้องสีทอง แห่งธรรมในเรือนใจ ในบทแรก ผู้เขียนแทบจะไม่ได้ลงลึกในหนังสือเล่มใดเลย เล่าถึงหนังสือผ่านๆ เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตที่ได้พานพบกับหนังสือนับไม่ถ้วนมากกว่า แต่ในบทถัดๆ ไป ผู้เขียนได้วิเคราะห์แนวเขียนของนักเขียนแต่ละท่านได้อย่างลึกซึ้ง อาทิเช่น น้อย ชลานุเคราะห์, วรรณสิริ, ชอุ่ม[…]

เรื่อง แม่น้ำยามศึก ผู้แต่ง อาจินต์ ปัญจพรรค์ สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ราคา 200 บาท เป็นครั้งแรกที่หยิบงานเขียนของคุณอาจินต์ขึ้นมาอ่านค่ะ พออ่านจบ ก็ประทับตราเอาไว้ในหัวใจเลยว่า คงต้องหาผลงานของนักเขียนคนนี้มาอ่านอีกให้ได้ ไม่รู้ว่าเล่มอื่นเป็นยังไงนะคะ แต่แม่น้ำยามศึกเป็นหนังสือที่ดีมากๆๆๆๆๆๆ เมื่อเปิดเล่ม เราเข้าใจ (เอาเอง) ว่ามันคงเป็นนิยายสักเรื่อง มีพระเอก นางเอก ดำเนินชีวิตไปควบคู่กับวิถีชีวิตริมแม่น้ำสายหนึ่ง แต่แท้จริงแล้ว นิยายเรื่องนี้ถูกเขียนขึ้นคล้ายกับอัตชีวประวัติของผู้เขียนค่ะ ถ้าพูดให้ถูก ก็น่าจะเป็นการเล่าภาพเหตุการณ์- อันคล้ายคลึงกับความทรงจำที่ผ่านมากของผู้เขียน เกร็ดเสี้ยวประวัติศาสตร์ที่ผู้เขียนเห็นผ่านตามาจริงๆ มันสด มันจริง กว่าเรื่องแห้งที่ถ้าผู้เขียนไม่เคยเห็น เลยต้องเอาจากหนังสือมาเล่า ตัวละครมากมายโลดแล่นอยู่ในเล่มนี้ ทุกคนต่างผลัดกันเป็นพระเอกนางเอกในนิยายชีวิตของตน เขียนได้สมจริงขนาดที่ว่า ขณะอ่าน เราคิดจะวางหนังสือแล้วเดินไปซื้อโอวัลตินที่ร้านเจ๊กไบ๊ เดินไปฟังหมดสนั่นกับครูชื่นถกกันเรื่องสงคราม บางที อาจได้ฟังตาเขียวกับตาถึกเถียงกันอยู่หน้าโรงฝิ่น ฯลฯ แม่น้ำยามศึก เป็นเรื่องเล่าของชีวิตคนในชุมชนริมแม่น้ำยามสงคราม เป็นยุคของสงครามโลกครั้งที่ 2 (ยุคที่แม่พลอย (สี่แผ่นดิน) แก่ไล่ๆ กับตาเขียว[…]