ของเก่าเราลืม ชุดเรื่อง ลำคู รูคลองผู้แต่ง สรศัลย์ แพ่งสภาสำนักพิมพ์ พี.วาทิน พลับลิเคชั่น จำกัดเลขมาตรฐานหนังสือ – แซ่บตั้งแต่เริ่มอ่านเลยทีเดียวผู้เขียนสามารถเอาคำว่า บรรลัยจักรเข้าไปใส่ในคำนำได้อย่างหน้าตาเฉยภายในเล่มก็เล่าได้เสียดสี ประชดประชันถึงใจ .. สำนวนแสบสันต์ ดุเด็ดเผ็ดมันส์จนหลงลืมตัวไปว่านี่เรากำลังอ่านหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์!   ลำคู รูคลอง เล่มนี้ไม่ได้เล่าเรื่องแม่น้ำลำคลองแต่อย่างเดียวแต่เล่าประวัติศาสตร์ผ่านประสบการณ์ของผู้เขียน (พ.ศ. 2463 – 2552)ชื่อ ลำคู รูคลอง เป็นเพียงบทหนึ่งในเรื่องราวทั้งหมด(ภายในเล่มใช้ชื่อว่า ลำคู ลำคลอง) ผู้เขียนเปิดด้วยบทแรกที่กระตุกอารมณ์ให้ฮึกเหิม คึกคัก ตั้งแต่แรกอ่านเล่าเรื่องเบื้องลึกเบื้องหลังของการเดินขบวนเรียกร้องดินแดนแถบฝั่งตะวันออกคืนจากประเทศฝรั่งเศส ในยุคสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงครามเล่าผ่านประสบการณ์ของผู้เขียน ซึ่งเป็นนิสิต คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ อยู่ในเวลานั้น นอกจากนั้น ผู้เขียนยังเล่าเรื่องยุวชนทหารเรื่องลูกเสือ พ่วงเรื่องงานฉลองรัฐธรรมนูญ และการประกวดนางงามเล่าเรื่องรถม้า ควบเรื่องการตัดถนนยุคแรกๆ เล่าเรื่องถนนเจริญกรุง เฟื่องนคร ฯลฯเล่าถึงช้างที่ชื่อว่าพลายมงคลซึ่งเราว่าน่าจะเป็นช้างเดียวกันกับ ช้างพลายมงคลผู้อาภัพ ที่เคยอ่านตอนเด็กๆเล่าเรื่องน้ำประปา เรื่องถนน เรื่องคลอง เรื่องเรือโดยสารสมัยนั้นเล่าเรื่องเครื่องบิน และการถือกำเนิดกองทัพอากาศไทยเล่าเรื่องมหกรรมการคล้องช้างที่รัฐบาลจัดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 8 ฯลฯในมุมที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตของผู้เขียนเองป็นส่วนมากที่อ่านจากหนังสือประวัติศาสตร์เล่มอื่นแล้วเอามาเล่าต่อก็มีบ้างแต่เล่าด้วยสำนวนเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์ของผู้เขียนเองทำให้หนังสือเล่มนี้ไม่ซ้ำกับหนังสือเล่มไหนๆ ตอนที่เราอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ยุคสงครามก็ปลุกใจฮึกเหิมให้รักชาติกันไปแต่พอมาอ่านประวัติศาสตร์เล่าเรื่องเมืองเก่าของเราแต่ก่อนแบบนี้มันชวนให้ปลงว่าไม่มีสิ่งใดจีรังสิ่งของใดเคยมีค่าเหลือคณา[…]

สารคดีวิถีชีวิตคนไทยสมัยโบราณเรื่อง ชีวิตตามคลองผู้แต่ง ส.พลายน้อยสำนักพิมพ์ สายธารเลขมาตรฐานหนังสือ 9748468372 เมื่อตอนที่อ่าน ชีวิตของประเทศ ของคุณวิษณุ เครืองามคุณวิษณุได้เล่าถึงคลองและการขุดคลองสายต่างๆ ในกรุงเทพฯ เอาไว้มากมายหลายคลองมีเรื่องราวที่น่าสนใจ มีประวัติในการขุดเพื่อการต่างๆ เชื่อมโยงชุมชนโบราณต่างๆซึ่งยังปรากฏชื่ออยู่จนทุกวันนี้ แต่มีหน้าตาต่างไปจากที่เราเคยรู้จักคลองสำเพ็ง เป็นคลองที่เรานึกหน้าตาไม่ออก ทั้งๆ ที่ไปสำเพ็งออกบ่อยคลองต่างๆ รอบเกาะรัตนโกสินทร์ยิ่งฟังดูไม่คุ้นหู นึกภาพไม่ออกทั้งๆ ที่เคยเดินรอบสนามหลวง และไปยังสนามที่ต่างๆ แถวนั่นมาไม่รู้กี่รอบหนังสือเล่มนี้ช่วยให้ความรู้เรื่องคลองเพิ่มเติมแก่เราหลังจากที่ ชีวิตของประเทศ เคยจุดประกายความสนใจไว้ ชีวิตตามคลอง ให้ภาพและเรื่องที่ละเอียดกว่าเพราะเจาะจงเล่าเรื่องคลองโดยเฉพาะซึ่งอ่านสนุกมาก มีทั้งภาพประกอบโบราณแต่คมชัดเราประทับใจภาพประกอบมากมันทำให้เรานึกภาพตามคำบรรยายได้ชัดเจนขึ้น ผู้เขียนเล่าถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องคลองต่างๆ ในกรุงเทพฯคนแก่ๆ อ่านเรื่องเก่าๆ แล้วนึกภาพตามนึกออกบ้างไม่ออกบ้างตามประสบการณ์ของแต่ละคนแต่ที่แน่ๆ อ่านจบแล้วอยากไปทริปนั่งเรือเที่ยวคลองย่านกรุงธนฯ กรุงเทพฯ เสียจริงๆเที่ยวไป เปิดหนังสือเป็นไกด์บุ๊คไปด้วย คงฟินไม่น้อย นอกจากเรื่องคลอง ผู้เขียนเล่าเรื่องตลาดเรือตลาดน้ำก็สนุกมากบรรยายข้าวของต่างๆ ที่ขนมาขายในเรือ ทั้งของใช้ของกินละเอียดลออโดยเฉพาะของกิน อ่านดึกๆ มีหิวได้เหมือนกัน(เราเป็นมนุษย์ผู้โดนตกได้ทั้งทาง fb ig และแม้กระทั่งอ่านหนังสือ >,<) ถ้าชอบอ่าน เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กเชื่อได้เลยว่าคุณจะถูกใจสิ่งนี้ ^^