สามก๊ก ลำดับ 2เรื่อง สามก๊กบนเส้นขนานผู้แต่ง วินทร์ เลียววาริณสำนักพิมพ์ 113เลขมาตรฐานหนังสือ 9786164789913 สามก๊กบนเส้นขนาน จับเรื่องราวบางช่วงของสามก๊กมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทยนับเริ่มตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ไปจนถึงช่วงท้ายของเล่มเป็นเหตุการณ์สดใหม่ ร่วมสมัย ที่เราเกิดทัน แต่ไม่เคยรู้ตื้นลึกหนาบางใดๆผู้เขียนสรุปเหตุการณ์โดยไม่ได้ตัดสินถ่ายทอดเป็นบทตอน ไม่ต่อเนื่องกันนัก (ยกเว้นบางบท)จะอ่านเพียงบทเดียว ก็ได้น้ำได้เนื้อแต่ถ้าอ่านติดต่อกันไปตั้งแต่ต้นจนจบก็จะได้เห็นภาพโครงสร้างระบอบการปกครองและได้เห็นสาระบางอย่างที่ผู้เขียนตั้งใจจะบอก ย้ำซ้ำในหลายบท โดยความชอบส่วนตัวเราว่า สามก๊กบนเส้นขนาน เล่มนี้อ่านง่ายกว่า สามก๊ก ลำดับแรกของผู้เขียนด้วยฉากและตัวละคร (นักการเมืองชื่อดังแห่งสยามประเทศ) เป็นที่คุ้นเคยกันดีโดยเฉพาะเหตุการณ์ในช่วงที่เราเกิดทัน จะอ่านไปได้ไวมาก ต้องบอกกันก่อนว่าเราไม่ใช่คอการเมืองแม้จะอยู่ร่วมสมัย แต่ก็ไม่เคยเสาะแสวงหา ขุดคุ้ยความจริง (ทางการเมือง) ใดๆทำให้เรารู้เรื่องราวต่างๆ อย่างผิวเผิน .. จนบางที ไม่รู้ไม่สนใจด้วยซ้ำเราเพิ่งจะมาเข้าใจเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบหลายๆ อย่าง จากคำอธิบายของผู้เขียนผู้เขียนอธิบายกลไกการจำนำข้าวให้เราเข้าใจได้ด้วยประโยคไม่กี่ประโยคได้เข้าใจว่าทำไมทักษิณจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คนไทยแตกแยกกันขนาดนั้นฯลฯ ผู้เขียนใช้วิธีเล่าอย่างห้วน สั้น จนบางครั้งก็ขาดความเข้มข้น (เหมือนกันนะ)แบบที่ได้จากการอ่านนวนิยายอิงการเมืองเรื่องอื่นๆ ของผู้เขียนเองว่าด้วยเรื่องสามก๊กที่นำมาเปรียบเทียบ .. หลายเหตุการณ์เล่าซ้ำกันกับ สามก๊ก ฉบับวินทร์ เลียววาริณ ที่เพิ่งอ่านจบไปเรื่องที่นำมาเปรียบเทียบ บางเรื่องเป็นเรื่องที่เรานึกถึงเหมือนกันตอนอ่านเล่มแรกแต่บางเรื่อง ก็ยังดูจับคู่กันไม่พอดี อ่านแล้วไม่อิน แต่โดยรวม สามก๊กบนเส้นขนาน ก็ยังนับว่าเป็นหนังสือที่น่าอ่านเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่อยากรู้อะไรเร็วๆ[…]

เรื่อง ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัยผู้แต่ง คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตรสำนักพิมพ์ มติชนเลขมาตรฐานหนังสือ 9789740212652 ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย ไม่ได้เป็นเพียงหนังสือประวัติศาสตร์ไทยแต่มันคือหนังสือประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์ การเมือง และการปกครองของไทยซึ่งถูกเขียนขึ้นจากผู้เขียนคู่สามีภรรยานักวิชาการสองคนโดยสามี คริส เบเคอร์ เป็นชาวอังกฤษ และภรรยา ผาสุก พงษ์ไพจิตร ชาวไทยการเขียนหนักสือเล่มนี้ครั้งแรกถูกเขียนขึ้นเป็นภาษาอังกฤษเพื่อใช้เป็นตำราเรียนให้กับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และได้รับการแปลเป็นภาษาไทยในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่องของคำว่าชาติไทย – ในนิยามต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งอดีต ก่อนที่ไทยจะรวมเป็นประเทศเมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์ชาติไทย คือเริ่มต้นเล่าอย่างจริงจังในสมัยอยุธยาถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นการเล่าอย่างสรุปรวม ไปอย่างเร็วๆและเล่าทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ ภูมิประเทศ และรูปแบบการปกครอง หลายข้อมูลจากในเล่มนี้เป็นข้อมูลที่เราไม่เคยอ่านเจอมาก่อนทั้งๆ ที่ช่วงนี้ก็อ่านหนังสือประวัติศาสตร์ติดต่อกันมาหลายเล่มอาจเป็นข้อมูลจากหนังสือเล่มที่เรายังไม่เคยอ่านหรืออาจเป็นข้อมูลจากบันทึกชาวต่างชาติ เป็นมุมมองจากชนชาติอื่นที่ได้บันทึกไว้หลายตอน เป็นการสรุปผลผ่านวิจารณญาณของผู้เขียน ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เล่าประวัติศาสตร์ไทยและภูมิภาคใกล้เคียงตั้งแต่ครั้งเริ่มตั้งชุมชนริมแม่น้ำ ก่อนสมัยสุโขทัย .. อย่างคร่าวๆในช่วงนี้ผู้เขียนไม่ได้เล่าเรียงไทม์ไลน์ เล่าย้อนไปย้อนมาน่าเข้าใจผิดมีการตีความในแบบที่เราไม่คุ้นเคย แปลกๆ ดี การเล่าถึงประวัติศาสตร์ไทยในช่วงต้น ผู้เขียนเล่าไปอย่างเร็วๆอาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงในยุคก่อนเกิดขึ้นช้าต่อเมื่อคืบหน้ามาในยุคที่่ใกล้เคียงกับปัจจุบัน รายละเอียดก็เพิ่มมากขึ้นประวัติศาสตร์ไทยในช่วง 200 ปีล่าสุดนี้ถูกเล่าถึงอย่างเข้มข้น สำหรับเรา เรามองว่า ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เป็นหนังสือประวัติศาสร์ที่สรุปมาแล้วผ่านการวิเคราะห์ตีความจากผู้เขียนมาแล้วไม่ได้เป็นข้อมูลดิบ หรือเป็นบันทึกโดยตรงจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หนังสือที่ใช้อ้างอิง ก็ไม่ใช่หลักฐานบันทึกดั้งเดิมเป็นเพียงหนังสือที่ถูกผู้เขียนยุคหลังๆ วิเคราะห์และเขียนขึ้นเช่นกัน[…]