เรื่อง ในครึ่งที่ยังว่าง ของกระเป๋าเดินทางสีฟ้าผู้แต่ง ฟูมิเอะ คนโดผู้แปล กนกวรรณ เกตุชัยมาศสำนักพิมพ์ ซันเดย์ อาฟเตอร์นูนสำนักพิมพ์ในเครือ ไต้ฝุ่นสตูดิโอเลขมาตรฐานหนังสือ 9786167144740 ในครึ่งที่ยังว่าง ของกระเป๋าเดินทางสีฟ้า เล่าเรื่องการเดินทางที่เกิดขึ้นรอบๆ กระเป๋าเดินทางสีฟ้าใบหนึ่ง มันเป็นแกนสำคัญของเรื่องเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น ถูกส่งผ่านจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งด้วยกระเป๋าพิเศษใบนี้ หนังสือเริ่มเรื่องอย่างเนิบๆ (ถ้าเทียบกับ คาเฟ่ลูส เมนูที่รักจากการเดินทาง) มันเริ่มต้นขึ้นในวันที่แก๊งเพื่อนสี่สาว มามิ ยูริกะ ฮานาเอะ และยูโกะนัดพบกันที่ตลาดฟลีมาร์เก็ตในสวนแห่งหนึ่งหญิงสาวทั้งสี่อยู่ในวัยกำลังสร้างครอบครัวต่างคนต่างมีฝัน และมีบุคลิกลักษณะนิสัยแตกต่างกันไปแต่ถึงอย่างนั้น ทุกคนก็เป็นเพื่อนสนิทกันมาตั้งแต่สมัยเรียน ในระหว่างนั้นเอง มามิได้พบกระเป๋าเดินทางสีฟ้าใบหนึ่งวางขายอยู่ในตลาดนั้นด้วยความฝันความหวังในส่วนลึกผลักดันให้เธอตัดสินใจซื้อกระเป๋าใบนั้นมาทั้งที่ยังไม่มีแผนการเดินทางใดๆ ..แต่นั่นแหละ แล้วการเดินทางก็เกิดขึ้น .. มันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกส่งผ่านจากคนต่อคนมาอย่างเรื่อยๆเรื่องราวประทับใจมากมายเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางเหล่านั้น เรื่องราวดำเนินไปเรื่อยๆ อย่างเนิบช้าในขณะที่เรากำลังรู้สึกเฉยๆ กับหนังสือเล่มนี้หารู้ไม่ว่ากำลังตกอยู่ภายใต้อำนาจการชักจูงของผู้เขียนมันเป็นพล็อตเรื่องที่ละเอียดลออในทุกเรื่องที่เล่า ผู้เขียนค่อยๆ เติมเต็มทุกแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับกระเป๋าเดินทางสีฟ้าใบนี้จากที่เนิบๆ ก็กลับมาพีคเอาช่วงหลังๆ นี่เอง(ถ้าเป็นเรื่องของครอบครัวทีไร มักจะสัมผัสหัวใจเราได้เสมอโดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก) ยิ่งไปกว่านั้น ตอนที่เราคิดว่าเรื่องควรจะจบลงได้แล้วผู้เขียนก็ยังไปต่อได้อีก และได้อีกเมื่อถึงตอนจบเข้าจริงๆ เรายอมรับเลยว่ามันเป็นตอนจบที่เต็มอิ่ม สมบูรณ์แล้ว พิจารณาจากชื่อหนังสือ .. ในครึ่งที่ยังว่าง ของกระเป๋าเดินทางสีฟ้าอีกครึ่งหนึ่งที่ว่างอยู่ คงจะเหลือเผื่อเอาไว้สำหรับประสบการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินทางมันบรรจุเอาความสุข ความทุกข์[…]

เรื่อง พม่ารำลึกผู้แต่ง จอร์จ ออร์เวลล์ผู้แปล บัญชา สุวรรณานนท์สำนักพิมพ์ ไต้ฝุ่นเลขมาตรฐานหนังสือ 9786167144429 อ่าน พม่ารำลึก เล่มนี้ ต้องถอดตัวเองออกจากหนังสือให้ได้ก่อนเราต้องเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์อย่าเอาตัวเองไปผูกติดกับตัวละครใดตัวละครหนึ่งหรือความรู้สึกใดความรู้สึกหนึ่ง เรื่องของเรื่องก็คือผู้เขียนเปิดเรื่องด้วยการเปิดตัวละครชาวพม่าคนหนึ่ง นามว่าอูโพจีงอูโพจีงเป็นชายวัยใกล้เกษียณที่ผ่านชีวิตข้าราชการพม่า (ภายใต้การปกครองของอังกฤษ)มาด้วยเล่ห์กระเท่ห์ คดโกง ฉ้อราษฎร์บังหลวง สับปลับ กินสินบนเรียกได้ว่าถ้าอินกับอีตานี่ตั้งแต่ต้นเล่ม เราไม่มีทางไปไหนรอด!! หลังจากที่รวบรวมสติและสมาธิ ยับยั้งความเกลียดที่มีต่ออูโพจีงได้แล้วก็มาเริ่มอ่านด้วยกันค่ะ ;P ฉากหลังของ พม่ารำลึก เล่มนี้ ช่วยบันทึกชีวิตของชาวยุโรปโดยเฉพาะชาวอังกฤษที่ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศพม่าในช่วงที่พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ (ราวปี ค.ศ. 1922 – 19277) ผู้เขียนบรรยายฉากและเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างละเอียดลออรวมไปถึงความคิด ค่านิยม อันเป็นสามัญของคนสมัยนั้น ผู้เขียนเล่าถึงสังคมคนอังกฤษทั้งมิสเตอร์ฟลอรี่ พ่อค้าไม้ซุง เจ้าของเรื่องราวทั้งหมดในเล่มนี้นายแม็กเกรเกอร์ รองผู้แทนข้าหลวงแห่งเมือง เจ้าก์ตะดานายเวสต์ฟิลด์ ผู้กำกับการตำรวจนายแล็กเคอร์สตีน ผู้จัดการของบริษัทป่าไม้นายเอลลิส ผู้จัดการของบริษัทป่าไม้อีกบริษัทหนึ่งและนายแม็กซ์เวลล์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ฯลฯที่พบปะสังสรรค์กันอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆทนคบกันไปอย่างแกนๆ แบ่งฝ่ายทะเลาะกันเองบ้างรวมกลุ่มกันเหยียดเจ้าถิ่นชาวพม่าบ้าง .. ก่อนที่เราจะบูชาสิทธิและเสรีภาพกันอย่างเต็มขั้นเช่นทุกวันนี้ครั้งหนึ่ง ไม่ใกล้ไม่ไกลจากนี้ ย้อนหลังไปร้อยกว่าปีคนอังกฤษเคยดูถูกเหยียดหยามคนท้องถิ่น (พม่าและอินเดีย)เอาไว้ด้วยความรังเกียจเดียดฉันท์ถึงเพียงนี้ เมืองเจ้าก์ตะดา[…]

เรื่อง เรื่องวิปลาสของด็อกเตอร์จีคอลกับมิสเตอร์ไฮด์ ผู้แต่ง โรเบิร์ต ลูอิส สตีเวนสัน ผู้แปล ก้อง พาหุรักษ์ สำนักพิมพ์ ไต้ฝุ่นสตูดิโอ เลขมาตรฐานหนังสือ 9786167144290 อ่าน  เรื่องวิปลาสของด็อกเตอร์จีคอลกับมิสเตอร์ไฮด์ จบลงด้วยความรู้สึกกึ่มๆ ไม่อยากจะเล่าอะไรเยอะเลย เพราะยากเหลือเกินที่จะเล่าโดยไม่สปอยล์ (ถึงอย่างนั้นก็หาสปอยล์อ่านได้เต็มโลกออนไลน์) แม้วิธีเล่าเรื่องจะไม่ค่อยสนุกเท่าไร (เพราะอาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญในยุคนั้น) แต่พล็อตสนุกดี พล็อตล้ำมาก ถ้าบอกว่ามันถูกเขียนขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2429 ถ้าได้อ่านตั้งแต่ปีนั้น คงจะประทับใจน่าดู แต่เมื่อมาอ่านใน พ.ศ.นี้ ก็ไม่แปลกที่ใครจะพอเดาเค้าโครงเรื่องได้ (อันที่จริงพล็อตแบบนี้ก็ยังถูกหยิบมาใช้อยู่บ่อยครั้งในยุคหลังๆ) เสียดายนิดหน่อยที่วิธีเล่าทำให้เรื่องนี้ไม่สนุกเท่าที่ควร ถึงอย่างนั้น สิ่งที่ผู้เขียนแฝงเอาไว้ในเรื่อง ก็ชวนให้ครุ่นคิดถึงตัวตนของเรา เนื้อหายังคงทันสมัยแม้หยิบมาพูดกันในยุคนี้

เรื่อง ชายชราและทะเล ผู้แต่ง เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ ผู้แปล วาด รวี สำนักพิมพ์ ไต้ฝุ่น เลขมาตรฐานหนังสือ 9786167144399 สำหรับหนังสืออภิมหาซุปเปอร์คลาสสิกเล่มนี้ เป็นหนังสือที่มีทั้งเรื่องย่อ ทั้งสปอยล์ เล่าเอาไว้เต็มโซเชียลมีเดียไปหมด (อาจจะในชื่ออื่น อย่างเช่น เฒ่าทะเล, เฒ่าผจญทะเล ฯลฯ) ชายชราและทะเล เป็นเพียงเรื่องสั้นยาวๆ ที่ไม่มีอะไรมาก เรื่องราวของชาวประมงชราที่ล่าปลาไม่ได้ติดกันเป็นเดือนแล้ว เรื่องอดอยากไม่อาจทำร้ายแก และคำล้อเลียนของเพื่อนชาวประมง (รุ่นลูกรุ่นหลาน) ก็ไม่อาจทำร้ายแกด้วยเช่นกัน แกไม่ได้เด็ดเดี่ยว ยืนหยัดต่อสู้เพื่อเอาชนะคำสบประมาทอะไร ยังคงใช้ชีวิตชาวประมงชิลด์ๆ ไปในแต่ละวัน และเพราะมันเป็นเรื่องสั้นๆ (ที่มีคำนิยมในด้านการใช้คำกระชับเป็นเลิศ) เมื่อเกริ่นนำมาได้สักหน่อย ผู้เขียนก็พาเราเข้าสู่ฉากออกทะเลกันเลย ไฮไลต์ของเรื่องก็อยู่ที่ฉากล่าปลาของลุงซานติอาโกนี่แหละ ที่ต่อให้มีสักพันสปอยล์ .. เล่ายังไงก็ไม่สามารถเล่าอรรถรสแห่งฉากนี้ได้เท่าอ่านเอง แต่เอาเข้าจริงๆ เราก็ไม่ได้ระทึกอะไรกับฉากนี้เท่าไรนะ โดยรวมๆ เราไม่ได้รู้สึกว่ามันดีเลิศเลอ (อาจเป็นเพราะเราเข้าไม่ถึงเอง) แต่มันก็ไม่ได้แย่เท่าวรรณกรรมคลาสสิคอื่นๆ บางเล่ม .. มันอยู่ในระดับกลางๆ สำหรับเรา อ่านได้ เพลินๆ สนุกดี แต่ไม่อ่านชีวิตก็ไม่ได้พลาดอะไรไป[…]

เรื่อง ประวัติศาสตร์ปรัชญา ฉบับกะทัดรัด ผู้แต่ง ไนเจล วอร์เบอร์ตัน ผู้แปล ปราบดา หยุ่น และรติพร ชัยปิยะพร สำนักพิมพ์ ไต้ฝุ่น ราคา 320 บาท เชื่อว่า ในช่วงที่เราเริ่มเป็นวัยรุ่น หลายคนคงเคยครุ่นคิดถึงความเป็นตัวเอง คิดถึงความเป็นมนุษย์ คิดหาคำตอบเกี่ยวกับการเกิด การมีชีวิต การตาย และชีวิตหลังความตาย ไม่รู้คนอื่นเป็นหรือเปล่า แต่สำหรับเรา .. เมื่อเติบใหญ่ขึ้น ช่วงเวลาแบบน้อยค่อยๆ ลดลงและหายไป หนังสือเล่มนี้ ดึงเรากลับมาถกปัญหานั้นอีกครั้ง .. เราได้คุยกับตัวเอง .. นั่งอ่านไป ก็ทะเลาะกับตัวหนังสือไป ถก เถียง คัดค้าน หรือไม่ก็นั่งพยักหน้าหงึกๆ เห็นด้วย นานมาแล้วที่เราไม่ได้มานั่งวิเคราะห์ ทบทวนตัวเอง เราโตขึ้น และข้างในของเราก็เปลี่ยนแปรไปตลอดเวลา เป็นการดีไหม .. ถ้ามีสักช่วง ที่เราจะกลับมาตรวจสอบสภาพจิตใจ ตรวจวัดความนึกคิด ความคิดเห็นที่เรามีต่อสิ่งต่างๆ[…]