เรื่อง ทาร์ตตาแต็งแห่งความฝัน ผู้แต่ง ฟูมิเอะ คนโด ผู้แปล กนกวรรณ เกตุชัยมาศ สำนักพิมพ์ ซันเดย์ อาฟเตอร์นูน สำนักพิมพ์ในเครือ ไต้ฝุ่นสตูดิโอ เลขมาตรฐานหนังสือ 9786167144771 อยู่ๆ ก็กลายเป็นแฟนคลับของ ฟูมิเอะ คนโด คนนี้ไปโดยไม่รู้ตัว จากเล่มแรก คาเฟ่ลูส เมนูที่รักจากการเดินทาง เมื่ออ่านจบ ก็กลายเป็น “หนังสือที่รักจากการอ่าน” ไปโดยพลัน มาต่อกันที่เล่มที่สอง ในครึ่งที่ยังว่าง ของกระเป๋าเดินทางสีฟ้า ที่อ่านจบแล้วชอบน้อยกว่าเล่มแรกหน่อย แต่รักในการวางพล็อตอันน่าทึ่งในเล่มนี้ กับเล่มที่สาม ทาร์ตตาแต็งแห่งความฝัน เล่มใหม่ล่าสุดของผู้เขียน ที่เพิ่งถูกแปลเป็นภาษาไทย เรารีบกด pre-order ไปโดยไม่รอรีวิวใดๆ และตอนนี้ .. เราก็อ่านมันจบแล้วค่ะ เย่ๆ >,< ทาร์ตตาแต็งแห่งความฝัน เป็นเล่มที่ผู้เขียนย้อนกลับมาเล่าเรื่องของร้านอาหารอีกครั้ง โดยที่ชื่อหนังสือนี้ ก็เป็นเพียงชื่อของตอนหนึ่งในเล่ม และคำว่าทาร์ตตาแต็ง ก็คือทาร์ตแอปเปิ้ลนั่นเอง ในครั้งนี้ ผู้เขียนสร้างฉากขึ้นมาในร้านอาหารฝรั่งเศส ที่มีชื่อว่า[…]

เรื่อง ในครึ่งที่ยังว่าง ของกระเป๋าเดินทางสีฟ้าผู้แต่ง ฟูมิเอะ คนโดผู้แปล กนกวรรณ เกตุชัยมาศสำนักพิมพ์ ซันเดย์ อาฟเตอร์นูนสำนักพิมพ์ในเครือ ไต้ฝุ่นสตูดิโอเลขมาตรฐานหนังสือ 9786167144740 ในครึ่งที่ยังว่าง ของกระเป๋าเดินทางสีฟ้า เล่าเรื่องการเดินทางที่เกิดขึ้นรอบๆ กระเป๋าเดินทางสีฟ้าใบหนึ่ง มันเป็นแกนสำคัญของเรื่องเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น ถูกส่งผ่านจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งด้วยกระเป๋าพิเศษใบนี้ หนังสือเริ่มเรื่องอย่างเนิบๆ (ถ้าเทียบกับ คาเฟ่ลูส เมนูที่รักจากการเดินทาง) มันเริ่มต้นขึ้นในวันที่แก๊งเพื่อนสี่สาว มามิ ยูริกะ ฮานาเอะ และยูโกะนัดพบกันที่ตลาดฟลีมาร์เก็ตในสวนแห่งหนึ่งหญิงสาวทั้งสี่อยู่ในวัยกำลังสร้างครอบครัวต่างคนต่างมีฝัน และมีบุคลิกลักษณะนิสัยแตกต่างกันไปแต่ถึงอย่างนั้น ทุกคนก็เป็นเพื่อนสนิทกันมาตั้งแต่สมัยเรียน ในระหว่างนั้นเอง มามิได้พบกระเป๋าเดินทางสีฟ้าใบหนึ่งวางขายอยู่ในตลาดนั้นด้วยความฝันความหวังในส่วนลึกผลักดันให้เธอตัดสินใจซื้อกระเป๋าใบนั้นมาทั้งที่ยังไม่มีแผนการเดินทางใดๆ ..แต่นั่นแหละ แล้วการเดินทางก็เกิดขึ้น .. มันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกส่งผ่านจากคนต่อคนมาอย่างเรื่อยๆเรื่องราวประทับใจมากมายเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางเหล่านั้น เรื่องราวดำเนินไปเรื่อยๆ อย่างเนิบช้าในขณะที่เรากำลังรู้สึกเฉยๆ กับหนังสือเล่มนี้หารู้ไม่ว่ากำลังตกอยู่ภายใต้อำนาจการชักจูงของผู้เขียนมันเป็นพล็อตเรื่องที่ละเอียดลออในทุกเรื่องที่เล่า ผู้เขียนค่อยๆ เติมเต็มทุกแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับกระเป๋าเดินทางสีฟ้าใบนี้จากที่เนิบๆ ก็กลับมาพีคเอาช่วงหลังๆ นี่เอง(ถ้าเป็นเรื่องของครอบครัวทีไร มักจะสัมผัสหัวใจเราได้เสมอโดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก) ยิ่งไปกว่านั้น ตอนที่เราคิดว่าเรื่องควรจะจบลงได้แล้วผู้เขียนก็ยังไปต่อได้อีก และได้อีกเมื่อถึงตอนจบเข้าจริงๆ เรายอมรับเลยว่ามันเป็นตอนจบที่เต็มอิ่ม สมบูรณ์แล้ว พิจารณาจากชื่อหนังสือ .. ในครึ่งที่ยังว่าง ของกระเป๋าเดินทางสีฟ้าอีกครึ่งหนึ่งที่ว่างอยู่ คงจะเหลือเผื่อเอาไว้สำหรับประสบการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินทางมันบรรจุเอาความสุข ความทุกข์[…]

เรื่อง คาเฟ่ลูส เมนูที่รักจากการเดินทางผู้แต่ง ฟูมิเอะ คนโดผู้แปล กนกวรรณ เกตุชัยมาศสำนักพิมพ์ ซันเดย์ อาฟเตอร์นูนสำนักพิมพ์ในเครือ ไต้ฝุ่นสตูดิโอเลขมาตรฐานหนังสือ 9786167144689  คาเฟ่ลูส เมนูที่รักจากการเดินทาง เล่าเรื่องราวของนาระ เอโกะพนักงานออฟฟิศสาววัยสามสิบ ที่ใช้ชีวิตโดดเดี่ยวอยู่ในห้องพักความโดดเดี่ยวที่ว่านี้ไม่ได้เศร้าหมองเกินไปนักอาจจะกดดันหน่อยๆ จากค่านิยมทางสังคมแต่โดยรวมเธอมีความสุขกับชีวิตโสดดี จวบจนกระทั่งวันหนึ่ง .. ที่เธอบังเอิญขี่จักรยานผ่านร้านคาเฟ่แห่งหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลบ้านนักความสุขที่ว่า .. จึงเปิดขยายกว้างออกไปอีกนิด คาเฟ่ลูส เป็นคาเฟ่ขนาดเล็กที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นร้านที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น เป็นกันเอง และนั่งสบายเมนูในร้าน เกิดจากแรงบันดาลใจในการเดินทาง –ของคูซูอิ มาโดกะ เจ้าของร้าน และผู้ดูแลร้านเพียงคนเดียวเมนูในร้านจะถูกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามวาระโอกาส และตามฤดูกาลอันเหมาะสม เอโกะตกหลุมรักร้านนี้ตั้งแต่ในครั้งแรกที่เธอมาแล้วเรื่องราวต่างๆ รอบตัวเธอ และเจ้าของคาเฟ่ก็ค่อยๆ ถูกเล่าให้เราฟังทีละเรื่อง ทีละเรื่อง 🙂 ส่วนผสมระหว่างเรื่องเล่าของขนมแปลกๆและเรื่องราวรอบๆ ตัวเอโกะ ผสานเข้ากันลงตัวพอดีเรื่องราวเรื่อยๆ เรียบๆแต่มีเสน่ห์เล็กๆ น้อยๆ แทรกอยู่ตลอดความอบอุ่นของคาเฟ่ ก็ไปกันได้ดีกับความละมุนของโทนเรื่องเป็นหนังสือที่มีรสชาติกลมกล่อมและเชื่อว่าหลายคนที่ได้อ่าน คงอยากจะมีคาเฟ่แบบนี้อยู่ใกล้ๆ บ้านเป็นแน่ แปลกดี ทั้งที่ดำเนินเรื่องเรียบๆ เรื่อยๆ ไม่ได้หวือหวาแต่เรากลับรำพึงกับตัวเองเป็นระยะ[…]

เรื่อง พม่ารำลึกผู้แต่ง จอร์จ ออร์เวลล์ผู้แปล บัญชา สุวรรณานนท์สำนักพิมพ์ ไต้ฝุ่นเลขมาตรฐานหนังสือ 9786167144429 อ่าน พม่ารำลึก เล่มนี้ ต้องถอดตัวเองออกจากหนังสือให้ได้ก่อนเราต้องเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์อย่าเอาตัวเองไปผูกติดกับตัวละครใดตัวละครหนึ่งหรือความรู้สึกใดความรู้สึกหนึ่ง เรื่องของเรื่องก็คือผู้เขียนเปิดเรื่องด้วยการเปิดตัวละครชาวพม่าคนหนึ่ง นามว่าอูโพจีงอูโพจีงเป็นชายวัยใกล้เกษียณที่ผ่านชีวิตข้าราชการพม่า (ภายใต้การปกครองของอังกฤษ)มาด้วยเล่ห์กระเท่ห์ คดโกง ฉ้อราษฎร์บังหลวง สับปลับ กินสินบนเรียกได้ว่าถ้าอินกับอีตานี่ตั้งแต่ต้นเล่ม เราไม่มีทางไปไหนรอด!! หลังจากที่รวบรวมสติและสมาธิ ยับยั้งความเกลียดที่มีต่ออูโพจีงได้แล้วก็มาเริ่มอ่านด้วยกันค่ะ ;P ฉากหลังของ พม่ารำลึก เล่มนี้ ช่วยบันทึกชีวิตของชาวยุโรปโดยเฉพาะชาวอังกฤษที่ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศพม่าในช่วงที่พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ (ราวปี ค.ศ. 1922 – 19277) ผู้เขียนบรรยายฉากและเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างละเอียดลออรวมไปถึงความคิด ค่านิยม อันเป็นสามัญของคนสมัยนั้น ผู้เขียนเล่าถึงสังคมคนอังกฤษทั้งมิสเตอร์ฟลอรี่ พ่อค้าไม้ซุง เจ้าของเรื่องราวทั้งหมดในเล่มนี้นายแม็กเกรเกอร์ รองผู้แทนข้าหลวงแห่งเมือง เจ้าก์ตะดานายเวสต์ฟิลด์ ผู้กำกับการตำรวจนายแล็กเคอร์สตีน ผู้จัดการของบริษัทป่าไม้นายเอลลิส ผู้จัดการของบริษัทป่าไม้อีกบริษัทหนึ่งและนายแม็กซ์เวลล์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ฯลฯที่พบปะสังสรรค์กันอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆทนคบกันไปอย่างแกนๆ แบ่งฝ่ายทะเลาะกันเองบ้างรวมกลุ่มกันเหยียดเจ้าถิ่นชาวพม่าบ้าง .. ก่อนที่เราจะบูชาสิทธิและเสรีภาพกันอย่างเต็มขั้นเช่นทุกวันนี้ครั้งหนึ่ง ไม่ใกล้ไม่ไกลจากนี้ ย้อนหลังไปร้อยกว่าปีคนอังกฤษเคยดูถูกเหยียดหยามคนท้องถิ่น (พม่าและอินเดีย)เอาไว้ด้วยความรังเกียจเดียดฉันท์ถึงเพียงนี้ เมืองเจ้าก์ตะดา[…]

เรื่อง อาซาฮินะ ชายหนุ่มแห่งคิจิโจจิ ผู้แต่ง เออิจิ นาคาตะ ผู้แปล ปิยะวรรณ ทรัพย์สำรวม สำนักพิมพ์ ซันเดย์อาฟเตอร์นูน เลขมาตรฐานหนังสือ 9786167144658 อาซาฮินะ ชายหนุ่มแห่งคิจิโจจิ เป็นหนังสือรวมเล่มสั้นเล่มที่สองของเออิจิ นาคาตะ ที่ถูกแปลเป็นภาษาไทยในบ้านเรา ต่อจากเล่ม หันมาทางนี้เถอะนะ โมโมเสะ นี่คือไม่นับรวมเล่มอื่นๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาโดยนามปากกาโอตสึ อิจินะ และเช่นเดียวกับเล่มก่อน .. หนังสือที่ถูกเขียนขึ้นด้วยนามปากกานี้ จะเป็นเรื่องราวที่ไม่โหด ไม่ดาร์กเหมือนนามปากกาโอตสึ อิจิ เป็นรวมเรื่องสั้นที่อ่านแล้วเย็นๆ ใจ อมยิ้มได้ มีความสุข ในขณะเดียวกันก็ไม่น่าเบื่อ เพราะทั้งพล็อต ทั้งวิธีเล่า ผู้เขียนทำให้เราติดตามมันไปได้ตลอดเสมอ อาซาฮินะ ชายหนุ่มแห่งคิจิโจจิ เล่มนี้ ประกอบไปด้วยเรื่องสั้นรวมห้าเรื่อง แต่ละเรื่องแยกจากกันเป็นเอกเทศ ไม่เกี่ยวข้องกัน โดยเรื่องแรกคือ เขียนไดอารี่แลกกันเถอะ! สุดบันทึกที่ว่าถูกส่งต่อไปยังผู้คนอีกมากมาย สมุดบันทึกที่ควรถูกเขียนและอ่านโดยเพียงคนสองคน กลายเป็นเรื่องราวหลากหลายของกลุ่มคนที่ไม่เกี่ยวข้องกัน แรกๆ มันก็ขำดีที่จู่ๆ สมุดบันทึกส่วนตัวก็กลายเป็นของสาธารณะแบบนี้ แต่พออ่านไปเรื่อยๆ กลับไม่ขำแฮะ มันลึกซึ้งและกินใจ และเราชอบพล็อตมัน ชอบเรื่องนี้[…]

เรื่อง คิวชู ยู แอนด์ มี Kyushu you&me ผู้แต่ง ปาลิดา พิมพะกร สำนักพิมพ์ ไต้ฝุ่นสตูดิโอ เลขมาตรฐานหนังสือ 9789743191725 คิวชู ยู แอนด์ มี Kyushu you&me เป็นกึ่งๆ บันทึกการเดินทาง คือนอกจากจะมีบันทึกความประทับใจในการท่องเที่ยวแล้ว ในหนังสือยังมีข้อมูลการเดินทางให้ด้วย แต่ด้วยเหตุที่หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นมาครบ 10 ปีพอดี ทำให้ข้อมูลในหนังสือค่อนข้างเก่าพอใช้เลย แต่ถึงอย่างนั้น ข้อมูลบางอย่างก็มีประโยชน์ โดยเฉพาะข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สิ่งหนึ่งที่เราชอบมากคือการไล่ล่าตราประทับตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ (ที่เรียกว่า kinen stamp) สถานที่ต่างๆ ที่ถูกเล่าถึงในเกาะคิวชู ในหนังสือเล่มนี้คือ ฟุคุโอกะ นางาซากิ คุมาโมโต้ ยูฟุอิน เรื่องเที่ยวที่น่าสนใจก็อย่างเช่น เที่ยวความเป็นเมืองของฟุคุโอกะ, เยี่ยมชมเมืองที่เป็นเหยื่อสงครามอย่างนางาซากิ, ชมปราสาทที่คุมาโมโต้ ปีนภูเขาไฟที่อะโซ, ออนเซ็นที่ยุฟุอิน ฯลฯ เก็บเกี่ยวข้อมูลไว้เป็นแรงบันดาลใจในการเดินทางกันค่ะ 🙂

เรื่อง เรื่องวิปลาสของด็อกเตอร์จีคอลกับมิสเตอร์ไฮด์ ผู้แต่ง โรเบิร์ต ลูอิส สตีเวนสัน ผู้แปล ก้อง พาหุรักษ์ สำนักพิมพ์ ไต้ฝุ่นสตูดิโอ เลขมาตรฐานหนังสือ 9786167144290 อ่าน  เรื่องวิปลาสของด็อกเตอร์จีคอลกับมิสเตอร์ไฮด์ จบลงด้วยความรู้สึกกึ่มๆ ไม่อยากจะเล่าอะไรเยอะเลย เพราะยากเหลือเกินที่จะเล่าโดยไม่สปอยล์ (ถึงอย่างนั้นก็หาสปอยล์อ่านได้เต็มโลกออนไลน์) แม้วิธีเล่าเรื่องจะไม่ค่อยสนุกเท่าไร (เพราะอาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญในยุคนั้น) แต่พล็อตสนุกดี พล็อตล้ำมาก ถ้าบอกว่ามันถูกเขียนขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2429 ถ้าได้อ่านตั้งแต่ปีนั้น คงจะประทับใจน่าดู แต่เมื่อมาอ่านใน พ.ศ.นี้ ก็ไม่แปลกที่ใครจะพอเดาเค้าโครงเรื่องได้ (อันที่จริงพล็อตแบบนี้ก็ยังถูกหยิบมาใช้อยู่บ่อยครั้งในยุคหลังๆ) เสียดายนิดหน่อยที่วิธีเล่าทำให้เรื่องนี้ไม่สนุกเท่าที่ควร ถึงอย่างนั้น สิ่งที่ผู้เขียนแฝงเอาไว้ในเรื่อง ก็ชวนให้ครุ่นคิดถึงตัวตนของเรา เนื้อหายังคงทันสมัยแม้หยิบมาพูดกันในยุคนี้

เรื่อง เกาะสยองของด็อกเตอร์มอโร ผู้แต่ง เอช. จี. เวลส์ ผู้แปล ก้อง พาหุรักษ์ สำนักพิมพ์ ไต้ฝุ่นสตูดิโอ เลขมาตรฐานหนังสือ 9786167144542 เอ็ดวาร์ด เพรนดิก ประสบเหตุเหตุเรือล่มอับปาง เขาหายสาบสูญไปเป็นเวลานานจนใครๆ คิดว่าเขาเสียชีวิตไปแล้ว แต่เกือบหนึ่งปีหลังจากนั้น .. เขาได้กลับมาอีกครั้ง พร้อมกับเรื่องเล่าที่น่าเหลือเชื่อ และจิตใจที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป การที่ตัวละครหลักตกกะไดพลอยโจนต้องไปติดอยู่บนเกาะประหลาด ที่สมาชิกบนเกาะมีลักษณะครึ่งคนครึ่งสัตว์กระจายอยู่เต็มไปหมด แม้จะอยู่ในฐานะแขกของเจ้าของเกาะ และคนเหล่านั้นไม่มาสุงสิงกับเขา มันก็ยังให้ความรู้สึกผะอืดผะอมปนระทึกอยู่ดี รู้แน่ๆ ว่าเกาะมันไม่ปกติแน่ แต่คำถามคือ ดร.มอโร เจ้าของเกาะกำลังทำอะไรอยู่ต่างหาก หายใจไม่ทั่วท้องเอาซะเลย ยังไม่ทันเข้าเดือนฮาโลวีนเลย หนังสือที่เลือกมาอ่านก็ทำการต้อนรับเราซะแล้ว พูดถึงความสมจริงมันก็ยังไม่ค่อยสมจริงสักเท่าไร แต่ก็ต้องให้เครดิตด้วยว่า มันเขียนมาเป็นร้อยปีแล้ว ผู้เขียนเขียนด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีในเวลานั้น และถึงแม้จะไม่สมจริง มันก็สร้างความสยดสยองได้ไม่น้อยเหมือนกัน เกือบทั้งเล่มที่อ่าน ไม่มีสถานการณ์ที่น่าไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่มีความมั่นคงทางจิตใจให้ยึดเหนี่ยว เป็นการอ่านที่ระทึก หายใจไม่ทั่วท้องเกือบตลอดทั้งเล่ม เป็นการอ่านที่ไม่มีความสุขเอาซะเลย โดยความเห็นส่วนตัว เราเข้าขั้นเกลียดหนังสือเล่มนี้เลย อ่านจบแทบจะอยากกำจัดมันออกจากบ้าน!

เรื่อง ตื่นบนเตียงอื่น ผู้แต่ง ปราบดา หยุ่น สำนักพิมพ์ ไต้ฝุ่นสตูดิโอ เลขมาตรฐานหนังสือ 9786167144467 ผิดคาดมากเลย ไม่นึกว่า ตื่นบนเตียงอื่น จะปรัชญาจ๋าขนาดนี้ มันเป็นงานเขียนที่เกิดขึ้นหลังจากที่ปราบดากำลังพยายาม หาหนทางหลีกหนีความเบื่อหน่าย ความซ้ำเดิม หาวิธีมองโลกใบเดิมในมุมใหม่ ด้วยการเรียนอะไรสักอย่าง .. อภิปรัชญาคือหนทางที่เขาเลือก เป็นอภิปรัชญาเกี่ยวกับความหมายของธรรมชาติ (แพนเธอิสม์)(pantheism) ค้นคว้าหาข้อมูลจากวัฒนธรรมและความเชื่อเชิงวิญญาณนิยม (animism) โดยเลือกประเทศฟิลิปปินส์และญี่ปุ่น (แต่เล่มนี้เล่าเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฟิลิปปินส์) หนังสือเล่มนี้เป็นคล้ายๆ บทบันทึกการเรียนรู้และเติบโตนั้น ตื่นบนเตียงอื่น จึงหมายถึงการตื่นลืมตาอีกครั้ง ภายหลังจากที่ผู้เขียนผ่านการเปลี่ยนแปลงภายใน ตื่นลืมตาเพื่อจะมองโลกใบเดิม ด้วยดวงตาอีกดวง อย่างที่บอกว่า หนึ่งในสองสถานที่ที่เขาเลือกไปทำวิจัยอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ เขาเดินทางจากเมืองท่าดูมาเกเต้ไปยังเกาะซิกิฮอร์ อันมีชื่อเป็นที่รู้จักของคนพื้นเมืองว่าเกาะมนตร์ดำ หนังสือไม่ได้บอกกิจวัตรประจำวัน หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากนัก สิ่งสำคัญที่เขาเล่าถึงคือวัฒนธรรมความเชื่อเปรียบเทียบในเชิงปรัชญา นักปรัชญาที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงบ่อยๆ ในเล่มคือ บารุค สปิโนซา, เฮนรี่ เดวิด ธอโร, เจมส์ เลิฟล็อก ฯลฯ แนวความคิดของพวกเขาว่าด้วยเรื่องของมนุษย์ พระเจ้า และธรรมชาติ[…]

เรื่อง หันมาทางนี้เถอะนะ โมโมเสะ ผู้แต่ง เออิจิ นาคาตะ ผู้แปล ปิยะวรรณ ทรัพย์สำรวม สำนักพิมพ์ ซันเดย์อาฟเตอร์นูน เลขมาตรฐานหนังสือ 9786167144603 หันมาทางนี้เถอะนะ, โมโมเสะ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ประกอบไปด้วยเรื่องสั้นสี่เรื่องภายในหนังสือเล่มบางๆ เรื่องสั้นเรื่องแรก ก็คือเรื่องสั้นเรื่องเดียวกันกับชื่อเรื่อง หันมาทางนี้เถอะนะ, โมโมเสะ นั่นเอง ส่วนอีกสามรื่องที่เหลือ คือ ระลอกคลื่นริมฝั่ง, เสียงของเขาในไร่กะหล่ำปลี, และการก้าวผ่านของโคอุเมะ ซึ่งทั้งสี่เรื่อง ผู้เขียนล้วนแต่เล่าเรื่องในวัยเรียน โดยตัวละครหลักมักจะเป็นเด็กนักเรียนที่ไม่มีความโดดเด่นในห้อง เป็นเด็กธรรมดาๆ ที่ติดจะติดลบด้วยซ้ำ มนุษยสัมพันธ์ต่ำ เป็นกลุ่มคนที่มักจะถูกเมินในโรงเรียน เรื่องสั้นทั้งสี่เรื่องของเขาในเล่มนี้ ล้วนมีเนื้อเรื่องสั้นๆ พล็อตพื้นๆ ไม่ได้ลึกลับเล่นใหญ่อะไร แต่มักมีอะไรให้แปลกใจและประทับใจ .. มันเป็นตัวตนในแบบของโอตสึ อิจิ (ซึ่งก็คือคนเดียวกันกับเออิจิ นาคาตะ ผู้เขียนเล่มนี้) พูดถึงเรื่องแรกกันก่อน .. หันมาทางนี้เถอะนะ, โมโมเสะ จากชื่อเรื่อง (และปกด้วยแหละ) เราจินตนาการว่าโมโมเสะเป็นเด็กผู้หญิงเรียบร้อย อ่อนหวาน แต่พออ่านเข้าจริงๆ แล้ว โย[…]