เรื่อง ตาย-เป็น การแพทย์สมัยใหม่ ความตาย และความหมายของปลายทางชีวิต ผู้แต่ง กาวานดี อาทูล ผู้แปล บวรศม ลีระพันธ์ สำนักพิมพ์ openworlds เลขมาตรฐานหนังสือ 9786167885292 ครั้งแรกที่ได้รับหนังสือเล่มนี้มา เราจินตนาการไปเองว่ามันเป็นหนังสือเชิงปรัชญาที่ว่าด้วยเรื่องมรณานุสติ ทำนองนั้น ต่อเมื่ออ่านคำนำ คำนิยมต่างๆ จึงเริ่มปรับความเข้าใจใหม่ มันไม่ใช่หนังสือเกี่ยวกับการยอมรับความตายอย่างสงบ ในแง่มุมของศาสนา หรืออะไรทำนองนั้น แต่เป็นเรื่องราวที่เน้นหนักไปในทางการแพทย์ การอภิบาลผู้สูงอายุในช่วงสุดท้ายของชีวิตทั้งทางร่างกายและโดยเฉพาะจิตใจ อธิบายแนวทางการรักษาในรูปแบบของการร่วมกันรักษา ทั้งแพทย์ และผู้ป่วย หรือว่าด้วยเรื่องของการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยร้ายแรงกับแพทย์ผู้รักษา ประมาณนั้น คำนำตอนต้นเล่มนี้ใช้ภาษาปลิดชีพมาก ภาษามันออกจะดูวิชาการจ๋า จนน่ากลัวว่าจะอ่านยาก มันขู่เราว่าเนื้อหาข้างในนี้โคตรวิชาการเลย แต่พอเริ่มเปิดอ่านเนื้อหาข้างในเข้าจริงๆ มันก็ไม่ได้ดุขนาดนั้น มันอ่านง่ายกว่าที่เกร็งรอทีแรก ผู้เขียนนำเราเข้าสู่โลกของผู้สูงอายุอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป มีตัวอย่างการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุที่มีตัวตนจริงๆ หลายกรณี มาแนะนำให้เราได้รู้จัก ได้เขาใจตัวเขาและปัญหาของเขา ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นหมอ (และผู้แปลก็เป็นหมอ) เขาก็อธิบายในแง่มุมของหมอด้วย ซึ่งมันเป็นไปอย่างง่ายๆ เข้าใจได้ไม่ยาก หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องของการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยเน้นไปที่ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคร้ายแรง (เน้นมะเร็งเป็นหลัก)[…]

เรื่อง ประวัติศาสตร์กินได้ ผู้แต่ง Tom Standage ผู้แปล โตมร ศุขปรีชา สำนักพิมพ์ openworlds ราคา 250 บาท หนังสือเล่มนี้เขียนโดยชาวตะวันตก และมีความเป็นตะวันตกมากจนน่าหมั่นไส้! ประวัติศาสตร์กินได้ บอกเล่าประวัติศาสตร์ตั้งแต่มนุษย์เริ่มมีหลักฐานการกินอาหารผ่านยุคเกษตรกรรม ล่าอาณานิคม อุตสาหกรรม จนกระทั่งปัจจุบัน เล่าโดยใช้อาหารเป็นตัวเชื่อมโยง การใช้อาหารบอกเล่าประวัติศาสตร์ การพัฒนา วิวัฒนา การเปลี่ยนถ่ายของวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆ ของมนุษย์ การก่อเกิดอำนาจ และการผันแปรของอำนาจ ตั้งแต่กลุ่มเล็กๆ อย่างชุมชน เมือง หรืออาณาจักร และทวีป อาหารทำให้คนสะสม ยึดถือ และเอาเปรียบกันและกัน (ไม่รู้ว่าคนเขียนหรือคนอ่านกันแน่ .. ที่อ่านและแปรมันไปในแง่ร้ายขนาดนี้ .. โดยส่วนตัว ข้าพเจ้าถนัดด้านมืดอยู่แล้วด้วยสิ 555) ข้อมูลจากประวัติศาสตร์กินได้เล่มนี้ ช่วยย้ำกับเราอีกครั้งว่ามนุษย์นี้ช่างอภิสิทธิ์จริงๆ เริ่มต้นกันตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ก่อนที่มนุษย์จะรู้จักสิ่งที่เรียกว่า “วิทยาศาสตร์” ด้วยซ้ำ แม้มนุษย์จะยังไม่รู้จัก GMO แต่มนุษย์ก็ทำการคัดสรรพืชพันธุ์อาหารต่างๆ[…]