เรื่อง ชีวิตของประเทศ ผู้แต่ง วิษณุ เครืองาม สำนักพิมพ์ มติชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9789740215141 เราใช้เวลาอ่าน ชีวิตของประเทศ นานเกือบหนึ่งเดือนเต็ม เป็นการอ่านที่ยาวนานเกินธรรมดามาก แถมยังอ่านไม่ค่อยปะติดปะต่อ พออ่านจนถึงตอนจบ ก็ลืมเรื่องราวตอนต้นไปเสียเกือบหมดแล้ว จะเล่ายังไงดีละ? ชีวิตของประเทศ เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องราวตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อันที่จริงเล่ามาตั้งแต่ช่วงหลังกรุงศรีอยุธยาแตกเลยด้วยซ้ำ เล่าถึงความยากลำบากของผู้คนในยุคก่อร่างสร้างเมือง เป็นยุคแห่งการเริ่มต้น ยุคแห่งความหวัง และยุคแห่งความไม่แน่นอน ผู้เขียนได้เล่าถึงแผ่นดินของพระเจ้าตากสินเอาไว้เป็นการเริ่มต้น ในช่วงที่เพิ่งเปิดเรื่องนั้น ตัวละครชุดแรกที่ออกมาเล่าเรื่องให้เราฟัง ล้วนแต่เป็นตัวละครที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ ทั้งสิน (พระเจ้าตากสินมหาราช) , เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช), นายบุนนาค (เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ต้นตระกูลบุนนาค), คุณหญิงนาค (สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี), นวล (เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล), ท่านทอง, ท่านสั้น, เจ้าขรัวเงิน, พ่อฉิม (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย), แม่ฉิมใหญ่ (เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่), บุญมา (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท), บุญรอด (สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์)[…]

เรื่อง คนดีศรีอยุธยา ผู้แต่ง เสนีย์ เสาวพงศ์ สำนักพิมพ์ มติชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9789740210320 เราไม่ค่อยได้อ่านเรื่องราวหลังกรุงแตกเท่าไร นิยายยุคก่อนๆ ก็มักจะเล่าให้ฟังแต่ช่วงก่อนเสียกรุง มาอ่านนิยายที่คาบเกี่ยวช่วงเสียกรุงครั้งแรก (มั๊ง) – ก็ตอนอ่าน หนึ่งด้าวฟ้าเดียว ของวรรณวรรธน์ เรื่องราว (ในหนึ่งด้าวฯ) เกิดขึ้นในราวสมัยอยุธยาตอนปลาย เนื้อหาคาบเกี่ยวยุคปลายอยุธยาและต้นกรุงธนบุรี เป็นช่วงของการเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 ไปจนถึงพระเจ้าตากฯ กอบกู้เอกราชกลับคืนมาอีกครั้ง มาถึงเล่มนี้นี่ชัดเจนเลย เพราะผู้เขียนเจาะจงเล่าถึงช่วงเวลาหลังกรุงแตกโดยเฉพาะ และเป็นมุมมองจากชาวบ้านแท้ๆ ไม่มีตัวละครที่เป็นเจ้านายหรือบุคคลในประวัติศาสตร์เลย ตัวละครทั้งหมดเป็นตัวละครสมมติ เป็นผู้คนสามัญ ใช้ชีวิตอย่างชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่ง ถ้ากรุงไม่แตก พวกเขาก็จะมีชีวิตที่สงบ เรียบง่าย ดำเนินไปตามครรลองแห่งชีวิต แต่เมื่อสถานการณ์ไม่ปกติ พวกเขาก็ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปเพื่อความอยู่รอด คนเรามีหลายประเภท และในยามวิกฤตถึงขั้นกรุงแตกนั้น ก็เป็นเหตุปัจจัยให้คนเราเปิดเผยตัวตนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ที่ดีก็สุกปลั่งดังทองแท้ แต่ที่แย่ ก็ยิ่งแสดงออกถึงกมลสันดานภายใน ผู้เขียนเปิดเรื่องด้วยตัวละครสามคน โต เล็ก และน้อย ชายสามคนที่ร่วมเดินทางมาด้วยกันหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว ในขณะที่บ้านเรือนแตกฉานซ่านเซ็น[…]

เรื่อง เรือนมยุรา ผู้แต่ง แก้วเก้า สำนักพิมพ์ ทรีบีส์ (สนพ. ในเครือ สนพ.อักษรโสภณ) ราคา 340 บาท เรือนมยุราเป็นเรื่องราวพีเรียดที่เกิดขึ้นในยุคสมัยปลายราชวงศ์บ้านพลูหลวง เมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี ผู้เขียนเล่าถึงครั้งที่อยุธยาถูกปกครองอยู่ด้วยพระเจ้าเอกทัศน์ (เจ้าประคุณขุนหลวงสุริยามรินทร์) พระเจ้าแผ่นดินพระองค์สุดท้ายของอยุธยา ขณะนั้นเหตุการณ์บ้านเมืองวุ่นวาย การเมืองแบ่งออกเป็นสองฝักสองฝ่าย ด้วยฝ่ายหนึ่งจงรักภักดีแด่พระเจ้าเอกทัศน์ ส่วนอีกฝ่าย ถวายความจงรักภักดีแด่เจ้าฟ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด, ขุนหลวงดอกมะเดื่อ) ผู้ทรงผนวชอยู่ในเวลานั้น พระยาเทพสงคราม พ่อของนกยูง เป็นผู้หนึ่งที่ยังจงรักภักดีอยู่กับเจ้าฟ้าอุทุมพร ทำให้ไม่เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระเจ้าแผ่นดินขณะนั้น จึงทรงให้ย้ายเสาเรือนออกมาปลูกอยู่นอกกำแพงเมือง ใกล้วัดไชยวัฒนาราม เมื่อครั้งอยุธยาเข้าสู่ยุคสงครามครั้งสุดท้ายกับพม่า บิดาของนกยูง พร้อมด้วยพี่ชายทั้งหมด (สองคนสุดท้องชื่อคุณส่อง และคุณพร้อม) ได้ออกรบเยี่ยงชายชาตรีที่มีหน้าที่ต่อชาติบ้านเมือง เหลือเพียงนกยูงเป็นเจ้าบ้านดูแลบ่าวไพร่ทั้งปวงแต่เพียงผู้เดียว นกยูงเป็นหลานของหม่อมแส (ไม่แน่ใจว่าจะมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่?) ผู้เป็นพระสนมเอกในเจ้าฟ้ากุ้ง (เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์) ซึ่งภายหลังเจ้าฟ้ากุ้งต้องโทษโบยจนสิ้นพระชนม์ด้วยถูกใส่ความว่าเป็นชู้กับเจ้าฟ้าสังวาลย์ หนึ่งในพระมเหสีของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พระราชบิดา) หม่อมแสผู้นี้จึงหันมาพึ่งพระบารมีเจ้าครอกฟ้ากุณฑล และเจ้าครอกฟ้ามงกุฏ พระธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ เมื่อยังเด็ก นกยูงถูกถวายตัวเข้ามาอยู่ในวังนี้กับหม่อมแส[…]