เรื่อง อธิบายเบ็ดเตล็ดในเรื่องพงศาวดารสยามผู้ทรงนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสำนักพิมพ์ แสงดาวเลขมาตรฐานหนังสือ 9786165082785   เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ผ่านพระวินิจฉัยของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพโดยคำว่าเบ็ดเตล็ดจากชื่อหนังสือนี้คือการรวบรวมเรื่องราวต่างๆ เบ็ดเตล็ดดังชื่อ อันได้แก่ ..ที่มาของคำเรียกชื่อสยามการออกพระนามพระเจ้าแผ่นดินในแต่ละกรณีธรรมเนียมการตั้งพระมหาอุปราชในแต่ละรัชกาลเส้นทางการเดินทางของชาวยุโรปที่จะมายังดินแดนตะวันออกการล่าอาณานิคมรวมไปถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์อันเกี่ยวข้องกับท้าวศรีสุดาจันทร์ขุนวรวงศาธิราช พระเทียรราชา พระมหาธรรมราชา ฯลฯและประวัติการชำระแก้ไขกฏหมายแต่ละครั้งในสมัยอยุธยา โดยสำนวนภาษาโบราณจากต้นฉบับมาเลยอ่านยากนิดหน่อยเพราะไม่คุ้น แต่ก็ไม่ยากมากจนชวนท้อที่ติดใจเราเป็นที่เนื้อหามากกว่า คือเป็นความรู้เก่ายังไม่มีข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้มาภายหลังไปเปรียบเทียบเหมาะที่จะอ่านเล่นๆ เพื่อดูแนวคิดหรือดูพัฒนาการของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของไทยและหากจะใช้อ้างอิงก็ต้องตรวจสอบกับข้อมูลที่มีในปัจจุบันก่อน ปล. หนังสือเขียนพระยศของผู้ทรงนิพนธ์เอาไว้งงมาก สองที่เขียนไม่เหมือนกันคาดว่าอาจจะเป็นพระยศในขณะทรงนิพนธ์ และตีพิมพ์ครั้งแรกแต่ถ้าจะยึดแบบนั้น ก็ควรจะเขียนให้ตรงกันส่วนที่เราเขียนพระนามผู้ทรงนิพนธ์ คือใช้พระยศปัจจุบัน เสิร์ชจาก google มาอีกที    

เรื่อง กษัตริยา ตอน แก้วกษัตริยา ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม เลขมาตรฐานหนังสือ 9744462035 อ่านนิยายอิงประวัติศาสตร์ ก็จะพลาดงานของนักเขียนคนนี้ไม่ได้เลยค่ะ 🙂 ถ้าเทียบ กษัตริยา กับเรื่อง พ่อ ของคุณปองพล (ที่เราเพิ่งอ่านจบไป) สองเล่มนี้เล่าจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในช่วงเดียวกันเลย โดยเริ่มต้นเหลื่อมกันนิดหน่อย คือเล่มนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงครองราชย์แล้ว เริ่มต้นเมื่อก่อนทำศึกกับบุเรงนองครั้งแรก ชนวนศึกคือ คือพระเจ้าหงสาวดีบุเรนองมีพระราชสาส์นมาขอช้างเผือกจากพระมหาจักรพรรดิ และเมื่อทางอยุธยาไม่ให้ จึงถือเป็นสาเหตุให้ยกทัพมาตี (ฟังดูคล้ายๆ นิทานหมาป่ากับลูกแกะ .. อ้างแค่นี้ก็เป็นความชอบธรรมที่จะยกทัพมาตีแล้ว?) เนื้อหาในเล่มแรกนี้ ทมยันตีเล่าด้วยมุมมองผ่านสายตาคนไทยเพียงเท่านั้น ในขณะที่คุณปองพลเล่าผ่านตัวละครทั้งฝ่ายไทยและพม่า และทั้งสองเล่มแตกต่างกันในรายละเอียด และส่วนต่างนี้เองที่ทำให้เราขบวิเคราะห์ ว่าส่วนใดคือประวัติศาสตร์ และส่วนใดคือจินตนาการของผู้เขียน สำหรับ กษัตริยา ผู้เขียนจะเน้นเล่าไปในมุมมองของสตรี .. สตรีอันเป็นเลือดเนื้อเชื่อไขของพระมหาจักรพรรดิ กับสมเด็จพระศรีสุริโยทัย คือพระสวัสดิราช หรือพระวิสุทธิกษัตรีย์ เนื้อหาก็จะดราม่าหน่อยๆ ตามสไตล์ผู้เขียน เพราะนางเอกของทมยันตี มีทิฐิทุกคน แม้แต่นิยายอิงประวัติศาสตร์ก็ยังเป็นเช่นนั้น กษัตริยา เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ด้วยนวนิยายผสมกับพงศาวดาร[…]