เรื่อง นิทานโบราณคดี พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนักพิมพ์ ศิลปาบรรณาคาร เลขมาตรฐานหนังสือ – นิทานโบราณคดี เป็นบันทึกที่ว่าด้วยทั้งประเพณีความเชื่อแต่โบราณ เกร็ดเรื่องเบื้องหลังการก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช เรื่องโจรกลับใจ ฯลฯ แล้วก็ยังมีเรื่องแปลกๆ สนุกๆ เรื่องอื่นๆ อีกมาก ทรงบันทึกการเดินทางและธรรมเนียมการรับแขกเมืองของแต่ละประเทศ รวมไปถึงขนบธรรมเนียมความเชื่อต่างๆ ของประเทศที่เสด็จผ่านและประทับ หลายเรื่องพ้องกันกับบ้านเมืองเรา จนน่าเชื่อว่าน่าจะมีอิทธิพลต่อกัน ทรงถ่ายทอดออกมาโดยวิธีเล่าเรื่อง อ่านได้ง่ายๆ เพลินๆ คล้ายอ่านนิทาน ทรงเล่าเรื่องโน้นบ้าง เรื่องนี้บ้าง บางเรื่องก็เป็นประวัติศาสตร์ ที่หากไม่ทรงบันทึกเอาไว้ก็คงหายสาบสูญ บางเรื่องก็ต่อกันไป สนุกดีเหมือนกัน อ่านแล้วเราก็ได้เห็นน้ำพระทัยของพระองค์ ทรงมีพระกรุณา มีน้ำพระทัยดี และทรงมีพระสติปัญญาสามารถรอบด้าน เสียดายที่เล่มนี้เป็นเพีงฉบับย่อ คัดเฉพาะบางเรื่องมาให้อ่านกัน มีเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น ไม่ครบถ้วน มีโอกาสจะหาเล่มหนามาอ่านซ้ำอีกครั้ง และเล่าสู่กันฟังอีกครั้งค่ะ 🙂

เรื่อง สวนสัตว์ ผู้แต่ง สุวรรณี สุคนธา สำนักพิมพ์ ศิลปาบรรณาคาร เลขมาตรฐานหนังสือ 9742555346 แปลกดีที่เราเริ่มอ่านหนังสือเล่มนี้ไปเพียงหน้า สองหน้า ก็เริ่มรู้สึกสนุก อันที่จริง หนังสือเรื่องนี้ (เคย) วางดองอยู่ที่บ้านเรามาตั้งแต่สมัยประถม (ที่ว่าเคย เพราะว่ามันเป็นคนละเล่มกันกับที่อ่านในตอนนี้) ทั้งๆ ที่เป็นหนังสือที่เลือกซื้อมาเอง ใช้เงินเก็บตัวเองด้วย เพราะรู้ว่ามันเป็นหนังสืออ่านนอกเวลา เมื่อเราโตขึ้นจะต้องอ่านมันแน่ๆ กลับถึงบ้าน รีบเปิดหนังสือเร็วไว .. และพบว่าไปไม่รอด เราไม่เคยอ่านจบ ไม่เคยอ่านไปเกินหน้า สองหน้า และไม่เคยหยิบมันมาอ่านอีกเลยจนมันสาบสูญ โชคดีที่สุดท้ายแล้ว มันก็ไม่ใช่หนังสือนอกเวลาที่เราต้องอ่านด้วย เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน ผ่านวัยประถมมาไกลหลายสิบปี หนังสือที่เด็กประถมอ่านไม่รอดในตอนนั้น กลับสนุกดีในตอนนี้ แถมตัวเราในตอนนี้ยังคิดเลยว่า .. เนื้อหาน่ารักดี เหมาะกันเด็กๆ!! สงสัยคนที่เลือกมันมาเป็นหนังสืออ่านนอกเวลา ก็คิดแบบนี้แหงมๆ เหตุการณ์นั้นคงทำให้เราฝังใจพอสมควร เพราะมานึกไล่ดูแล้ว เราก็ยังไม่เคยอ่านหนังสือของสุวรรณี สุคนธาเลยสักเล่ม เล่มแรกในวันนั้น ก็เลยกลายเป็นเล่มแรกในวันนี้ ..[…]

เรื่อง ล่า ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ศิลปาบรรณาคาร เลขมาตรฐานหนังสือ 9786162144110 เรื่องเริ่มต้นในตอนที่มธุสรตัดสินใจหย่าขาดกับสามี โดยแลกทรัพย์สมบัติทุกอย่างที่มีกับสิทธิขาดในการดูแลมธุกร ลูกสาวที่รักยิ่ง ลูกสาวที่เป็นดังดวงใจ เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของเธอ มธุสรคือนางเอกตามแบบฉบับของทมยันตี เข้มแข็ง อดทน และทิฐิแรง และเพราะทิฐิอันนี้เองที่ได้นำพาตัวเธอและลูกให้ต้องมาพำนักอยู่ในที่อโคจร แม้จะทำดีที่สุดแล้ว แต่สุดท้ายสิ่งแวดล้อมอันเลวร้ายรอบๆ ตัวก็เริ่มสำแดงผล เนื้อเรื่องในตอนต้น ถูกเขียนให้บีบเค้นความรู้สึกเกินจริง ชีวิตที่ลำบากก็ลำบากเกินจริง ซึ่งมันคงจะเป็นอย่างนั้น สำหรับคนที่เคยสบายแล้วต้องมาพบกับความยากลำบากชนิดกะทันหัน ค่านิยมในยุคเก่า ลมปากของมนุษย์มีอิทธิพลต่อชีวิตคนมากจริงๆ พอมาอ่านในยุคที่มนุษย์เลิกสนใจกัน ไม่แคร์คำพูดกันและกัน มันเลยอึดอัดว่า อะไรจะขนาดนั้น ชีวิตเธอมันยากไปเสียทุกอย่าง ทำอะไรก็โดนนินทา แถมมธุสรที่ดูนิ่งๆ ที่จริงก็หวั่นไหวไปกับทุกคำนินทาจนน่ารำคาญ ผู้เขียนบีบเค้นให้เราอึดอัด อัดอั้นไปกับมธุสรจนถึงที่สุด จนถึงในที่สุด เรา (มธุสรและคนอ่าน) จึงระเบิดไปพร้อมๆ กัน นานๆ ทีจะอ่านนิยายแบบที่เอาใจช่วยฆาตกร รู้สึกว่าตัวเองโรคจิตขึ้นเยอะเลย (ฮา) มธุสรเก็บกดอารมณ์รุนแรงอยู่ภายใน รักลูกมาก ก็มากเกินปกติ เกลียด (อดีต) สามีมาก (อันนี้สมควรเกลียดตามที่ผู้เขียนบิ้วท์)[…]

เรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ๑-๔ ผู้แต่ง ทิพย์วาณี สนิทวงศ์ฯ สำนักพิมพ์ ศิลปาบรรณาคาร ราคา (เล่มละ) 50 บาท อ่านบ้านย่าไผ่จบ ก็เกิดอาการโหยหาอดีตขึ้นมาอย่างหยุดไม่อยู่กู่ไม่กลับ เป็นเหตุให้ต้องไปค้นหนังสือสามัญประจำบ้านชุดนี้มาอ่านค่ะ เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ใครไม่เคยอ่านหนังสือชุดนี้ยกมือขึ้น … ขอบอกว่าเชยมากกก ;P เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก มีอารมณ์ใกล้เคียงกันมากกับ ‘บ้านย่าไผ่’ เลยค่ะ หยิบเรื่องอดีตมาเล่าให้เด็กๆ อ่านด้วยภาษาง่ายๆ เราอ่านสนุกมาตั้งแต่ยังเด็ก เปิดอ่านเอาจากนิตยสารสตรีสาร อ่านก่อนจะถูกบังคับให้อ่านเป็นหนังสือนอกเวลาหลายปี พอมาอ่านอีกทีพร้อมเพื่อนๆ จึงรู้สึกว่าตัวเองโปรมาก (ฮา) หยิบเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กมาอ่านหนนี้ มีความรู้สึกเหมือนกับได้พบเพื่อนเก่า เปิดอ่านไปแต่ละบท รู้สึกเหมือนค่อยๆ ย้อนเวลากลับไปเป็นตัวเราเมื่อตอนเด็ก ตอนที่หยิบๆ จับๆ เล่มนี้มาอ่านบ่อยๆ นึกถึงความรู้สึกที่ได้อ่านมันหนแรก และหนต่อๆ มา ถี่ๆ ในช่วงนั้น อ่านแล้วอ่านอีก อ่านจนจำขึ้นใจ .. มันแปลกดีที่ได้ย้อนกลับไปมองตัวเองในวัยเด็ก ด้วยมุมมอง (แบบตัวเอง) ในวัยผู้ใหญ่ แต่ไม่ว่าจะอ่านครั้งโน้น[…]