เรื่อง สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ผู้แต่ง ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล สำนักพิมพ์ ศิลปวัฒนธรรม (สนพ. ในเครือสำนักพิมพ์มติชน) ราคา 155บาท สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น เป็นต้นฉบับถูกพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดแบ่งแยกออกเป็นหลายฉบับ โดยที่ส่วนแรกขาดหายไปไม่ถูกค้นพบ ส่วนที่ถูกค้นพบนั้น เริ่มต้นที่หน้า 267 – 349, และหน้า 350 – 426 อันจบบริบูรณ์ หากแต่มีอีกหนึ่งฉบับซึ่งเริ่มต้นที่หน้า 350 เช่นกัน และจบลงที่หน้า 458 ฉบับที่ว่านี้ เป็นฉบับที่เริ่มต้นเล่าเรื่องในปลายรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 และต้นรัชสมัยของรัชกาลที่ 7 ตั้งแต่เริ่มครองราชย์จวบจนสิ้นรัชกาล และต้นฉบับฉบับนี้นี่เองที่ถูกตีพิมพ์ขึ้นเป็นหนังสือเล่มนี้ รายละเอียดทั้งปวง ถูกบอกเล่าเอาไว้ในส่วนของคำนำสำนักพิมพ์เรียบร้อยแล้ว (ภายหลังเห็นสำนักพิมพ์มีพิมพ์ฉบับสมบูรณ์ด้วยนะคะ ถ้ามีโอกาสคงได้หยิบมาอ่านและเล่าสู่กันฟังอีกที) หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยเรานั้น มีด้วยกันอยู่หลายเล่ม หลายคนเล่า ทั้งๆ ที่ประวัติศาสตร์ที่ว่า ก็มีอยู่เรื่องราวเดียวกันนั่นแหละ ที่ใครๆ ก็รู้ แล้วก็ต่างหยิบกันไปเล่า หากแต่ความรู้สึกของผู้เล่าที่ใส่ลงไปในวิธีเล่าต่างหาก ที่ทำให้หนังสือแต่ละเล่มไม่เหมือนกัน สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นฯ[…]

เรื่อง ลูกแก้วเมียขวัญ ผู้แต่ง ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย สำนักพิมพ์ ศิลปวัฒนธรรม (สนพ. ในเครือสำนักพิมพ์มติชน) ราคา 200บาท คำแนะนำหนังสือที่ปกหลังเขียนแนะนำด้วยสำนวนราวกับเขียนนิยาย ใช้ถ้อยคำกระตุ้นเร้าอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง หนักหน่วง เอาความตื่นเต้นเกินจริงเข้าว่าจนเกือบจะดูไม่เป็นประวัติศาสตร์ หยิบอ่านพลิกอ่านด้านหลังเสร็จแล้วแทบจะอยากวาง มันพลิกอารมณ์กับเล่มก่อนเกินไป ความละเมียดๆ ยังกรุ่นอยู่ในอารมณ์ (จาก แลวังหลังตำหนัก) มาเจอสำนวนอย่างนี้แทบจะอยากวาง โชคดีที่เป็นเพียงแค่สำนวนจากสำนักพิมพ์ เลยขอลองอ่านต่อไปอีกหน่อยก่อนตัดสิน ลูกแก้วเมียขวัญ เป็นหนังสือที่รวมเล่มขึ้นมาจากคอลัมน์ หม่อมห้ามนางใน ที่ลงเป็นตอนในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม โดยสำนักพิมพ์คัดมาเฉพาะบทตอนที่ทรงเป็น “ลูกแก้ว” และ “เมียขวัญ” เท่านั้น เป็นหนังสือที่เล่าถึงสตรีผู้มีบทบาทสำคัญในราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ยกเว้นแต่เพียง กรมโยธาเทพ (สมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี) เท่านั้น ที่ทรงเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยแบ่งเป็นตอนๆ หนึ่งตอนหนึ่งท่าน จบลงในตอน ไม่ได้ต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน และเพราะการเล่าแบบแบ่งเป็นตอนนี้เองที่ทำให้ .. มือใหม่หัดอ่านประวัติศาสตร์อย่างเรา ถึงกับมึนพระนามของเจ้านายแต่ละพระองค์จริงๆ เพราะเมื่อผู้เขียนเล่าถึงพระองค์หนึ่ง ก็มักจะต้องอ้างอิงถึงพระองค์อื่นด้วยอีกตอนละหลายพระองค์ พออ่านติดต่อกันหลายๆ ตอนเข้า ทีนี้ถึงกับสับสนว่าหมายถึงพระองค์ไหนกันแน่[…]