เรื่อง นางพญาหลวงผู้แต่ง กฤษณา อโศกสินสำนักพิมพ์ อักษรโสภณเลขมาตรฐานหนังสือ 9749309227 เอาจริงๆ นี่ก็ไม่ใช่การรีวิวหนังสือนะ ..มันคือการเล่าเรื่องย่อเลยแหละ!!(ย่อแล้วจริงๆ นะ!) ตอนที่เราเปิดมาเจอภาษาล้านนาโบราณขนานแท้ 4 – 5 หน้าแรกนั้นแทบช็อกทีเดียวค่ะนึกว่าจะต้องเจอแบบนั้นไปทั้งเล่มเสียแล้ว(ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ คงต้องเลิกอ่านไปก่อน >,<)โชคยังดีที่พอพ้นช่วงนั้นมา สำนวนก็กลับคืนสู่สภาพที่พออ่านได้บ้างคือเป็นล้านนาฉบับเบาบาง แต่ก็ยังอ่านยากอยู่ดีเพราะว่าเราจับเนื้อเรื่องไม่ติด ไม่เข้าใจชั่งใจตัวเองอยู่พอสมควร ว่าจะเลิกอ่านดีมั๊ยแต่ก็รู้ใจตัวเองอีกเช่นกันว่า ถ้าวางไปโอกาสจะกลับมาอ่านใหม่นั้นน้อยนิดจนเป็นศูนย์แน่ๆคิดได้ดังนั้น .. ก็บอกตัวเองให้ก้มหน้าก้มตาอ่านมันต่อไปเสียเถอะ! เมื่อตั้งใจว่าจะอ่านมันแน่ๆ ก็ต้องหาวิธีที่จะอ่านมันให้รอดซึ่งเราใช้วิธีเสิร์ชประวัติศาสตร์ช่วงนั้นจากกูเกิ้ลก่อนค่ะอ่านคร่าวๆ พอจับใจความได้แล้วค่อยมาอ่านประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะเล่าจากในหนังสือไปอย่างช้าๆ และก็เริ่มทำความเข้าใจเนื้อเรื่องไปด้วยเมื่อมีหลักให้จับ เราก็เริ่มชินกับภาษาไปเอง แล้วพบอีกด้วยว่า จริงๆ แล้วมันก็ไม่ยากเท่าที่คิดกลัวแต่แรก นางพญาหลวง เล่าประวัติศาสตร์ล้านนา (เชียงใหม่) เล่าถึงกษัตริย์องค์ท้ายๆ แห่งราชวงศ์มังรายในช่วงปี พ.ศ. 2000 นิดๆก่อนที่พระนางจิรประภามหาเทวีจะทรงครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2088 – 2089) ผู้เขียนเริ่มต้นเรื่องด้วยการยกบทบันทึกประวัติศาสตร์ภาษาโบราณซึ่งเท้าความถึงพระญาติโลก (พระญาลก) (พระเจ้าติโลกราช)(กษัตริย์ล้านนาลำดับที่ 10 (บางแหล่งว่า 9) แห่งราชวงศ์มังราย)ทรงมีโอรสคือท้าวสรีบุญเรือง (ท้าวบุญเรือง) ได้ครองเมืองเชียงรายก่อนจะถูกส่งไปไว้ที่[…]

เรื่อง ตามรอยเจ้าอนุวงศ์คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย – ลาวผู้แต่ง สุเจน กรรพฤทธิ์สำนักพิมพ์ สารคดีเลขมาตรฐานหนังสือ 9789744843517 จากคำนำผู้เขียน ..ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ เล่มนี้ไม่ได้สื่อถึงประวัติศาสตร์ –ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าอนุวงศ์เพียงอย่างเดียวแต่ผู้เขียนมีเจตนาสะท้อนให้เห็นไปถึงระบบการเรียนประวัติศาสตร์ของบ้านเราที่ล้วนต่างติดอยู่ในกรอบแห่งความรักชาติ คลั่งชาติหนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์ให้น้ำหนักในส่วนที่เราเป็นฝ่ายถูกกระทำและละเลยในส่วนที่เราเป็นผู้กระทำ ..  ผู้เขียนจึงหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ครั้งใหม่มองประวัติศาสตร์จากทั้งสองฝ่ายคือไทยและลาวเป็นการมองนอกกรอบแห่งการรักชาติซึ่งเมื่ออ่านเจตจำนงค์ของผู้เขียนแล้ว เราก็กลัวว่าผู้เขียนไม่ได้ตั้งทัศนคติเพื่อยืนอยู่ตรงกลางหากแต่ปมในใจ จะพาเขาไปยืนอยู่อีกฝั่งหนึ่งของคำว่านอกกรอบ แต่เมื่ออ่านจนจบทั้งเล่ม ก็พบว่าเนื้อหาในเล่มเป็นกลาง ไม่ได้เอนเอียงไปทางด้านใดผู้เขียนลงหลักฐานทั้งหมดเท่าที่ยังคงเหลืออยู่ทั้งของฝ่ายไทย ลาว และหลักฐานอื่นๆ เท่าที่เกี่ยวข้องเอาไว้อย่างรอบด้านอ่านต่อเนื่องได้เรื่อยๆ ไม่เบื่อ และสนุกดีหลักฐานต่างๆ ก็ชวนให้เราคิดไปในมุมมองของเราบ้างซึ่งเหมือนบ้าง ต่างบ้าง กับทั้งผู้เขียน และทั้งหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ เราเองอ่านประวัติศาสตร์ (ผ่านนิยาย) มาติดๆ กันหลายเล่มในช่วงนี้ก็เห็นได้ชัดเช่นกันว่า ประวัติศาสตร์ไทยที่แท้จริง –ไม่ได้เหมือนที่เขาสรุปให้เราเห็นเป็นชิ้นเป็นอันในหนังสือเรียนเท่าไรนักหรอกจากบันทึกทางประวัติศาสตร์เพียงสั้นๆ หนังสือแต่ละเล่มตีความไปต่างกันราวฟ้ากับดินเรื่องราวเดียวกันแท้ๆ เมื่อมองจากคนละมุม ก็กลายเป็นคนละเรื่อง ไม่ต้องนึกไปไกลถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ก็ได้เอาแค่เรื่องที่เกิดขึ้นในยุคสมัยของเรา เรายังไม่สามารถรับรู้ความเป็นจริงได้เลยดังนั้น กับเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์ เรายิ่งไม่ควรยืดถือ เชื่อถือไปเสียทั้งหมดคิดทุกครั้งที่ได้อ่าน ได้รู้ หรือแม้แต่ได้เห็น ได้ยินไม่มีอะไรดีไปกว่าการใช้หลักกาลามสูตรทั้งสิบประการของพระพุทธเจ้า ภายใน ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ เล่มนี้ผู้เขียนใช้วิธีเขียนแบบหนังสือสารคดีบอกเล่าพระราชประวัติของเจ้าอนุวงศ์ตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์เล่าถึงสาเหตุที่ทรงพลัดบ้านพลัดเมืองมาเป็นองค์ประกันที่กรุงธนบุรีคาบเกี่ยวเรื่อยมาจนถึงกรุงเทพมหานครไล่เรียงไปจนกระทั่งถึงเหตุการณ์ที่คนไทยเรียกกันว่า กบฏเจ้าอนุวงศ์และเล่าไปจนถึงวาระสุดท้ายในพระชนม์ชีพด้วยหลักฐานทั้งจากฝั่งไทยและฝั่งลาว มีลงพื้นที่จริงไปดูสถานที่จริง ไปพูดคุยกับผู้คนในพื้นที่[…]