เรื่อง การเมืองในประวัติศาสตร์ “ขนมหวาน” ของ ท้าวทองกีบม้า มาดามฟอลคอน “ขนมไทย” หรือ “ขนมเทศ” ผู้แต่ง ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย, ปรามินทร์ เครือทอง บรรณาธิการ สุจิตต์ วงษ์เทศ สำนักพิมพ์ มติชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9743229264 ท้าวทองกีบม้า มาดามฟอลคอนฯ เล่าเรื่องอย่างวิชาการ ไม่อิงนิยายอย่างเล่มอื่นๆ ที่เราเพิ่งอ่านจบไป ขึ้นต้นเรื่องมาก็เจอข้อมูลตีแสกหน้าก่อนเลยว่า ท้าวทองกีบม้าเป็นยศ ไม่ใช่ชื่อ .. ในยุคก่อนรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์นั้น ได้มีการแบ่งตำแหน่งข้าราชการฝ่ายใน ผู้รับผิดชอบการครัวเอาไว้เป็นลำดับ เรียกว่าวิเสท (วิเศษ) แบ่งแยกเป็นวิเสทกลางและวิเสทใน โดยมีหัวหน้าเรียกว่าท้าวอินสุริยา จากนั้นยังมีท้าวเทพภักดี, ท้าวทองพยศ, ท้าวทองกีบม้า, ท้าวยอดมณเฑียร, ท้าวอินกัลยา, และท้าวมังสี เป็นลำดับ อ้าว งงเลยสิคะ แล้วสิ่งที่เรารู้มาว่าเพี้ยนมาจากชื่อ (กีมาร์) เล่า? นั่นคือคำนำขึ้นต้นเล่ม .. ตีแสกหน้าลากเข้าบ้านไปอ่านต่อเลยค่ะ >,< เมื่อเรามาอ่านเนื้อหาภายในแล้ว อันที่จริงก็มีข้อสันนิษฐานที่มาของตำแหน่งเอาไว้หลายเหตุผลอยู่[…]

เรื่อง ฟอลคอนแห่งอยุธยา ผู้แต่ง แคลร์ คีฟ-ฟอกซ์ ผู้แปล กล้วยไม้ แก้วสนธิ สำนักพิมพ์ นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ เลขมาตรฐานหนังสือ 9744725931 ว่าด้วยเหตุการณ์การเจริญสัมพันธไมตรีอันเป็นที่โจษจัน ระหว่างสมเด็จพระนารายณ์ กับพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 นั้น ข้ามสมุทร เล่าถึงเหตุการณ์นี้ผ่านมุมมองของคนไทย รุกสยามในนามของพระเจ้า เล่าถึงเหตุการณ์เดียวกันผ่านมุมมองของฝรั่งเศส ส่วน ฟอลคอนแห่งอยุธยา เล่าถึงมันผ่านมุมมองของคอนสแตนติน ฟอลคอน ฟอลคอนแห่งอยุธยา เป็นนวนิยายบอกเล่าชีวประวัติของคอนสแตนติน ฟอลคอน เป็นชีวประวัติอย่างละเอียดตั้งแต่ชีวิตวัยเด็กของเขา คือเราได้ยินชื่อฟอลคอนมาบ่อยมาก ในฐานะตัวร้ายในประวัติศาสตร์ชาติไทย ยุคพระนารายณ์ แต่นอกจากนั้นแล้ว เราไม่เคยรู้อะไรมากไปกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาในช่วงบั้นปลายชีวิตเลย หนังสือเล่มนี้ ทำให้เราได้รู้จักเขาในแง่มุมอื่น ได้รู้ที่มา ก่อนที่เขาจะมี จะเป็น อย่างที่เรารับรู้กันในประวัติศาสตร์ ฟอลคอนมีชีวิตที่ยากลำบากมาตั้งแต่เล็ก อาศัยอยู่ในหมู่บ้านลาคุสโตด อันเป็นหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ บนเกาะเซฟาโลเนีย ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเวนิส ในวันหนึ่ง ขณะที่เรือบลูเบิร์ดเพิ่งจะฝ่าคลื่นลมมรสุมมาได้อย่างสะบักสะบอม กัปตันโฮเวิร์ดก็ตัดสินใจแวะพัก และซ่อมเรือที่มีสภาพย่ำแย่ ณ เกาะเล็กๆ[…]

เรื่อง รุกสยามในนามของพระเจ้า ผู้แต่ง มอร์กาน สปอร์แตซ ผู้แปล กรรณิกา จรรย์แสง สำนักพิมพ์ มติชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9743237119 เราเคยเปิดเล่มนี้อ่านมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อหลายปีก่อน แต่ด้วยทั้งสำนวนภาษาโบราณ และชื่อตัวละครจำยาก ทำให้เราเปิดอ่านไปได้ไม่กี่หน้า แล้วก็ยอมแพ้ ปิดมันไป มาครั้งนี้ เรามีภูมิต้านทานแล้ว เรารู้อยู่แล้วว่าจะต้องเจอกับอะไร ทั้งยังมีพื้นฐานมาจากการอ่าน ข้ามสมุทร ที่เพิ่งจบไปแล้วนั้น การอ่านมันใหม่ในครั้งนี้จึงเกิดได้ง่ายขึ้น และลื่นไหลกว่าที่คิด รุกสยามในนามของพระเจ้า เริ่มต้นเรื่องด้วยคำบรรยายดุจสมุดบันทึกเล่มหนึ่ง เป็นบันทึกที่เล่นใหญ่มาก ออกตัวแรงมากว่าเป็นบันทึกที่เที่ยงตรงที่สุด มันคือบันทึกของชายชาวฝรั่งเศสผู้ไม่ประสงค์ออกนามคนหนึ่ง ที่ร่วมลงเรือเดินทางมากับขบวนเรือที่มายังสยาม (กับคณะทูตชุดที่สอง) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะยึดแผ่นดินสยามให้จงได้ ด้วยกุศโลบายที่แสนจะแยบยล ในตอนที่เราอ่านคำนำ .. คำว่า “ชวนหัว” และ “อารมณ์ขัน” ถูกพูดถึงบ่อยมาก ในคำนำทั้งสาม (คำนำสำนักพิมพ์ คำนำผู้เขียน และคำนำผู้แปล) ก่อนเริ่มต้นเล่าเรื่อง เรานึกไม่ออกเลยว่า เหตุการณ์ที่ฝรั่งเศสเดินเรือสำเภาขนาดใหญ่ ติดอาวุธ มุ่งตรงสู่สยาม เพื่อเผยแผ่ศาสนา เพื่อค้าขาย หรือเพื่อยึดเป็นอาณานิคม เป็นเรื่องตลกตรงไหน?[…]