เรื่อง สุริยวรรมันผู้แต่ง ทมยันตีสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรมเลขมาตรฐานหนังสือ 9744461373 สุริยวรรมัน เล่าเรื่องของกษัตริย์เขมรนาม สุริยวรมัน ที่ 2ตั้งแต่ในรัชสมัยของ พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1และมีการเท้าความเกี่ยวโยงไปถึงรัชกาลก่อนๆ คือพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2, พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3และพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (เรียงตามลำดับการครองราชย์) กล่าวคือ เมื่อ พระเจ้าสุริยวรรมันที่ 1 (พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1) สิ้นพระชนม์(ในเล่มนี้ ทุกพระนามที่ลงท้ายว่า ..วรมัน ผู้เขียนได้ใช้ตัวสะกดเป็น ..วรรมัน ทั้งสิ้นอาจจะต่างจากในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ แต่เราขอใช้ตามในหนังสือนะ) พระเจ้าอุทัยทิตยวรรมัน (พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2) ขึ้นครองราชย์เชื้อสายแห่งสุริยวรรมัน (ในที่นี้หมายถึง พิษณุหริเกศวร )ต้องนิราศมายั้งอยู่ ณ มหิธรปุระ (คงมีการชิงบัลลังก์กันมั๊ง)การนิราศร้างมาครั้งนั้น ทิวากร สทาศิวะ พราหมณาจารย์ ..หัวหน้าฝ่ายศาสนจักรคนสำคัญ ผู้ครองศักติแห่งโอษฐ์มหาเทวะและศักติแห่งโอษฐ์กษัตริย์ (รัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมัน ที่[…]

เรื่อง อธิราชา ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม เลขมาตรฐานหนังสือ 97444634449 ในช่วงต้น อธิราชา เล่าเรื่องคู่ขนานไปกับ แก้วกัลยาแห่งแผ่นดิน ต่างกันแต่เพียงว่า เล่มก่อนเล่าเรื่องมาจากทางฝั่งพม่า แต่ อธิราชา เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางฝั่งพระนเรศวรโดยละเอียด เริ่มเรื่องในตอนที่พระนเรศวรทรงรวบรวมไพร่พล หนีออกจากหงสาวดี (บางครั้งก็เรียกตามพม่าว่าหานตาวดี) จากนั้น ผู้เขียนก็เล่าประวัติศาสตร์ทั้งหมดในมุมของพระนเรศวร ซึ่งก็เน้นเป็นการทำศึกเกือบทั้งหมด เล่าถึงการประกาศอิสรภาพ การทำศึกต่างๆ ทั้งกับเขมร เชียงใหม่ พม่า ทั้งหงสาวดี อังวะ ตองอู ฯลฯ ทั้งเป็นฝ่ายป้องกันพระนคร และการยกทัพออกไปตีพม่า เล่าถึงเจ้าหญิงมิมณีจันทร์ อัครมเหสี พระนางเอกษัตรี ราชธิดาพระเจ้าศรีสุพรรณมาธิราช กษัตริย์เขมร และพระธิดาเจ้าเชียงใหม่ (ในปกครองของพม่า) (ไม่ทราบพระนาม) ซึ่งเป็นพระเมหสีอีกสองพระองค์ของพระนเรศวร ตอนที่เราอ่าน อธิราชา เราไม่รู้สึกเหมือนอ่านนิยาย แต่เหมือนการอ่านหนังสือเล่าประวัติศาสตร์มากกว่า เหมือนนั่งฟังคุณป้าคุณยายเล่าเรื่องพระนเรศวรให้ฟัง เพียงเปลี่ยนวิธีเล่าด้วยปากมาเป็นตัวหนังสือ มีอคติส่วนตัวทั้งทางบวกและลบลงไปนิดหน่อยพอชูรส ผู้เขียนแทรกตำราพิชัยสงคราม รวมทั้งบันทึกการศึกของพระนเรศวร[…]

เรื่อง แก้วกัลยาแห่งแผ่นดิน ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม เลขมาตรฐานหนังสือ 9744463053 แก้วกัลยาแห่งแผ่นดิน เป็นหนังสือเล่มต่อจาก กษัตริยา  อันเล่าถึงอยุธยาในช่วงเสียกรุงครั้งแรก ซึ่งในเล่มแรกนั้นจบลงเมื่อพระสุพรรณกัลยาต้องเสด็จไปยังหงสาวดี (ในเล่มนี้เรียก หานตาวดี .. อันเป็นคำที่พม่าใช้) เสด็จไปเพื่อทรงเป็นมีพะยาเง (มเหสีพระองค์เล็ก) ของพระเจ้าบุเรงนอง (ในเล่มนี้เรียกเมงเอกเระ) และในเล่มนี้ จะเล่าต่อจากตอนนั้น .. โดยเปลี่ยนถ่ายการเล่าจากมุมมองของสตรีหนึ่ง คือพระวิสุทธิกษัตรีย์ ไปยังมุมมองของอีกสตรีหนึ่ง .. คือ พระสุพรรณกัลยา .. อะเมี้ยวโยง .. โยงเจ (ทั้งสามชื่อนี้คือคนเดียวกัน) (อะเมี้ยวโยง แปลว่า นางผู้มีความเชื่อมั่นในเผ่าพันธุ์ตนเป็นที่ยิ่ง) (โยงเจ แปลว่า เชื่อหมดใจ ไว้เนื้อเชื่อใจโดยแท้) ถ้า กษัตริยา เป็นจินตนาการผสมประวัติศาสตร์ แก้วกัลยาแห่งแผ่นดิน ก็แทบจะเป็นจินตนาการล้วนๆ ด้วยว่าพงศาวดารที่บันทึกถึงพระสุพรรณกัลยานั้นมีน้อยมาก บางฉบับไม่เอ่ยพระนามด้วยซ้ำ .. และข้อความบางฉบับก็ขัดแย้งกัน จนต้องใช้วิจารณญาณว่าควรเชื่อฉบับไหนกันแน่ ซึ่งผู้เขียนก็ให้มาทั้งข้อความที่ขัดแย้งกัน และวิจารณญาณของผู้เขียนเอง[…]

เรื่อง กษัตริยา ตอน แก้วกษัตริยา ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม เลขมาตรฐานหนังสือ 9744462035 อ่านนิยายอิงประวัติศาสตร์ ก็จะพลาดงานของนักเขียนคนนี้ไม่ได้เลยค่ะ 🙂 ถ้าเทียบ กษัตริยา กับเรื่อง พ่อ ของคุณปองพล (ที่เราเพิ่งอ่านจบไป) สองเล่มนี้เล่าจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในช่วงเดียวกันเลย โดยเริ่มต้นเหลื่อมกันนิดหน่อย คือเล่มนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงครองราชย์แล้ว เริ่มต้นเมื่อก่อนทำศึกกับบุเรงนองครั้งแรก ชนวนศึกคือ คือพระเจ้าหงสาวดีบุเรนองมีพระราชสาส์นมาขอช้างเผือกจากพระมหาจักรพรรดิ และเมื่อทางอยุธยาไม่ให้ จึงถือเป็นสาเหตุให้ยกทัพมาตี (ฟังดูคล้ายๆ นิทานหมาป่ากับลูกแกะ .. อ้างแค่นี้ก็เป็นความชอบธรรมที่จะยกทัพมาตีแล้ว?) เนื้อหาในเล่มแรกนี้ ทมยันตีเล่าด้วยมุมมองผ่านสายตาคนไทยเพียงเท่านั้น ในขณะที่คุณปองพลเล่าผ่านตัวละครทั้งฝ่ายไทยและพม่า และทั้งสองเล่มแตกต่างกันในรายละเอียด และส่วนต่างนี้เองที่ทำให้เราขบวิเคราะห์ ว่าส่วนใดคือประวัติศาสตร์ และส่วนใดคือจินตนาการของผู้เขียน สำหรับ กษัตริยา ผู้เขียนจะเน้นเล่าไปในมุมมองของสตรี .. สตรีอันเป็นเลือดเนื้อเชื่อไขของพระมหาจักรพรรดิ กับสมเด็จพระศรีสุริโยทัย คือพระสวัสดิราช หรือพระวิสุทธิกษัตรีย์ เนื้อหาก็จะดราม่าหน่อยๆ ตามสไตล์ผู้เขียน เพราะนางเอกของทมยันตี มีทิฐิทุกคน แม้แต่นิยายอิงประวัติศาสตร์ก็ยังเป็นเช่นนั้น กษัตริยา เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ด้วยนวนิยายผสมกับพงศาวดาร[…]

เรื่อง แก้วกลางดง ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ราคา 300 บาท นิยายเรื่องนี้ถือกำเนิดขึ้นในยุคที่บ้านเมืองยังมีป่าสมบูรณ์ และป่ายังมีสัตว์ป่าให้ล่าไม่รู้หมด ลองเทียบดูปีที่พิมพ์ .. 2519 นิยายเรื่องนี้คงถูกเขียนขึ้นระหว่าปี 2516 กับ 2519 (ในตอนจบเฉลยว่าเขียนจบในปี 2518) เดาดูแล้วผู้ก่อการร้ายในเรื่องนี้ คงหนีไม่พ้นกลุ่มคอมมิวนิสต์ และอาจรวมไปถึงเหล่านักศึกษาที่หนีเข้าป่ากันในเป็นจำนวนมากในยุคนั้นนั่นแหละ เพียงแต่ทมยันตีละเว้นเอาไว้ ไม่ได้ลงรายละเอียดมาก กลับไปเน้นตรงความใสสะอาดของชนเผ่าชาวเขาเสียมากกว่า ซึ่งก็ทำให้เนื้อเรื่องไม่ฮาร์ดคอร์ การเมืองจ๋า .. กลายเป็นเพียงนิยายรักกุ๊กกิ๊ก น่ารักเรื่องหนึ่ง ความทะนงตนของทรงเผ่า ทำให้ตาจั่น พรานป่าเจ้าถิ่น เพื่อนเก่าเพื่อนแก่ของพ่อ ต้องจบชีวิตลงเพื่อปกป้องเขา เขารอดชีวิต แต่เมียวดี .. ลูกสาวตาจั่น จะเหลือเพียงลำพังตัวคนเดียว เมียวดี .. ที่ตาจั่นฝากไว้กับเขา เมียวดี .. มิยาวดี .. คือกระแตป่า มันแสบ มันซน[…]

เรื่อง แม่ดอกสวะ ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ราคา 200 บาท แม่ดอกสวะ ถูกแต่งขึ้นในยุคฟองสบู่แตก เนื้อหาร่วมยุคร่วมสมัยในตอนนั้น เสียดสีเบาๆ ขำขันพอให้ผู้คนหายเครียด แต่ก็แทรกธรรมะสอนใจ ปลอบใจผู้คนเอาไว้ด้วย .. สำนวนและวิธีเล่าทำนองเดียวกับ ถนนสายหัวใจ ไอ้คุณผี ฯลฯ ทำนองนั้น ชีวิตไอ้วา ก็คล้ายๆ กับไอ้เรือง จากเรื่องดาวเรือง แต่ไอ้เรืองมันเป็นสาวชาวบ้าน ในขณะที่ไอ้วามันเป็นสาวชาวเมือง ไม่ใช่ชานๆ เมือง แต่อยู่กลางเมืองทีเดียวแหละ แออัดหนาแน่นอยู่ในชุมชนวัดชีแวะ วางตัวเป็นลูกพี่ตัวเบ้งไม่กลัวใคร ทำหมดทั้งเรื่องถูกกฏหมายผิดกฏหมาย แต่น้ำใจมันเท่าแม่น้ำลำคลอง ช่วยทุกคนที่เดือดร้อน .. ในแบบของมัน ก็แบบๆ เดียวกับไอ้เรืองนั่นแหละ ไอ้วา คือเด็กสาวแสนแสบ ที่กำพร้าทั้งพ่อและแม่ ถูกลอยแพมาบนกอสวะ เลยถูกตั้งชื่อให้ว่าชวา .. อันน่าจะมาจากผักตบชวา และกลายเป็นไอ้วา ไอ้พี่วา ของคนทั้งชุมชน ‘ชีแวะ’ ชีวิตไอ้วารันทดกว่าดาวเรืองไปอีกหลายเท่า[…]

เรื่อง สายรุ้ง ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ราคา (เล่มละ) 220 บาท (2 เล่มจบ) จดหมายฉบับหนึ่งได้ฉีกสองทางชีวิตให้แยกจากกันไปสุดหล้า แต่แล้ว พระพรหมก็ดลบันดาลให้มันวกกลับมาบรรจบกันอีกครั้ง เพื่อสะสางทุกปมที่ค้างคา ความตาย การเกิดใหม่ ความแค้น และหนทางแก้แค้น นำมาซึ่งความเจ็บช้ำทั้งสองฝ่าย สูญเสียทั้งสองฝ่าย และ .. หรือ .. มันจะสายเกินแก้? ตอนรีวิว อย่าลืมฉัน ก็บอกทีนึงแล้วว่าเหมือน สายรุ้ง พอจะมารีวิวสายรุ้ง ก็อดบอกซ้ำไม่ได้ค่ะ ว่ามันเหมือนอย่าลืมฉัน เมื่อเราอ่านเล่มหนึ่ง ก็มักจะคิดถึงอีกเล่มหนึ่งทุกทีไป สายรุ้ง เป็นนิยายเก่าแก่ตั้งแต่ปี 2512 .. เป็นรุ่นพี่ อย่าลืมฉัน อยู่ 8 ปี (อย่าลืมฉัน ปี 2520) นางเอกเป็นนางแบบ จึงเป็นนางแบบยุคโบราณ แฟชั่นโบราณ[…]

เรื่อง ร่มฉัตร ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ราคา (เล่มละ) 360 บาท (2 เล่มจบ) ร่มฉัตร เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่เล่าเรื่องผู้คนในยุคสมัยโบราณ เป็นนิยายที่เราได้ยินคนพูดถึงกันมานานมากแล้ว ในแง่ของการเป็นนิยายพีเรียด เล่าเรื่องราวชีวิตของแม้นวาด ผู้หญิงที่มีอายุข้ามผ่านเวลามายาวนานถึงห้าแผ่นดิน เรามักได้ยินการเอ่ยชื่อ ร่มฉัตร ควบคู่ไปกับ สี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช และ รัตนโกสินทร์ ของ ว.วินิจฉัยกุล แต่เมื่ออ่านครบทุกเล่มแล้วพบว่า ถ้ายกเอาสี่แผ่นดินเป็นที่ตั้ง รัตนโกสินทร์มีความแตกต่างกับสี่แผ่นดินเกือบจะโดยสิ้นเชิง ในขณะที่ร่มฉัตร แทบจะยึดสี่แผ่นดินเป็นสรณะเลยทีเดียว ตัวละครจากเรื่องสี่แผ่นดินและร่มฉัตรแทบจะจับคู่กันได้เป็นคู่ๆ ทีเดียว เริ่มตั้งแต่แม่พลอย (จากสี่แผ่นดิน) และแม่วาด (ในเรื่องนี้) ผู้เป็นกำพร้าแม่ตั้งแต่เล็ก และถูกส่งตัวเข้าไปเป็นสาวชาววังตั้งแต่ก่อนโกนจุก พ่อเพิ่มจากเรื่องหนึ่ง กับพ่อนวมจากอีกเรื่องหนึ่ง พี่น้องของนางเอกผู้มีอุปนิสัยคล้ายๆ กัน คุณสาย กับคุณหยด หญิงชาววังที่มีหลานสาวแสนแสบ – เพื่อนสนิทแม่พลอย[…]

เรื่อง ใยเสน่หา ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ราคา (เล่มละ) 220 บาท (2 เล่มจบ) ใยเสน่หา เป็นนิยายที่เกิดขึ้นหลังยุคฟองสบู่แตกหมาดๆ ผู้เขียนหยิบฉากเหตุการณ์นั้นมาสวมเข้ากันกับพล็อตเดิมอันคุ้นเคย ในตอนเริ่มต้น มีสำนวนการเขียนไปในแนวเดียวกันกับ พี่เลี้ยง และ คำมั่นสัญญาค่ะ ภาพเหตุการณ์ในวัยเยาว์ มีความยาวเกินครึ่งหนึ่งของพื้นที่ในเล่มแรก การะบุหนิง หรือ คุณคนเล็ก เด็กหญิงผู้ขาดแม่ อาศัยอยู่กับบิดาที่เป็นนาวาเอก ทหารเรือนอกราชการ มีพี่เลี้ยงที่รักและภักดีต่อครอบครัวสองคน คือแม่ละม่อมและแม่ละม้าย เด็กหญิงวางตัวเป็นท่านหัวหน้า มีบริวารเด็กผู้ชายพากันซนอีกเป็นโขยง ซอนซุกไปในสวนและตามลำคลองลำประโดง มอมแมมอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ด้วยความแสบและไม่เคยยอมใคร .. ในวันหนึ่ง เมื่อมีสองแม่ลูกก้าวเข้ามาในบ้าน .. คุณเปรมา และปารินทร์ คุณคนเล็กของบ้านจึงแผลงฤทธิ์ .. นางเอกของทมยันตี ทิฐิสูงเกือบทุกคน ยิ่งคุณคนเล็ก คนนี้ ยิ่งถือทิฐิแบบไม่มีเหตุผล โกรธก็โกรธพ่วงแถมมาตั้งแต่เด็ก โตแล้วก็ยังฤทธิ์มาก ฝ่ายปารินทร์[…]

เรื่อง เจ้าแม่ ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ราคา 300 บาท หยิบเล่มใหม่มาอ่าน เปลี่ยนฉาก เปลี่ยนภูมิประเทศ เปลี่ยนตัวละคร หากแต่ยังคงเป็นเรื่องราวเดิมๆ เรื่องราวของชนกลุ่มน้อย .. ตองยี ในพะม่า (พม่า) ถ้ารู้ว่า เจ้าแม่ เป็นเรื่องแนวนี้ คงหยิบมาอ่านตั้งแต่ตอนที่อ่าน สิ้นแสงฉาน, เกนรี มายรี, โลกประหลาดในประวัติศาสตร์ความเศร้า ฯลฯ ดูมันเข้ากันดีกับหนังสือกลุ่มนั้น .. และถึงแม้พล็อตของ เจ้าแม่ จะเล่าถึงเรื่องเดิมๆ แต่นิยายเล่มนี้กลับมีรสชาติแปลกไปกว่าเล่มอื่นๆ ที่เคยอ่านมา ตองยี แม้อยู่ในพะม่า (พม่า) หากแต่ก็ใกล้จีน มีเชื้อสายจีน วัฒนธรรมจีนผสานอยู่กลมกลืน ทมยันตีเก่ง เขียนเรื่องไทย วัฒนธรรม ภาพฉาก สิ่งแวดล้อม ภาษาก็ไทยไปหมด เขียนเรื่องเจ้าหญิงเจ้าชายที่เรียกกันว่าลิเกฝรั่ง ก็กลมกลืนไม่ขัดเขิน เขียนเรื่องอินเดียนแดง บรรยากาศไปจนถึงภาษาที่เล่าก็เป็นอินเดียนแดง และในตอนนี้[…]