หนังสือชุด ๑๐๐ ปีขุนวิจิตรมาตราเรื่อง กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้ผู้แต่ง กาญจนาคพันธุ์สำนักพิมพ์ สารคดีเลขมาตรฐานหนังสือ 9744840064 นับได้ กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้ ว่าเป็นภาคต่อของหนังสือ เด็กคลองบางหลวงคือผู้เขียนกำลังจะเข้าโรงเรียน จึงได้ย้ายมาอยู่กับอาผัน อาแท้ๆ ของผู้เขียนผู้ซึ่งมีอาชีพเป็นช่างทำฟันมีชื่อเสียงบนถนนแพร่งนรา(ในเล่มจึงมีการเล่าเรื่องร้านหมอฟันและการทำฟันสมัยเมื่อร้อยกว่าปีก่อนด้วย)เมื่อผู้เขียนย้ายมาอยู่กับอา ก็ได้เที่ยวเล่นอยู่ในย่านนั้นเป็นเวลาหลายปีจึงได้รื้อความทรงจำนำเรื่องย่านต่างๆ ในเขตพระนครไม่ว่าจะเป็นย่านสามแพร่ง ถนนตีทอง ถนนเฟื่องนคร ถนนอัษฎางค์ ถนนราชินีถนนตะนาว ถนนดินสอ ถนนมหาราช ถนนสนามไชย ถนนมหาไชยถนนหน้าพระลาน ถนนท้ายวัง ถนนหน้าพระธาตุ ถนนราชดำเนินนอกถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินใน ถนนเจริญกรุง ถนนบ้านหม้อถนนราชวงศ์ ถนนบำรุงเมือง ฯลฯ ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ(ราวร้อยปีก่อน) มาเล่าให้เราฟังรวมไว้ในเล่มนี้ ซึ่งที่ผู้เขียนเล่านี้ ยอมรับว่าบางเราเรื่องก็นึกตามได้ยากเหมือนกันเนื่องด้วยว่ายุคสมัยต่างกันมากและภาพของสถานที่ต่างๆ ที่ผู้เขียนเล่าถึง เราก็ยังไม่แม่นพอบางครั้งผู้เขียนบอกเส้นทางวนไปมากลับมาที่เดิมอีกครั้งอ่านผ่านๆ ก็ทำให้เบลอได้ บางครั้งเมื่อถึงสี่แยก ผู้เขียนพูดถึงฝั่งตรงข้ามก็นึกตามไม่ถูกว่าฝั่งไหนมัวแต่งงๆ ความสนุกเลยลดลงไปอย่างน่าเสียดายแต่ผู้เขียนก็ได้ย้อนกลับมาเล่าซ้ำถึงบางสถานที่บ้าง เพราะถนนทอดตัดกันไปมาเมื่อเล่าถึงเส้นถนนที่เคยเล่าแล้วก็มีการเท้าความให้พอจำได้พออ่านซ้ำๆ เข้าก็เริ่มมีภาพในหัว ช่วยให้พอนึกตามได้บ้างและอ่านไปก็ต้องคอยเปิดแผนที่ประกอบไปด้วย การอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ เล่าเรื่องสมัยก่อนเราพบว่าหนังสือที่อ่านไปหลายเล่มเล่าเรื่องในยุคเดียวกันบางครั้งก็เล่าเรื่องเดียวกันอย่างเรื่องสนามน้ำจืด ซึ่งเป็นประปาแห่งแรกของเมืองไทยหรือเรื่องท่าช้างที่มีการพาช้างหลวงไปอาบน้ำเรื่องถนนสายเก่าอย่างเจริญกรุง บำรุงเมือง[…]

ของเก่าเราลืม ชุดเรื่อง ลำคู รูคลองผู้แต่ง สรศัลย์ แพ่งสภาสำนักพิมพ์ พี.วาทิน พลับลิเคชั่น จำกัดเลขมาตรฐานหนังสือ – แซ่บตั้งแต่เริ่มอ่านเลยทีเดียวผู้เขียนสามารถเอาคำว่า บรรลัยจักรเข้าไปใส่ในคำนำได้อย่างหน้าตาเฉยภายในเล่มก็เล่าได้เสียดสี ประชดประชันถึงใจ .. สำนวนแสบสันต์ ดุเด็ดเผ็ดมันส์จนหลงลืมตัวไปว่านี่เรากำลังอ่านหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์!   ลำคู รูคลอง เล่มนี้ไม่ได้เล่าเรื่องแม่น้ำลำคลองแต่อย่างเดียวแต่เล่าประวัติศาสตร์ผ่านประสบการณ์ของผู้เขียน (พ.ศ. 2463 – 2552)ชื่อ ลำคู รูคลอง เป็นเพียงบทหนึ่งในเรื่องราวทั้งหมด(ภายในเล่มใช้ชื่อว่า ลำคู ลำคลอง) ผู้เขียนเปิดด้วยบทแรกที่กระตุกอารมณ์ให้ฮึกเหิม คึกคัก ตั้งแต่แรกอ่านเล่าเรื่องเบื้องลึกเบื้องหลังของการเดินขบวนเรียกร้องดินแดนแถบฝั่งตะวันออกคืนจากประเทศฝรั่งเศส ในยุคสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงครามเล่าผ่านประสบการณ์ของผู้เขียน ซึ่งเป็นนิสิต คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ อยู่ในเวลานั้น นอกจากนั้น ผู้เขียนยังเล่าเรื่องยุวชนทหารเรื่องลูกเสือ พ่วงเรื่องงานฉลองรัฐธรรมนูญ และการประกวดนางงามเล่าเรื่องรถม้า ควบเรื่องการตัดถนนยุคแรกๆ เล่าเรื่องถนนเจริญกรุง เฟื่องนคร ฯลฯเล่าถึงช้างที่ชื่อว่าพลายมงคลซึ่งเราว่าน่าจะเป็นช้างเดียวกันกับ ช้างพลายมงคลผู้อาภัพ ที่เคยอ่านตอนเด็กๆเล่าเรื่องน้ำประปา เรื่องถนน เรื่องคลอง เรื่องเรือโดยสารสมัยนั้นเล่าเรื่องเครื่องบิน และการถือกำเนิดกองทัพอากาศไทยเล่าเรื่องมหกรรมการคล้องช้างที่รัฐบาลจัดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 8 ฯลฯในมุมที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตของผู้เขียนเองป็นส่วนมากที่อ่านจากหนังสือประวัติศาสตร์เล่มอื่นแล้วเอามาเล่าต่อก็มีบ้างแต่เล่าด้วยสำนวนเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์ของผู้เขียนเองทำให้หนังสือเล่มนี้ไม่ซ้ำกับหนังสือเล่มไหนๆ ตอนที่เราอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ยุคสงครามก็ปลุกใจฮึกเหิมให้รักชาติกันไปแต่พอมาอ่านประวัติศาสตร์เล่าเรื่องเมืองเก่าของเราแต่ก่อนแบบนี้มันชวนให้ปลงว่าไม่มีสิ่งใดจีรังสิ่งของใดเคยมีค่าเหลือคณา[…]