เรื่อง รุ้งไม่จางผู้แต่ง รัศมีจันทร์สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรมเลขมาตรฐานหนังสือ 9786162142017 รุ้งไม่จาง เป็นนิยายเรื่องแรกของรัศมีจันทร์ ที่เราได้อ่านค่ะมันเป็นหนังสือที่เรามีโอกาสได้อ่านมันเข้าโดยบังเอิญ .. หรือจะเรียกว่าพรหมลิขิตดีนะ? เราได้รับหนังสือเล่มนี้ได้รับมาจากคู่ Book Blind Dateประจำเดือนแห่งความรักในปี 2020 นี้จากกลุ่มอ่านหนังสือ กองดองเธอนั้น อ่านมันเถอะนะ รุ้งไม่จาง เล่าเรื่องของหญิงสาวกำพร้าครอบครัวคนหนึ่ง นามว่า ธารดาการกำพร้าของธารดานั้น สร้างบาดแผลหลายประการให้เธอทำให้เธอมีบุคลิกภาพที่กร้านแข็งและปิดกั้นตนเองจากความรู้สึกดีๆ ทุกประการ ตัวละครอีกคนหนึ่ง โด่ง หรือดลภาค รุ่งพิพัฒกิจคือเพื่อนสนิทตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัยเป็นเพื่อนต่างเพศ และต่างฐานะ ที่ร่วมหุ้นเปิดบริษัทด้วยกันแต่ยังค่ะ เขาคนนี้ยังไม่ใช่พระเอกพระเอกของเรื่องนี้ ไฮโซววววกว่านั้นอีกหลายเท่า เรืองรอง เรืองเทพ พระเอกของเรื่องเป็นลูกชายของกรรมการผู้จัดการ เจ้าของธนาคารใหญ่หล่อ รวย โสด นิสัยดี อบอุ่น อ่อนโยน ครบเซ็ต รุ้งไม่จาง สำหรับเรา ถือว่าเป็นนิยายรสชาติแปลก แบบที่เราไม่ค่อยได้อ่านนักเรียกได้ว่า มันเปิดโลกใหม่สำหรับเราซึ่งจริงๆ แล้วก็อดนึกดีใจไม่ได้ว่าเมื่อยุคสมัยที่เรายังเด็ก ไม่มีหนังสือทำนองนี้ให้อ่านมากนักไม่อย่างนั้นมันคงสร้างค่านิยมอีกอย่างหล่อหลอมให้เราเป็นคนอีกแบบ .. ในรูปแบบที่เราไม่ค่อยอยากเป็นนัก ตัวละครธารดาในเรื่องนี้[…]

เรื่อง จันทรา อุษาคเนย์ผู้แต่ง วรรณวรรธน์สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรมเลขมาตรฐานหนังสือ 9789744468666เลขมาตรฐานหนังสือ9789744468659 จันทรา อุษาคเนย์ เป็นนวนิยายย้อนยุคเรื่องแรกๆ ที่เราได้อ่านที่ผู้เขียนพาตัวละครย้อนยุคกลับไปในอดีตในยุคที่เก่าแก่กว่ารัตนโกสินทร์ และอยุธยา ที่เริ่มซ้ำ และเราเริ่มเบื่อกัน ถ้าจะอ่านโยงเรื่องกันให้สนุกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหนังสือเล่มนี้ เกิดขึ้นไล่เลี่ยกันกับใน หุบเขากินคนโดยที่เรื่องราวใน จันทรา อุษาคเนย์ เล่มนี้ เกิดขึ้นหลังจากนั้นนิดหน่อย เมื่อ หุบเขากินคน เล่าเรื่องราวในยุคที่อาณาจักรฟูนันใกล้จะจบลงเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายจากอาณาจักรฟูนัน มาเป็นอาณาจักรเจนละซึ่งตามประวัติศาสตร์ ในยุคที่อาณาจักรฟูนันกำลังรุ่งเรืองอยู่ในเมือง วยาธปุระ นั้นพื้นที่โดยรอบซึ่งห่างออกมาไม่ไกลนักก็มีประชาชนอยู่รวมกันเป็นชุมชนน้อยใหญ่เช่นกัน โดยชุมชนที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่น่าจับตาชุมชนหนึ่งนั้นตั้งอยู่ที่เมือง เศรษฐปุระ(บริเวณเดียวกันกับเมืองจำปาศักดิ์ ประเทศลาวในปัจจุบัน)และที่เมืองนี้เอง ที่เป็นฉากของเรื่อง จันทรา อุษาคเนย์ เล่มนี้ เหตุการณ์ในเมืองวยาธปุระนั้น ถูกเล่าเอาไว้ใน หุบเขากินคน ว่าเมื่อพระเจ้าโกณฑิญญะชัยวรมัน แห่งอาณาจักรฟูนันสิ้นพระชนม์อาณาจักรฟูนันเริ่มอ่อนแอ เกิดการแก่งแย่งชิงบัลลังก์กันระหว่างเจ้าชายคุณวรมัน โอรสในมเหสีกุลประภาวดีกับพระเชษฐาต่างพระมารดา คือ เจ้าชายรุทรวรมัน (โอรสในนางชุลา)ซึ่งสุดท้าย เจ้าชายรุทรวรมัน ก็ปลงพระชนม์เจ้าชายคุณวรมันและขึ้นเป็น พระเจ้ารุทวรมัน กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรฟูนันได้ในที่สุดนั่นคือยุคที่ฟูนันกำลังเสื่อม และใกล้จะสิ้นสุด ขณะเดียวกัน ที่เมืองเศรษฐปุระ[…]

เรื่อง สุริยวรรมันผู้แต่ง ทมยันตีสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรมเลขมาตรฐานหนังสือ 9744461373 สุริยวรรมัน เล่าเรื่องของกษัตริย์เขมรนาม สุริยวรมัน ที่ 2ตั้งแต่ในรัชสมัยของ พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1และมีการเท้าความเกี่ยวโยงไปถึงรัชกาลก่อนๆ คือพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2, พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3และพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (เรียงตามลำดับการครองราชย์) กล่าวคือ เมื่อ พระเจ้าสุริยวรรมันที่ 1 (พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1) สิ้นพระชนม์(ในเล่มนี้ ทุกพระนามที่ลงท้ายว่า ..วรมัน ผู้เขียนได้ใช้ตัวสะกดเป็น ..วรรมัน ทั้งสิ้นอาจจะต่างจากในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ แต่เราขอใช้ตามในหนังสือนะ) พระเจ้าอุทัยทิตยวรรมัน (พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2) ขึ้นครองราชย์เชื้อสายแห่งสุริยวรรมัน (ในที่นี้หมายถึง พิษณุหริเกศวร )ต้องนิราศมายั้งอยู่ ณ มหิธรปุระ (คงมีการชิงบัลลังก์กันมั๊ง)การนิราศร้างมาครั้งนั้น ทิวากร สทาศิวะ พราหมณาจารย์ ..หัวหน้าฝ่ายศาสนจักรคนสำคัญ ผู้ครองศักติแห่งโอษฐ์มหาเทวะและศักติแห่งโอษฐ์กษัตริย์ (รัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมัน ที่[…]

เรื่อง อธิราชา ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม เลขมาตรฐานหนังสือ 97444634449 ในช่วงต้น อธิราชา เล่าเรื่องคู่ขนานไปกับ แก้วกัลยาแห่งแผ่นดิน ต่างกันแต่เพียงว่า เล่มก่อนเล่าเรื่องมาจากทางฝั่งพม่า แต่ อธิราชา เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางฝั่งพระนเรศวรโดยละเอียด เริ่มเรื่องในตอนที่พระนเรศวรทรงรวบรวมไพร่พล หนีออกจากหงสาวดี (บางครั้งก็เรียกตามพม่าว่าหานตาวดี) จากนั้น ผู้เขียนก็เล่าประวัติศาสตร์ทั้งหมดในมุมของพระนเรศวร ซึ่งก็เน้นเป็นการทำศึกเกือบทั้งหมด เล่าถึงการประกาศอิสรภาพ การทำศึกต่างๆ ทั้งกับเขมร เชียงใหม่ พม่า ทั้งหงสาวดี อังวะ ตองอู ฯลฯ ทั้งเป็นฝ่ายป้องกันพระนคร และการยกทัพออกไปตีพม่า เล่าถึงเจ้าหญิงมิมณีจันทร์ อัครมเหสี พระนางเอกษัตรี ราชธิดาพระเจ้าศรีสุพรรณมาธิราช กษัตริย์เขมร และพระธิดาเจ้าเชียงใหม่ (ในปกครองของพม่า) (ไม่ทราบพระนาม) ซึ่งเป็นพระเมหสีอีกสองพระองค์ของพระนเรศวร ตอนที่เราอ่าน อธิราชา เราไม่รู้สึกเหมือนอ่านนิยาย แต่เหมือนการอ่านหนังสือเล่าประวัติศาสตร์มากกว่า เหมือนนั่งฟังคุณป้าคุณยายเล่าเรื่องพระนเรศวรให้ฟัง เพียงเปลี่ยนวิธีเล่าด้วยปากมาเป็นตัวหนังสือ มีอคติส่วนตัวทั้งทางบวกและลบลงไปนิดหน่อยพอชูรส ผู้เขียนแทรกตำราพิชัยสงคราม รวมทั้งบันทึกการศึกของพระนเรศวร[…]

เรื่อง แก้วกัลยาแห่งแผ่นดิน ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม เลขมาตรฐานหนังสือ 9744463053 แก้วกัลยาแห่งแผ่นดิน เป็นหนังสือเล่มต่อจาก กษัตริยา  อันเล่าถึงอยุธยาในช่วงเสียกรุงครั้งแรก ซึ่งในเล่มแรกนั้นจบลงเมื่อพระสุพรรณกัลยาต้องเสด็จไปยังหงสาวดี (ในเล่มนี้เรียก หานตาวดี .. อันเป็นคำที่พม่าใช้) เสด็จไปเพื่อทรงเป็นมีพะยาเง (มเหสีพระองค์เล็ก) ของพระเจ้าบุเรงนอง (ในเล่มนี้เรียกเมงเอกเระ) และในเล่มนี้ จะเล่าต่อจากตอนนั้น .. โดยเปลี่ยนถ่ายการเล่าจากมุมมองของสตรีหนึ่ง คือพระวิสุทธิกษัตรีย์ ไปยังมุมมองของอีกสตรีหนึ่ง .. คือ พระสุพรรณกัลยา .. อะเมี้ยวโยง .. โยงเจ (ทั้งสามชื่อนี้คือคนเดียวกัน) (อะเมี้ยวโยง แปลว่า นางผู้มีความเชื่อมั่นในเผ่าพันธุ์ตนเป็นที่ยิ่ง) (โยงเจ แปลว่า เชื่อหมดใจ ไว้เนื้อเชื่อใจโดยแท้) ถ้า กษัตริยา เป็นจินตนาการผสมประวัติศาสตร์ แก้วกัลยาแห่งแผ่นดิน ก็แทบจะเป็นจินตนาการล้วนๆ ด้วยว่าพงศาวดารที่บันทึกถึงพระสุพรรณกัลยานั้นมีน้อยมาก บางฉบับไม่เอ่ยพระนามด้วยซ้ำ .. และข้อความบางฉบับก็ขัดแย้งกัน จนต้องใช้วิจารณญาณว่าควรเชื่อฉบับไหนกันแน่ ซึ่งผู้เขียนก็ให้มาทั้งข้อความที่ขัดแย้งกัน และวิจารณญาณของผู้เขียนเอง[…]

เรื่อง กษัตริยา ตอน แก้วกษัตริยา ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม เลขมาตรฐานหนังสือ 9744462035 อ่านนิยายอิงประวัติศาสตร์ ก็จะพลาดงานของนักเขียนคนนี้ไม่ได้เลยค่ะ 🙂 ถ้าเทียบ กษัตริยา กับเรื่อง พ่อ ของคุณปองพล (ที่เราเพิ่งอ่านจบไป) สองเล่มนี้เล่าจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในช่วงเดียวกันเลย โดยเริ่มต้นเหลื่อมกันนิดหน่อย คือเล่มนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงครองราชย์แล้ว เริ่มต้นเมื่อก่อนทำศึกกับบุเรงนองครั้งแรก ชนวนศึกคือ คือพระเจ้าหงสาวดีบุเรนองมีพระราชสาส์นมาขอช้างเผือกจากพระมหาจักรพรรดิ และเมื่อทางอยุธยาไม่ให้ จึงถือเป็นสาเหตุให้ยกทัพมาตี (ฟังดูคล้ายๆ นิทานหมาป่ากับลูกแกะ .. อ้างแค่นี้ก็เป็นความชอบธรรมที่จะยกทัพมาตีแล้ว?) เนื้อหาในเล่มแรกนี้ ทมยันตีเล่าด้วยมุมมองผ่านสายตาคนไทยเพียงเท่านั้น ในขณะที่คุณปองพลเล่าผ่านตัวละครทั้งฝ่ายไทยและพม่า และทั้งสองเล่มแตกต่างกันในรายละเอียด และส่วนต่างนี้เองที่ทำให้เราขบวิเคราะห์ ว่าส่วนใดคือประวัติศาสตร์ และส่วนใดคือจินตนาการของผู้เขียน สำหรับ กษัตริยา ผู้เขียนจะเน้นเล่าไปในมุมมองของสตรี .. สตรีอันเป็นเลือดเนื้อเชื่อไขของพระมหาจักรพรรดิ กับสมเด็จพระศรีสุริโยทัย คือพระสวัสดิราช หรือพระวิสุทธิกษัตรีย์ เนื้อหาก็จะดราม่าหน่อยๆ ตามสไตล์ผู้เขียน เพราะนางเอกของทมยันตี มีทิฐิทุกคน แม้แต่นิยายอิงประวัติศาสตร์ก็ยังเป็นเช่นนั้น กษัตริยา เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ด้วยนวนิยายผสมกับพงศาวดาร[…]

เรื่อง ละครเล่ห์เสน่หา ผู้แต่ง กิ่งฉัตร สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม (ปัจจุบันพิมพ์กับ สนพ. อรุณ) ราคา 80 บาท (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปีพ.ศ. 2537) ละครเล่ห์เสน่หา เป็นอีกนิยายเล่มบางๆ ใกล้เคียงกับบ้านอัญชัญ ดีขึ้นหน่อยตรงที่เล่มนี้เป็นเรื่องเดียวตลอดเล่ม และมีเนื้อหาใกล้เคียงนิยายมากกว่าเรื่องสั้น ละครเล่ห์เสน่หาเป็นนิยายพล็อตน่ารักๆ เรื่องหนึ่ง ที่ว่าด้วยความสนิทของสองครอบครัวตั้งแต่รุ่นแม่ ที่ตั้งใจให้ลูกสาวและลูกชายของอีกฝ่ายแต่งงานกัน ดูๆ ไป ก็คล้ายๆ เป็นการคลุมถุงชนยุคใหม่ ต่างกันแต่เพียงว่าฝ่ายที่จะถูกคลุมถุงชนเป็นเด็กยุคใหม่ จึงไม่ยอมตกลงง่ายๆ เหมือนสมัยก่อน เมื่อไม่ยอม นัฏศิมาจึงต้องวางแผนเพื่อล้มเลิกการแต่งงานครั้งนี้ เรื่องราวการต่อต้านแบบเด็กๆ กับมหกรรมแผนซ้อนแผนซ้อนแผนสามชั้นแปดตลบจึงเกิดขึ้น นิยายเรื่องนี้อ่านสนุก นางเอก แม้จะเป็นเด็กดื้อ แต่ก็ดื้อแบบเด็กดีที่รู้จักผิดชอบชั่วดี (ที่แอบหลงผิดไปบ้าง) ทำผิดก็รู้สึกผิด และยอมรับผิด มีสัมมาคาราวะ พล็อตเรื่องมีกลเม็ดซ้อนแผนให้ขำๆ ตามแบบกิ่งฉัตร สำนวน เนื้อเรื่องไหลลื่น อ่านเพลิน[…]

เรื่อง บ้านอัญชัน ผู้แต่ง กิ่งฉัตร สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม (ปัจจุบันพิมพ์กับ สนพ. อรุณ) ราคา 60 บาท (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปีพ.ศ. 2539) นิยายเรื่องนี้ แม้จะไม่ได้พิมพ์เป็นเรื่องแรกๆ ของกิ่งฉัตร หากแต่เป็นนิยายลำดับแรกๆ ที่พี่ปุ้ยเขียน และเพราะเป็นเรื่องแรกๆ ที่เริ่มเขียน นิยายเรื่องนี้จึงเป็นนิยายที่ไม่ยาวนัก เรียกว่าเป็นเรื่องสั้นยังได้ แถมยังเป็นแบบรวมเรื่องสั้นเสียด้วย โดยมีเรื่องหลักชื่อเรื่อง “บ้านอัญชัน” และมีเรื่องสั้น (กว่า) อีก 3 เรื่อง คือแม่เอ๋ย..แม่กา ไฟแค้น และด้วยรักหรือฆาตกรรม ขอเริ่มกันที่บ้านอัญชันก่อนแล้วกัน บ้านอัญชัน ไม่เชิงเป็นนิยายรัก สืบสวนสอบสวนแนวที่กิ่งฉัตรเขียนบ่อยๆ ในปัจจุบัน แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีกลิ่นอายความลึกลับ และสืบเสาะความจริงอยู่ สปอยล์นิดนึงนะคะ ถ้าอ่านถึงตอนจบ ก็ชวนให้นึกถึงหนังสยองขวัญสุดคลาสสิคเรื่องไซโคอยู่เหมือนกัน มาดูเนื้อหาแบบที่ไม่สปอยล์กันบ้าง .. เสียงทะเลาะกันที่แว่วตามลมมาจากบ้านติดกันในยามวิกาล[…]

โฉบไปเก็บบรรยากาศงาน ณ บ้านวรรณกรรมรักคุณ ครั้งที่ 10 มาค่ะ งานนี้เป็นงานขายหนังสือลดราคา (กระหน่ำ) ของสนพ. ณ บ้าน วรรณกรรมค่ะ จัดติดต่อกันมาหลายปีแล้ว โดยในหนึ่งปี จะมีงานนี้ 2 ครั้งค่ะ ประมาณช่วงกลางปีครั้งหนึ่ง และปลายปีอีกครั้งหนึ่ง สำหรับครั้งนี้ งานเริ่มตั้งแต่วันนี้ 12 ธันวาคม 2556 ค่ะ จัดต่อเนื่องกันไป 3 วัน ถึงวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคมนี้นะคะ งาน ณ บ้านฯ จัดขึ้นที่สยามสมาคม ที่อโศกค่ะ ทุกปี เราก็นั่งรถเมล์สาย 38 ไปค่ะ ต่อเดียวถึงเลย พอรถเลี้ยวขวาที่อโศก ก็ลงป้ายแรกเลย มารถไฟฟ้า BTS หรือรถไฟใต้ดินก็ได้ค่ะ แต่รถไฟใต้ดินสะดวกกว่า เพราะเดินมาออกทางนี้ได้เลย แอบดูตรงทางออก เขียนเอาไว้ว่าเป็นทางออกหมายเลข[…]