เรื่อง บางกอกกับหัวเมืองผู้แต่ง เอนก นาวิกมูลสำนักพิมพ์ แสงดาวเลขมาตรฐานหนังสือ 974967331x บางกอกกับหัวเมือง เป็นหนังสือเล่มหนึ่งในชุดอันมีทั้งหมด 7 เล่มซึ่งผู้เขียนรวบรวมจากบทความที่เคยเขียนไว้ในวารสาร “วงการแพทย์”ซึ่งหนังสือเล่มนี้ถูกตีพิมพ์ขึ้นเมื่อราว 20 ปีก่อนหักลบเวลาได้ความว่า เรื่องราวในภายหนังสือชุดนี้ (และเล่มนี้)เล่าถึงกรุงเทพมหานครเมื่อราวปี พ.ศ. 2470โดยที่ผู้เขียนตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ รอบตัว ในแง่ของประวัติศาสตร์และค้นคว้าหาคำตอบ จดบันทึก และแบ่งปันมาเล่าให้เราฟัง เมื่อแรกอ่าน .. อ่านบทแรก เราสนุกและตื่นเต้นไปกับผู้เขียนมากทั้งๆ ที่ผู้เขียนเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ธรรมดาๆที่เรารู้สึกอย่างนั้นก็เพราะ ผู้เขียนเล่าเรื่องน่าติดตามเริ่มตั้งแต่เล่าถึงสิ่งที่มาจุดประกายความสงสัยต่อเหตุการณ์ในอดีตแล้วจึงเริ่มค้นคว้า เมื่อพบข้อมูลหนึ่งก็ตั้งข้อสงสัยต่อไปอีก ค้นคว้าอีก จนกว่าจะกระจ่างแจ้งเป็นกระบวนการค้นคว้างทางประวัติศาสตร์แบบไทยๆคือไม่ค่อยมีจดบันทึกอะไรอย่างเป็นทางการหนังสือที่มีคุณค่าที่เราเพิ่งรู้คือหนังสืองานศพสมัยโบราณที่มีการบันทึกประสบการณ์ส่วนตัวต่อสถานที่หรือผู้คนต่างๆซึ่งกว่าจะค้นพบไปถึงเรื่องที่เราสนใจก็ยากมากเป็นเรื่องของสัญชาตญาณและดวงแท้ๆ ทุกครั้งที่ผู้เขียนค้นพบข้อมูลใหม่ๆเราก็เลยสนุกและตื่นเต้นไปกับผู้เขียนด้วยเป็นอีกหนึ่งการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ที่สนุกอีกแล้ว ^^ ในบทต่อๆ มา ก็มีบางบทเล่าถึงเหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในอดีตเล่าถึงเรื่องราวที่เคยลงในหนังสือพิมพ์เก่าๆผู้เขียนไม่ได้สืบสาวเป็นเรื่องราวเดียวกัน แต่จนบันทึกสั้นๆ เป็นเรื่องๆซึ่งก็ล้วนแต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แปลก และสนุกดี บ้างก็เป็นเล่าเรื่องการท่องเที่ยวให้เราได้เห็นถึงพื้นที่ ภูมิประเทศในสมัยนั้นในเล่มเล่าถึงการท่องเที่ยวเขางู ซึ่งทั้งเล่าจากการค้นคว้าข้อมูลเก่าและผสมข้อมูลปัจจุบัน (ขณะเขียน พ.ศ. 254x)นอกจากเรื่องราวบางกอกและหัวเมือง .. ผู้เขียนแถมเรื่องเล่าการท่องเที่ยวประเทศพม่าแถมไว้ในท้ายเล่มด้วย .. เสียดายแต่เพียงว่าเล่ารวบรัดและจบเร็วไปหน่อย    

ของเก่าเราลืม ชุดเรื่อง ลำคู รูคลองผู้แต่ง สรศัลย์ แพ่งสภาสำนักพิมพ์ พี.วาทิน พลับลิเคชั่น จำกัดเลขมาตรฐานหนังสือ – แซ่บตั้งแต่เริ่มอ่านเลยทีเดียวผู้เขียนสามารถเอาคำว่า บรรลัยจักรเข้าไปใส่ในคำนำได้อย่างหน้าตาเฉยภายในเล่มก็เล่าได้เสียดสี ประชดประชันถึงใจ .. สำนวนแสบสันต์ ดุเด็ดเผ็ดมันส์จนหลงลืมตัวไปว่านี่เรากำลังอ่านหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์!   ลำคู รูคลอง เล่มนี้ไม่ได้เล่าเรื่องแม่น้ำลำคลองแต่อย่างเดียวแต่เล่าประวัติศาสตร์ผ่านประสบการณ์ของผู้เขียน (พ.ศ. 2463 – 2552)ชื่อ ลำคู รูคลอง เป็นเพียงบทหนึ่งในเรื่องราวทั้งหมด(ภายในเล่มใช้ชื่อว่า ลำคู ลำคลอง) ผู้เขียนเปิดด้วยบทแรกที่กระตุกอารมณ์ให้ฮึกเหิม คึกคัก ตั้งแต่แรกอ่านเล่าเรื่องเบื้องลึกเบื้องหลังของการเดินขบวนเรียกร้องดินแดนแถบฝั่งตะวันออกคืนจากประเทศฝรั่งเศส ในยุคสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงครามเล่าผ่านประสบการณ์ของผู้เขียน ซึ่งเป็นนิสิต คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ อยู่ในเวลานั้น นอกจากนั้น ผู้เขียนยังเล่าเรื่องยุวชนทหารเรื่องลูกเสือ พ่วงเรื่องงานฉลองรัฐธรรมนูญ และการประกวดนางงามเล่าเรื่องรถม้า ควบเรื่องการตัดถนนยุคแรกๆ เล่าเรื่องถนนเจริญกรุง เฟื่องนคร ฯลฯเล่าถึงช้างที่ชื่อว่าพลายมงคลซึ่งเราว่าน่าจะเป็นช้างเดียวกันกับ ช้างพลายมงคลผู้อาภัพ ที่เคยอ่านตอนเด็กๆเล่าเรื่องน้ำประปา เรื่องถนน เรื่องคลอง เรื่องเรือโดยสารสมัยนั้นเล่าเรื่องเครื่องบิน และการถือกำเนิดกองทัพอากาศไทยเล่าเรื่องมหกรรมการคล้องช้างที่รัฐบาลจัดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 8 ฯลฯในมุมที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตของผู้เขียนเองป็นส่วนมากที่อ่านจากหนังสือประวัติศาสตร์เล่มอื่นแล้วเอามาเล่าต่อก็มีบ้างแต่เล่าด้วยสำนวนเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์ของผู้เขียนเองทำให้หนังสือเล่มนี้ไม่ซ้ำกับหนังสือเล่มไหนๆ ตอนที่เราอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ยุคสงครามก็ปลุกใจฮึกเหิมให้รักชาติกันไปแต่พอมาอ่านประวัติศาสตร์เล่าเรื่องเมืองเก่าของเราแต่ก่อนแบบนี้มันชวนให้ปลงว่าไม่มีสิ่งใดจีรังสิ่งของใดเคยมีค่าเหลือคณา[…]