เรื่อง ตามรอยเจ้าอนุวงศ์คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย – ลาวผู้แต่ง สุเจน กรรพฤทธิ์สำนักพิมพ์ สารคดีเลขมาตรฐานหนังสือ 9789744843517 จากคำนำผู้เขียน ..ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ เล่มนี้ไม่ได้สื่อถึงประวัติศาสตร์ –ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าอนุวงศ์เพียงอย่างเดียวแต่ผู้เขียนมีเจตนาสะท้อนให้เห็นไปถึงระบบการเรียนประวัติศาสตร์ของบ้านเราที่ล้วนต่างติดอยู่ในกรอบแห่งความรักชาติ คลั่งชาติหนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์ให้น้ำหนักในส่วนที่เราเป็นฝ่ายถูกกระทำและละเลยในส่วนที่เราเป็นผู้กระทำ ..  ผู้เขียนจึงหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ครั้งใหม่มองประวัติศาสตร์จากทั้งสองฝ่ายคือไทยและลาวเป็นการมองนอกกรอบแห่งการรักชาติซึ่งเมื่ออ่านเจตจำนงค์ของผู้เขียนแล้ว เราก็กลัวว่าผู้เขียนไม่ได้ตั้งทัศนคติเพื่อยืนอยู่ตรงกลางหากแต่ปมในใจ จะพาเขาไปยืนอยู่อีกฝั่งหนึ่งของคำว่านอกกรอบ แต่เมื่ออ่านจนจบทั้งเล่ม ก็พบว่าเนื้อหาในเล่มเป็นกลาง ไม่ได้เอนเอียงไปทางด้านใดผู้เขียนลงหลักฐานทั้งหมดเท่าที่ยังคงเหลืออยู่ทั้งของฝ่ายไทย ลาว และหลักฐานอื่นๆ เท่าที่เกี่ยวข้องเอาไว้อย่างรอบด้านอ่านต่อเนื่องได้เรื่อยๆ ไม่เบื่อ และสนุกดีหลักฐานต่างๆ ก็ชวนให้เราคิดไปในมุมมองของเราบ้างซึ่งเหมือนบ้าง ต่างบ้าง กับทั้งผู้เขียน และทั้งหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ เราเองอ่านประวัติศาสตร์ (ผ่านนิยาย) มาติดๆ กันหลายเล่มในช่วงนี้ก็เห็นได้ชัดเช่นกันว่า ประวัติศาสตร์ไทยที่แท้จริง –ไม่ได้เหมือนที่เขาสรุปให้เราเห็นเป็นชิ้นเป็นอันในหนังสือเรียนเท่าไรนักหรอกจากบันทึกทางประวัติศาสตร์เพียงสั้นๆ หนังสือแต่ละเล่มตีความไปต่างกันราวฟ้ากับดินเรื่องราวเดียวกันแท้ๆ เมื่อมองจากคนละมุม ก็กลายเป็นคนละเรื่อง ไม่ต้องนึกไปไกลถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ก็ได้เอาแค่เรื่องที่เกิดขึ้นในยุคสมัยของเรา เรายังไม่สามารถรับรู้ความเป็นจริงได้เลยดังนั้น กับเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์ เรายิ่งไม่ควรยืดถือ เชื่อถือไปเสียทั้งหมดคิดทุกครั้งที่ได้อ่าน ได้รู้ หรือแม้แต่ได้เห็น ได้ยินไม่มีอะไรดีไปกว่าการใช้หลักกาลามสูตรทั้งสิบประการของพระพุทธเจ้า ภายใน ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ เล่มนี้ผู้เขียนใช้วิธีเขียนแบบหนังสือสารคดีบอกเล่าพระราชประวัติของเจ้าอนุวงศ์ตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์เล่าถึงสาเหตุที่ทรงพลัดบ้านพลัดเมืองมาเป็นองค์ประกันที่กรุงธนบุรีคาบเกี่ยวเรื่อยมาจนถึงกรุงเทพมหานครไล่เรียงไปจนกระทั่งถึงเหตุการณ์ที่คนไทยเรียกกันว่า กบฏเจ้าอนุวงศ์และเล่าไปจนถึงวาระสุดท้ายในพระชนม์ชีพด้วยหลักฐานทั้งจากฝั่งไทยและฝั่งลาว มีลงพื้นที่จริงไปดูสถานที่จริง ไปพูดคุยกับผู้คนในพื้นที่[…]

  เรื่อง ผลัดแผ่นดินผู้แต่ง สุกิจ สุวานิชสำนักพิมพ์ นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์เลขมาตรฐานหนังสือ 9786160416028 ผลัดแผ่นดิน เริ่มต้นเรื่องเกือบจะช่วงเวลาเดียวกับกับที่ ชีวิตของประเทศ เปิดเรื่องคือบอกเล่าประวัติศาสตร์ตั้งแต่ครั้งที่รัชกาลที่ 1 เริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ไปจนกระทั่งสิ้นสุดรัชกาลที่ 4 ขึ้นรัชกาลที่ 5แต่ ผลัดแผ่นดิน เล่าด้วยภาษาที่ง่ายกว่า เห็นภาพได้มากกว่าสิ่งที่แตกต่างไปก็คือการตีความ เรื่องราวในประวัติศาสตร์นั้นยังคงเดิมแต่ความรู้สึกนึกคิดของผู้คนซึ่งมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์นั้นแตกต่างไปเป็นอีกแบบ ผลัดแผ่นดิน เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ในรูปแบบของนวนิยายหากแต่ในเล่มนี้ไม่มีตัวละครสมมติเลยทุกพระองค์และทุกท่าน ล้วนแต่เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ทั้งสิ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นพระบรมราชวงศ์ และเป็นขุนนางคนสำคัญๆ ทั้งนั้น ผลัดแผ่นดิน จึงเป็นหนังสือที่อ่านง่าย ซื่อตรง แต่ก็ไม่ซับซ้อนเป็นข้อดีที่กลายเป็นข้อเสียไปด้วย คือทำให้มันดูไม่สมจริงในส่วนของนิยายพระราชดำริและพระราชดำรัสต่างๆ ไม่หนักแน่นสมจริงพอคำพูดของบรรดาข้าหลวงขุนนางที่ยุยงส่งเสริมก็ดูเป็นละครหลังข่าวโดยรวมคือดีต่อการอ่านเพื่อทำความเข้าใจในประวัติศาสตร์แต่ไม่ดีต่อความรู้สึกด้านความสละสลวย หรือจรรโลงใจ เมื่อเราหยิบ ชีวิตของประเทศ และ ผลัดแผ่นดิน มาอ่านต่อกันเรามองว่าหนังสือสองเล่มนี้เป็นหนังสือคู่ขนานกันเลยทั้งสองเล่มเล่าเรื่องในช่วงเวลาเดียวกันแทบจะเป๊ะๆ เลยขึ้นอยู่กับคนอ่านว่าจะชอบแบบไหนสำหรับเรา ถ้าสลับกันมาอ่าน ผลัดแผ่นดิน ก่อน แล้วค่อยไปอ่าน ชีวิตของประเทศ ทีหลัง ก็จะทำให้อ่านเล่มหลังได้เข้าใจง่ายขึ้นแต่เราอ่าน ชีวิตของประเทศ มาก่อน พอมาอ่าน ผลัดแผ่นดิน จึงไม่ค่อยเหลืออะไรใหม่ให้ตื่นตาตื่นใจมีเพียงมุมมองของผู้เขียนให้คอยติดตามเท่านั้น ซึ่งก็ยังถือว่าอ่านได้เพลินๆ ดีและเป็นหนังสือที่อ่านง่าย อ่านเร็วว่า[…]

เรื่อง ชีวิตของประเทศ ผู้แต่ง วิษณุ เครืองาม สำนักพิมพ์ มติชน เลขมาตรฐานหนังสือ 9789740215141 เราใช้เวลาอ่าน ชีวิตของประเทศ นานเกือบหนึ่งเดือนเต็ม เป็นการอ่านที่ยาวนานเกินธรรมดามาก แถมยังอ่านไม่ค่อยปะติดปะต่อ พออ่านจนถึงตอนจบ ก็ลืมเรื่องราวตอนต้นไปเสียเกือบหมดแล้ว จะเล่ายังไงดีละ? ชีวิตของประเทศ เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องราวตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อันที่จริงเล่ามาตั้งแต่ช่วงหลังกรุงศรีอยุธยาแตกเลยด้วยซ้ำ เล่าถึงความยากลำบากของผู้คนในยุคก่อร่างสร้างเมือง เป็นยุคแห่งการเริ่มต้น ยุคแห่งความหวัง และยุคแห่งความไม่แน่นอน ผู้เขียนได้เล่าถึงแผ่นดินของพระเจ้าตากสินเอาไว้เป็นการเริ่มต้น ในช่วงที่เพิ่งเปิดเรื่องนั้น ตัวละครชุดแรกที่ออกมาเล่าเรื่องให้เราฟัง ล้วนแต่เป็นตัวละครที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ ทั้งสิน (พระเจ้าตากสินมหาราช) , เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช), นายบุนนาค (เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ต้นตระกูลบุนนาค), คุณหญิงนาค (สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี), นวล (เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล), ท่านทอง, ท่านสั้น, เจ้าขรัวเงิน, พ่อฉิม (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย), แม่ฉิมใหญ่ (เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่), บุญมา (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท), บุญรอด (สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์)[…]