เรื่อง ลำเนาป่าผู้แต่ง ศิเรมอร อุณหธูปสำนักพิมพ์ มติชนเลขมาตรฐานหนังสือ 9743236171 นะจังงังไปกับสำนวนเมื่อแรกอ่านสำนวนแปลกดี อ่านสะดุดนิดหน่อยเพราะไม่คุ้นอย่างเช่น “ซ้ำแล้วซ้ำรา”“เขาก้มหน้าเดินย่ำฝ่าฟุ้งฝนพรำบนทางเท้า” ฯลฯซึ่งมาโดยตลอดทั้งเล่ม แปลกแตกต่างกันไปใจนึงก็รู้สึกสะดุด เหมือนจะชอบใจในความแปลกแต่อีกใจก็รู้สึกตะหงิดๆ ที่อ่านไม่ลื่นไหลมันชะงัก ติดๆ ดับๆ ไม่ต่อเนื่องแต่ก็เป็นเพียงในช่วงต้นของเรื่องเท่านั้นนะไม่รู้ว่าเราเริ่มชิน หรือพอช่วงหลังๆ สำนวนเริ่มกลมกลืนเป็นปกติคือยังมีอยู่ แต่ลดน้อยลง และเราว่าเราชอบสำนวนช่วงหลังๆ มากกว่านะคือยังเป็นสำนวนแปลกๆ อยู่ แต่สละสลวยขึ้น ไพเราะขึ้น ลำเนาป่า เป็นนิยายที่มีค่านิยมรักป่าไม้ ต้นไม้ สายลม แสงแดดรักอิสระ ไร้การผูกมัด แม้แต่การจดทะเบียนสมรสก็เป็นความผิดร้ายแรงในสายตาของลำเนา (นางเอก)อุดมคติสุดโต่ง แต่เรามองว่าอีโก้ก็เยอะจัดตามอุดมคติอันสูงส่งไปด้วยผู้เขียนเปิดภาพนางเอกมาให้เราอย่างนั้น .. คือเป็นคนแนวๆ ไม่ใช่คนที่น่ารักไม่ใช่คนอ่านทุกคนจะรักนาง จะบอกว่าคนอื่นเอาค่านิยม เอาประเพณีมาตัดสินลำเนาลำเนาเองก็เอาความเชื่อของเธอตัดสินคนอื่นด้วยเช่นกันและเพราะมันเป็นเรื่องแต่ง และอาจจะเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้ตัวละครผู้เขียนเลยมอบบทบาทให้ชมพู พี่สาวที่ห่วงใยน้องชายคนหนึ่งกลายเป็นนางร้ายในละครน้ำเน่าไปเลยเจตนาอาจเป็นไปเพื่อเตือนคนดูละคร ว่าควรแยกแยะไม่ควรเก็บมาใช้ในชีวิตจริงแต่มันก็เป็นส่วนที่ทำให้เรื่องไม่สมจริง ไม่น่าเชื่อถือหรือคล้อยตาม ตั้งแต่เปิดเรื่องเรามองไม่เห็นความโรแมนติกเปี่ยมอุดมการณ์ของเรื่องนี้มองเห็นเพียงชายที่เฝ้าทวงรักและขอแต่งงานต่อหญิงสาวที่กำลังเบื่อรัก และยืนยันปฏิเสธอยู่ซ้ำซากด้วยเหตุผลต่างๆ นานาที่เต็มไปด้วยเหตุผลด้วยอุดมการณ์ต่างๆ นานาที่แปลว่าไม่รัก ไม่แต่ง(เป็นความรู้สึกตอนเริ่มอ่านนะ ส่วนที่ตัดมามันทำให้รู้สึกอย่างนั้นแม้เมื่ออ่านเต็มๆ จะทำให้เข้าใจลำเนาได้ดีขึ้น แต่มันฝังใจกับนางไปแล้ว) แต่ทั้งหมดทั้งปวง เราชอบตอนจบนะถ้าเรื่องดำเนินมาถึงขนาดนี้ จบแบบนี้น่ะดีแล้ว[…]