หนังสือชุด ๑๐๐ ปีขุนวิจิตรมาตราเรื่อง กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้ผู้แต่ง กาญจนาคพันธุ์สำนักพิมพ์ สารคดีเลขมาตรฐานหนังสือ 9744840064 นับได้ กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้ ว่าเป็นภาคต่อของหนังสือ เด็กคลองบางหลวงคือผู้เขียนกำลังจะเข้าโรงเรียน จึงได้ย้ายมาอยู่กับอาผัน อาแท้ๆ ของผู้เขียนผู้ซึ่งมีอาชีพเป็นช่างทำฟันมีชื่อเสียงบนถนนแพร่งนรา(ในเล่มจึงมีการเล่าเรื่องร้านหมอฟันและการทำฟันสมัยเมื่อร้อยกว่าปีก่อนด้วย)เมื่อผู้เขียนย้ายมาอยู่กับอา ก็ได้เที่ยวเล่นอยู่ในย่านนั้นเป็นเวลาหลายปีจึงได้รื้อความทรงจำนำเรื่องย่านต่างๆ ในเขตพระนครไม่ว่าจะเป็นย่านสามแพร่ง ถนนตีทอง ถนนเฟื่องนคร ถนนอัษฎางค์ ถนนราชินีถนนตะนาว ถนนดินสอ ถนนมหาราช ถนนสนามไชย ถนนมหาไชยถนนหน้าพระลาน ถนนท้ายวัง ถนนหน้าพระธาตุ ถนนราชดำเนินนอกถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินใน ถนนเจริญกรุง ถนนบ้านหม้อถนนราชวงศ์ ถนนบำรุงเมือง ฯลฯ ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ(ราวร้อยปีก่อน) มาเล่าให้เราฟังรวมไว้ในเล่มนี้ ซึ่งที่ผู้เขียนเล่านี้ ยอมรับว่าบางเราเรื่องก็นึกตามได้ยากเหมือนกันเนื่องด้วยว่ายุคสมัยต่างกันมากและภาพของสถานที่ต่างๆ ที่ผู้เขียนเล่าถึง เราก็ยังไม่แม่นพอบางครั้งผู้เขียนบอกเส้นทางวนไปมากลับมาที่เดิมอีกครั้งอ่านผ่านๆ ก็ทำให้เบลอได้ บางครั้งเมื่อถึงสี่แยก ผู้เขียนพูดถึงฝั่งตรงข้ามก็นึกตามไม่ถูกว่าฝั่งไหนมัวแต่งงๆ ความสนุกเลยลดลงไปอย่างน่าเสียดายแต่ผู้เขียนก็ได้ย้อนกลับมาเล่าซ้ำถึงบางสถานที่บ้าง เพราะถนนทอดตัดกันไปมาเมื่อเล่าถึงเส้นถนนที่เคยเล่าแล้วก็มีการเท้าความให้พอจำได้พออ่านซ้ำๆ เข้าก็เริ่มมีภาพในหัว ช่วยให้พอนึกตามได้บ้างและอ่านไปก็ต้องคอยเปิดแผนที่ประกอบไปด้วย การอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ เล่าเรื่องสมัยก่อนเราพบว่าหนังสือที่อ่านไปหลายเล่มเล่าเรื่องในยุคเดียวกันบางครั้งก็เล่าเรื่องเดียวกันอย่างเรื่องสนามน้ำจืด ซึ่งเป็นประปาแห่งแรกของเมืองไทยหรือเรื่องท่าช้างที่มีการพาช้างหลวงไปอาบน้ำเรื่องถนนสายเก่าอย่างเจริญกรุง บำรุงเมือง[…]

เรื่อง บางกอกกับหัวเมืองผู้แต่ง เอนก นาวิกมูลสำนักพิมพ์ แสงดาวเลขมาตรฐานหนังสือ 974967331x บางกอกกับหัวเมือง เป็นหนังสือเล่มหนึ่งในชุดอันมีทั้งหมด 7 เล่มซึ่งผู้เขียนรวบรวมจากบทความที่เคยเขียนไว้ในวารสาร “วงการแพทย์”ซึ่งหนังสือเล่มนี้ถูกตีพิมพ์ขึ้นเมื่อราว 20 ปีก่อนหักลบเวลาได้ความว่า เรื่องราวในภายหนังสือชุดนี้ (และเล่มนี้)เล่าถึงกรุงเทพมหานครเมื่อราวปี พ.ศ. 2470โดยที่ผู้เขียนตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ รอบตัว ในแง่ของประวัติศาสตร์และค้นคว้าหาคำตอบ จดบันทึก และแบ่งปันมาเล่าให้เราฟัง เมื่อแรกอ่าน .. อ่านบทแรก เราสนุกและตื่นเต้นไปกับผู้เขียนมากทั้งๆ ที่ผู้เขียนเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ธรรมดาๆที่เรารู้สึกอย่างนั้นก็เพราะ ผู้เขียนเล่าเรื่องน่าติดตามเริ่มตั้งแต่เล่าถึงสิ่งที่มาจุดประกายความสงสัยต่อเหตุการณ์ในอดีตแล้วจึงเริ่มค้นคว้า เมื่อพบข้อมูลหนึ่งก็ตั้งข้อสงสัยต่อไปอีก ค้นคว้าอีก จนกว่าจะกระจ่างแจ้งเป็นกระบวนการค้นคว้างทางประวัติศาสตร์แบบไทยๆคือไม่ค่อยมีจดบันทึกอะไรอย่างเป็นทางการหนังสือที่มีคุณค่าที่เราเพิ่งรู้คือหนังสืองานศพสมัยโบราณที่มีการบันทึกประสบการณ์ส่วนตัวต่อสถานที่หรือผู้คนต่างๆซึ่งกว่าจะค้นพบไปถึงเรื่องที่เราสนใจก็ยากมากเป็นเรื่องของสัญชาตญาณและดวงแท้ๆ ทุกครั้งที่ผู้เขียนค้นพบข้อมูลใหม่ๆเราก็เลยสนุกและตื่นเต้นไปกับผู้เขียนด้วยเป็นอีกหนึ่งการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ที่สนุกอีกแล้ว ^^ ในบทต่อๆ มา ก็มีบางบทเล่าถึงเหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในอดีตเล่าถึงเรื่องราวที่เคยลงในหนังสือพิมพ์เก่าๆผู้เขียนไม่ได้สืบสาวเป็นเรื่องราวเดียวกัน แต่จนบันทึกสั้นๆ เป็นเรื่องๆซึ่งก็ล้วนแต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แปลก และสนุกดี บ้างก็เป็นเล่าเรื่องการท่องเที่ยวให้เราได้เห็นถึงพื้นที่ ภูมิประเทศในสมัยนั้นในเล่มเล่าถึงการท่องเที่ยวเขางู ซึ่งทั้งเล่าจากการค้นคว้าข้อมูลเก่าและผสมข้อมูลปัจจุบัน (ขณะเขียน พ.ศ. 254x)นอกจากเรื่องราวบางกอกและหัวเมือง .. ผู้เขียนแถมเรื่องเล่าการท่องเที่ยวประเทศพม่าแถมไว้ในท้ายเล่มด้วย .. เสียดายแต่เพียงว่าเล่ารวบรัดและจบเร็วไปหน่อย    

เรื่อง ย้อนตำนานสะพานเก่าผู้แต่ง จุติสำนักพิมพ์ แสงดาวเลขมาตรฐานหนังสือ 9786165084826 ย้อนตำนานสะพานเก่า เป็นหนังสืออีกหนึ่งเล่ม ที่เล่าเรื่องราวในอดีตโดยที่ผู้เขียนเล่าประวัติศาสตร์เหล่านั้น ผ่านเรื่องราวของสะพานทั้งประวัติการก่อสร้าง ประวัติการบูรณะ ที่มาของชื่อสะพานรวมไปถึงประสบการณ์และความผูกพันที่ตัวผู้เขียนเองมีต่อสะพานนั้นๆ ด้วย สะพานไม่ได้มีประโยชน์แค่เพียงใช้สัญจรเดินทางข้ามแม่น้ำลำคลองแต่เพียงอย่างเดียวแต่ผู้สร้างยังคำนึงถึงความสวยงาม เหมาะสมและมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามสถานที่และเจตนาของผู้สร้างเมื่อตั้งใจดูให้ดี สะพานที่เราคุ้นชื่อ คุ้นหน้าตากันดีหลายสะพานมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ แต่สวยงาม และเราไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน เราเคยไปเดินเล่นรอบเกาะรัตนโกสินทร์และมีโอกาสได้เห็นสะพานเก่าที่สวยงามและชื่อเพราะอยู่หลายสะพานเคยอยากทำความรู้จักมันมากขึ้น ..และนั่นคือความรู้สึกก่อนที่เราจะเจอหนังสือเล่มนี้ดีใจที่ตัดสินใจซื้อมันมา และดีใจที่ได้อ่านค่ะ ผู้เขียนเล่าถึงประวัติสะพาน อธิบายโครงสร้าง อธิบายหน้าตาพร้อมทั้งมีภาพประกอบของสะพานแต่ละส่วนอย่างละเอียด(ภาพถ่ายปี พ.ศ. 2552 เป็นช่วงที่ผู้เขียนเก็บข้อมูล)ความรู้อัดแน่น ข้อมูลชี้แจงชัดแจ้งไม่ซับซ้อน ภาษาอ่านง่าย และเพราะผู้เขียนเล่าเรื่องที่เราอยากรู้อยู่ก่อนแล้วเลยทำให้อ่านเพลินมาก ชอบมาก ฟินมากอ่านแล้วก็อยากจะไปเดินดูสะพานย่านฝั่งพระนครด้วยตาตัวเองเหมือนตอนที่อ่าน ชีวิตตามคลอง ของ ส.พลายน้อย แล้วอยากจะไปนั่งเรือเที่ยวคลองบ้างนั่นแหละ เราพบหนังสือเล่มนี้อยู่ในกองลดราคาของสำนักพิมพ์แสงดาว ในงานหนังสือปีหนึ่งอ่านจบแล้วอดเสียดายไม่ได้ เพราะหนังสือมีคุณค่ามากกว่าราคาที่ซื้อมามากนักอยากจะสนับสนุนผู้เขียน อยากจะอ่านเรื่องราวแบบนี้อีกอยากแนะนำให้ใครก็ต่อที่เห็นหนังสือเล่มนี้ ลองซื้อมาอ่านดูเถอะค่ะโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่รักพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์อ่าน แล้วลองไปตามรอยเส้นทางของผู้เขียนกันดูมันต้องเป็นวันพักผ่อนที่ดีมากแน่ๆ 🙂    

สารคดีวิถีชีวิตคนไทยสมัยโบราณเรื่อง ชีวิตตามคลองผู้แต่ง ส.พลายน้อยสำนักพิมพ์ สายธารเลขมาตรฐานหนังสือ 9748468372 เมื่อตอนที่อ่าน ชีวิตของประเทศ ของคุณวิษณุ เครืองามคุณวิษณุได้เล่าถึงคลองและการขุดคลองสายต่างๆ ในกรุงเทพฯ เอาไว้มากมายหลายคลองมีเรื่องราวที่น่าสนใจ มีประวัติในการขุดเพื่อการต่างๆ เชื่อมโยงชุมชนโบราณต่างๆซึ่งยังปรากฏชื่ออยู่จนทุกวันนี้ แต่มีหน้าตาต่างไปจากที่เราเคยรู้จักคลองสำเพ็ง เป็นคลองที่เรานึกหน้าตาไม่ออก ทั้งๆ ที่ไปสำเพ็งออกบ่อยคลองต่างๆ รอบเกาะรัตนโกสินทร์ยิ่งฟังดูไม่คุ้นหู นึกภาพไม่ออกทั้งๆ ที่เคยเดินรอบสนามหลวง และไปยังสนามที่ต่างๆ แถวนั่นมาไม่รู้กี่รอบหนังสือเล่มนี้ช่วยให้ความรู้เรื่องคลองเพิ่มเติมแก่เราหลังจากที่ ชีวิตของประเทศ เคยจุดประกายความสนใจไว้ ชีวิตตามคลอง ให้ภาพและเรื่องที่ละเอียดกว่าเพราะเจาะจงเล่าเรื่องคลองโดยเฉพาะซึ่งอ่านสนุกมาก มีทั้งภาพประกอบโบราณแต่คมชัดเราประทับใจภาพประกอบมากมันทำให้เรานึกภาพตามคำบรรยายได้ชัดเจนขึ้น ผู้เขียนเล่าถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องคลองต่างๆ ในกรุงเทพฯคนแก่ๆ อ่านเรื่องเก่าๆ แล้วนึกภาพตามนึกออกบ้างไม่ออกบ้างตามประสบการณ์ของแต่ละคนแต่ที่แน่ๆ อ่านจบแล้วอยากไปทริปนั่งเรือเที่ยวคลองย่านกรุงธนฯ กรุงเทพฯ เสียจริงๆเที่ยวไป เปิดหนังสือเป็นไกด์บุ๊คไปด้วย คงฟินไม่น้อย นอกจากเรื่องคลอง ผู้เขียนเล่าเรื่องตลาดเรือตลาดน้ำก็สนุกมากบรรยายข้าวของต่างๆ ที่ขนมาขายในเรือ ทั้งของใช้ของกินละเอียดลออโดยเฉพาะของกิน อ่านดึกๆ มีหิวได้เหมือนกัน(เราเป็นมนุษย์ผู้โดนตกได้ทั้งทาง fb ig และแม้กระทั่งอ่านหนังสือ >,<) ถ้าชอบอ่าน เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กเชื่อได้เลยว่าคุณจะถูกใจสิ่งนี้ ^^