เรื่อง ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัยผู้แต่ง คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตรสำนักพิมพ์ มติชนเลขมาตรฐานหนังสือ 9789740212652 ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย ไม่ได้เป็นเพียงหนังสือประวัติศาสตร์ไทยแต่มันคือหนังสือประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์ การเมือง และการปกครองของไทยซึ่งถูกเขียนขึ้นจากผู้เขียนคู่สามีภรรยานักวิชาการสองคนโดยสามี คริส เบเคอร์ เป็นชาวอังกฤษ และภรรยา ผาสุก พงษ์ไพจิตร ชาวไทยการเขียนหนักสือเล่มนี้ครั้งแรกถูกเขียนขึ้นเป็นภาษาอังกฤษเพื่อใช้เป็นตำราเรียนให้กับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และได้รับการแปลเป็นภาษาไทยในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่องของคำว่าชาติไทย – ในนิยามต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งอดีต ก่อนที่ไทยจะรวมเป็นประเทศเมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์ชาติไทย คือเริ่มต้นเล่าอย่างจริงจังในสมัยอยุธยาถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นการเล่าอย่างสรุปรวม ไปอย่างเร็วๆและเล่าทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ ภูมิประเทศ และรูปแบบการปกครอง หลายข้อมูลจากในเล่มนี้เป็นข้อมูลที่เราไม่เคยอ่านเจอมาก่อนทั้งๆ ที่ช่วงนี้ก็อ่านหนังสือประวัติศาสตร์ติดต่อกันมาหลายเล่มอาจเป็นข้อมูลจากหนังสือเล่มที่เรายังไม่เคยอ่านหรืออาจเป็นข้อมูลจากบันทึกชาวต่างชาติ เป็นมุมมองจากชนชาติอื่นที่ได้บันทึกไว้หลายตอน เป็นการสรุปผลผ่านวิจารณญาณของผู้เขียน ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เล่าประวัติศาสตร์ไทยและภูมิภาคใกล้เคียงตั้งแต่ครั้งเริ่มตั้งชุมชนริมแม่น้ำ ก่อนสมัยสุโขทัย .. อย่างคร่าวๆในช่วงนี้ผู้เขียนไม่ได้เล่าเรียงไทม์ไลน์ เล่าย้อนไปย้อนมาน่าเข้าใจผิดมีการตีความในแบบที่เราไม่คุ้นเคย แปลกๆ ดี การเล่าถึงประวัติศาสตร์ไทยในช่วงต้น ผู้เขียนเล่าไปอย่างเร็วๆอาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงในยุคก่อนเกิดขึ้นช้าต่อเมื่อคืบหน้ามาในยุคที่่ใกล้เคียงกับปัจจุบัน รายละเอียดก็เพิ่มมากขึ้นประวัติศาสตร์ไทยในช่วง 200 ปีล่าสุดนี้ถูกเล่าถึงอย่างเข้มข้น สำหรับเรา เรามองว่า ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เป็นหนังสือประวัติศาสร์ที่สรุปมาแล้วผ่านการวิเคราะห์ตีความจากผู้เขียนมาแล้วไม่ได้เป็นข้อมูลดิบ หรือเป็นบันทึกโดยตรงจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หนังสือที่ใช้อ้างอิง ก็ไม่ใช่หลักฐานบันทึกดั้งเดิมเป็นเพียงหนังสือที่ถูกผู้เขียนยุคหลังๆ วิเคราะห์และเขียนขึ้นเช่นกัน[…]

หนังสือชุด ๑๐๐ ปีขุนวิจิตรมาตราเรื่อง กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้ผู้แต่ง กาญจนาคพันธุ์สำนักพิมพ์ สารคดีเลขมาตรฐานหนังสือ 9744840064 นับได้ กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้ ว่าเป็นภาคต่อของหนังสือ เด็กคลองบางหลวงคือผู้เขียนกำลังจะเข้าโรงเรียน จึงได้ย้ายมาอยู่กับอาผัน อาแท้ๆ ของผู้เขียนผู้ซึ่งมีอาชีพเป็นช่างทำฟันมีชื่อเสียงบนถนนแพร่งนรา(ในเล่มจึงมีการเล่าเรื่องร้านหมอฟันและการทำฟันสมัยเมื่อร้อยกว่าปีก่อนด้วย)เมื่อผู้เขียนย้ายมาอยู่กับอา ก็ได้เที่ยวเล่นอยู่ในย่านนั้นเป็นเวลาหลายปีจึงได้รื้อความทรงจำนำเรื่องย่านต่างๆ ในเขตพระนครไม่ว่าจะเป็นย่านสามแพร่ง ถนนตีทอง ถนนเฟื่องนคร ถนนอัษฎางค์ ถนนราชินีถนนตะนาว ถนนดินสอ ถนนมหาราช ถนนสนามไชย ถนนมหาไชยถนนหน้าพระลาน ถนนท้ายวัง ถนนหน้าพระธาตุ ถนนราชดำเนินนอกถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินใน ถนนเจริญกรุง ถนนบ้านหม้อถนนราชวงศ์ ถนนบำรุงเมือง ฯลฯ ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ(ราวร้อยปีก่อน) มาเล่าให้เราฟังรวมไว้ในเล่มนี้ ซึ่งที่ผู้เขียนเล่านี้ ยอมรับว่าบางเราเรื่องก็นึกตามได้ยากเหมือนกันเนื่องด้วยว่ายุคสมัยต่างกันมากและภาพของสถานที่ต่างๆ ที่ผู้เขียนเล่าถึง เราก็ยังไม่แม่นพอบางครั้งผู้เขียนบอกเส้นทางวนไปมากลับมาที่เดิมอีกครั้งอ่านผ่านๆ ก็ทำให้เบลอได้ บางครั้งเมื่อถึงสี่แยก ผู้เขียนพูดถึงฝั่งตรงข้ามก็นึกตามไม่ถูกว่าฝั่งไหนมัวแต่งงๆ ความสนุกเลยลดลงไปอย่างน่าเสียดายแต่ผู้เขียนก็ได้ย้อนกลับมาเล่าซ้ำถึงบางสถานที่บ้าง เพราะถนนทอดตัดกันไปมาเมื่อเล่าถึงเส้นถนนที่เคยเล่าแล้วก็มีการเท้าความให้พอจำได้พออ่านซ้ำๆ เข้าก็เริ่มมีภาพในหัว ช่วยให้พอนึกตามได้บ้างและอ่านไปก็ต้องคอยเปิดแผนที่ประกอบไปด้วย การอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ เล่าเรื่องสมัยก่อนเราพบว่าหนังสือที่อ่านไปหลายเล่มเล่าเรื่องในยุคเดียวกันบางครั้งก็เล่าเรื่องเดียวกันอย่างเรื่องสนามน้ำจืด ซึ่งเป็นประปาแห่งแรกของเมืองไทยหรือเรื่องท่าช้างที่มีการพาช้างหลวงไปอาบน้ำเรื่องถนนสายเก่าอย่างเจริญกรุง บำรุงเมือง[…]