เรื่อง อธิบายเบ็ดเตล็ดในเรื่องพงศาวดารสยามผู้ทรงนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสำนักพิมพ์ แสงดาวเลขมาตรฐานหนังสือ 9786165082785   เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ผ่านพระวินิจฉัยของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพโดยคำว่าเบ็ดเตล็ดจากชื่อหนังสือนี้คือการรวบรวมเรื่องราวต่างๆ เบ็ดเตล็ดดังชื่อ อันได้แก่ ..ที่มาของคำเรียกชื่อสยามการออกพระนามพระเจ้าแผ่นดินในแต่ละกรณีธรรมเนียมการตั้งพระมหาอุปราชในแต่ละรัชกาลเส้นทางการเดินทางของชาวยุโรปที่จะมายังดินแดนตะวันออกการล่าอาณานิคมรวมไปถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์อันเกี่ยวข้องกับท้าวศรีสุดาจันทร์ขุนวรวงศาธิราช พระเทียรราชา พระมหาธรรมราชา ฯลฯและประวัติการชำระแก้ไขกฏหมายแต่ละครั้งในสมัยอยุธยา โดยสำนวนภาษาโบราณจากต้นฉบับมาเลยอ่านยากนิดหน่อยเพราะไม่คุ้น แต่ก็ไม่ยากมากจนชวนท้อที่ติดใจเราเป็นที่เนื้อหามากกว่า คือเป็นความรู้เก่ายังไม่มีข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้มาภายหลังไปเปรียบเทียบเหมาะที่จะอ่านเล่นๆ เพื่อดูแนวคิดหรือดูพัฒนาการของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของไทยและหากจะใช้อ้างอิงก็ต้องตรวจสอบกับข้อมูลที่มีในปัจจุบันก่อน ปล. หนังสือเขียนพระยศของผู้ทรงนิพนธ์เอาไว้งงมาก สองที่เขียนไม่เหมือนกันคาดว่าอาจจะเป็นพระยศในขณะทรงนิพนธ์ และตีพิมพ์ครั้งแรกแต่ถ้าจะยึดแบบนั้น ก็ควรจะเขียนให้ตรงกันส่วนที่เราเขียนพระนามผู้ทรงนิพนธ์ คือใช้พระยศปัจจุบัน เสิร์ชจาก google มาอีกที    

เรื่อง กษัตริยา ตอน แก้วกษัตริยา ผู้แต่ง ทมยันตี สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม เลขมาตรฐานหนังสือ 9744462035 อ่านนิยายอิงประวัติศาสตร์ ก็จะพลาดงานของนักเขียนคนนี้ไม่ได้เลยค่ะ 🙂 ถ้าเทียบ กษัตริยา กับเรื่อง พ่อ ของคุณปองพล (ที่เราเพิ่งอ่านจบไป) สองเล่มนี้เล่าจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในช่วงเดียวกันเลย โดยเริ่มต้นเหลื่อมกันนิดหน่อย คือเล่มนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงครองราชย์แล้ว เริ่มต้นเมื่อก่อนทำศึกกับบุเรงนองครั้งแรก ชนวนศึกคือ คือพระเจ้าหงสาวดีบุเรนองมีพระราชสาส์นมาขอช้างเผือกจากพระมหาจักรพรรดิ และเมื่อทางอยุธยาไม่ให้ จึงถือเป็นสาเหตุให้ยกทัพมาตี (ฟังดูคล้ายๆ นิทานหมาป่ากับลูกแกะ .. อ้างแค่นี้ก็เป็นความชอบธรรมที่จะยกทัพมาตีแล้ว?) เนื้อหาในเล่มแรกนี้ ทมยันตีเล่าด้วยมุมมองผ่านสายตาคนไทยเพียงเท่านั้น ในขณะที่คุณปองพลเล่าผ่านตัวละครทั้งฝ่ายไทยและพม่า และทั้งสองเล่มแตกต่างกันในรายละเอียด และส่วนต่างนี้เองที่ทำให้เราขบวิเคราะห์ ว่าส่วนใดคือประวัติศาสตร์ และส่วนใดคือจินตนาการของผู้เขียน สำหรับ กษัตริยา ผู้เขียนจะเน้นเล่าไปในมุมมองของสตรี .. สตรีอันเป็นเลือดเนื้อเชื่อไขของพระมหาจักรพรรดิ กับสมเด็จพระศรีสุริโยทัย คือพระสวัสดิราช หรือพระวิสุทธิกษัตรีย์ เนื้อหาก็จะดราม่าหน่อยๆ ตามสไตล์ผู้เขียน เพราะนางเอกของทมยันตี มีทิฐิทุกคน แม้แต่นิยายอิงประวัติศาสตร์ก็ยังเป็นเช่นนั้น กษัตริยา เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ด้วยนวนิยายผสมกับพงศาวดาร[…]

เรื่อง พ่อ ภาคสอง ผู้แต่ง ปองพล อดิเรกสาร (พอล อดิเรกซ์) สำนักพิมพ์ ประพันธ์สาส์น เลขมาตรฐานหนังสือ 9742308667 พ่อ ภาคสอง เป็นเรื่องเล่าต่อจาก ภาคหนึ่ง เลยค่ะ โดยเนื้อหาจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อพระมหินทรทรงขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์อยุธยาต่อจากพระมหาจักรพรรดิ และดำเนินมาถึงยุคสมัยของพระมหาธรรมราชา และจบเรื่องลงในตอนที่พระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต และพระนเรศวรขึ้นเป็นกษัตริย์ เนื้อหาจึงได้คาบเกี่ยวช่วงที่เราตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ไปจนถึงหลังจากพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ ฯลฯ เราได้เห็นการก่อร่างสร้างตัวของกรุงศรีอยุธยา หลังจากประกาศอิสรภาพจากพม่า (หลังพระเจ้าบุเรงนองสวรรคต) ผู้เขียนเล่าไว้อย่างละเอียด และสมจริง เวลาอ่านเรื่องราวเหล่านี้ ภาพจากภาพยนตร์นเรศวรภาคต่างๆ ก็ปรากฏขึ้นในหัวเราเป็นฉากๆ เราได้เข้าใจมากขึ้นว่า ในตอนนั้นเกิดเหตุการณ์อะไร มีที่มาที่ไปอย่างไนบ้าง .. สนุกดีค่ะ 🙂 ไม่รู้เป็นเพราะเริ่มชินหรือเปล่า เราคิดว่าการศึกในเล่มนี้ สนุกกว่าเล่มที่แล้ว มีอาการลุ้นกว่า เอาใจช่วยฝ่ายไทยบ้าง น่าตกใจที่มีบางช่วงเราเอาใจช่วยฝ่ายพม่าด้วย!! ทั้งหมดทั้งหมดเป็นเพราะการบิ้วท์ของผู้เขียนแท้ๆ ระหว่างอ่านต้องทำใจว่านี่คือนิยายอิงประวัติศาสตร์ ส่วนที่เราอินเป็นเพียงจินตนาการของผู้เขียน เป็นเพียงส่วนต่อเติมจากข้อมูลเพียวๆ ในประวัติศาสตร์เท่านั้น อ่านจบ ได้ทบทวนตัวเองว่า เราจำเนื้อหาประวัติศาสตร์ชาติตัวเองคลาดเคลื่อนไปเยอะเหมือนกัน[…]

เรื่อง พ่อ ภาคหนึ่ง ผู้แต่ง ปองพล อดิเรกสาร (พอล อดิเรกซ์) สำนักพิมพ์ ประพันธ์สาส์น เลขมาตรฐานหนังสือ 9742307702 พ่อ เป็นงานเขียนนวนิยายภาษาไทยเรื่องแรกของคุณปองพล โดยเขียนลงในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2541 เล่มนี้จะเน้นที่สมเด็จพระมหาธรรมราชา ตั้งแต่ครั้งทรงเป็นขุนพิเรนทรเทพ จนได้เป็นพระมหาธรรมราชา ครองเมืองพิษณุโลก และเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา กษัตริย์อยุธยาต่อจากพระมหินทร มีพระธิดาและพระโอรสกับพระวิสุทธิกษัตรี คือพระนางสุพรรณกัลยา, สมเด็จพระนเรศวรฯ, และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งถ้าดูภาพยนตร์เรื่องสุริโยทัย และนเรศวร ของท่านมุ้ยมา จะอ่านได้ง่ายขึ้นมาก โดยวิธีเล่า ผู้เขียนได้ผูกเรื่องให้เป็นนิยาย อ่านง่าย ได้ประวัติศาสตร์ ภาษดี เล่าเรื่องเป็นจังหวะจะโคนดีมาก ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเขียนเรื่องราวในประวัติศาสตร์ออกมาเป็นนิยาย เล่าเรื่องที่ไม่ว่าคนเขียนหรือคนอ่านต่างก็ไม่เคยเห็น ให้ออกมาเป็นภาษาสละสลวย จนคนอ่านสามารถจินตนาการภาพตามได้ ประวัติศาสตร์ภายในเล่มแน่นมาก ผสมกลมกลืนกับส่วนที่เป็นนิยายได้กลมกล่อม แต่ไม่หวือหวา ไม่มีเซอร์ไพรส์ เรื่องราวเป็นไปตามประวัติศาสตร์นั้นแล มีลุ้นบ้าง ตื่นเต้นบ้าง ตอนทำศึกติดพัน มีผู้ได้เปรียบเสียเปรียบสลับกันไป แต่ก็จะมีช่วงที่เราเบื่อๆ ง่วงๆ บ้าง[…]