จู่ๆ วันดีคืนดีกลางปี 2558 สำนักพิมพ์ใหญ่ๆ ก็นัดกันจัดโปรโมชั่นและงานหนังสือซ้อนกันจนแยกร่างไม่ถูกเลยค่ะ จากที่เคยเป็นคนกอ.ทอ.มอ. แวบไปได้ทุกงาน กลายมาเป็นคนบ้านไกลเลยต้องจัดสรรชีวิตกันใหม่เสียหน่อย แปลงร่างจากขาช้อปธรรมดากลายมาเป็นขาช้อปออนไลน์แทน โชคยังดีที่บางงานหนังสือ เปิดขายออนไลน์ในโปรโมชั่นเดียวกันค่ะ ขอบคุณที่นึกถึงบ้านไกลสุดกันดาร T—-T สั่งซื้อไปไล่เลี่ยกัน แล้วเฝ้าลุ้นเฝ้ารออยู่เงียบๆ คนเดียว สำนักพิมพ์แรกที่เดินทางมาถึงเราคือมติชนค่ะ ถัดมาติดๆ คือจากนายอินทร์ค่ะ ซื้อกี่เล่มก็แพ็คใส่ซองกระดาษพร้อมกันกระแทกแบบนี้แหละ มันเป็นแนวทางของเค้าใช่ไหม แต่หนังสือก็อยู่รอดปลอดภัยดีค่ะ แถมร้านหนังสือออนไลน์เล็กๆ ตามเฟสบุ๊คอีกนิดหน่อย .. มูมินค่ะ บังเอิญสั่งมาในช่วงไล่เลี่ยกัน เอามารีวิวให้หมด เจ้านี้เราเคยซื้อ 2 – 3 หนแล้ว หนังสือดีๆ มีมาเป็นระยะๆ ค่ะ สภาพหนังสือโอเคทุกเล่มไม่มีปัญหา ส่งถึงบ้านไม่เกิน 1 สัปดาห์โดยประมาณ (หลังโอนเงิน) ค่ะ แม้สภาพกล่องที่ส่งมาไม่ค่อยสวยงามเท่าไร แต่อันนี้เราโอเคนะ เพราะถึงเขาจะลดต้นทุนเขา แต่หนังสือเราปลอดภัย แกะยากนิดหน่อยตอนกรีดกล่อง เพราะต้องเล็งว่าหนังสือน่าจะอยู่ตรงไหน ^^” ค่อยๆ[…]

เรื่อง นิทานแห่งความหวัง ผู้แต่ง รักษิตา สำนักพิมพ์ ฟรีฟอร์ม ราคา 170 บาท นิทานแห่งความหวัง เหมาะอย่างยิ่งที่จะหยิบมาอ่นต่อจากเรื่องเล่าของความรัก เพราะมันหวานละมุน และเต็มไปด้วยความรัก ความฝัน ความหวังพอๆ กัน เป็นนิทานที่ผู้ใหญ่ก็อ่านได้ เด็กๆ ก็อ่านดี ไม่ได้สอนให้เราต้องทำดี แต่สอนให้เราเป็นเด็กดีมีความสุขได้กลมกลืน กลมกล่อม น่ารักเป็นที่สุด มีลูก มีหลาน อย่าลืมเล่านิทานให้เด็กๆ ฟังนะคะ สำคัญที่สุด อย่าลืมเด็กๆ ในตัวเราด้วยเช่นกันนะคะ ^^

เรื่อง เรื่องเล่าของความรัก ผู้แต่ง รักษิตา สำนักพิมพ์ ฟรีฟอร์ม ราคา 195 บาท เห็นนามปากกา ‘รักษิตา’ จากฟรีฟอร์มสำนักพิมพ์มาได้หลายปีแล้ว แต่เพิ่งมาสะดุดใจตอนที่อ่านงานของเพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย แล้วเอ่ยถึงเพื่อนของเธอคนหนึ่ง หลังจากปะติดปะต่อข้อมูลจากหลายๆ เล่ม ถึงได้จับเค้าว่าเพื่อนผู้เล่านิทานเก่งของเพลงดาบฯ คือรักษิตา ‘ดาวเทียมสีชมพู’ หญิงสาวผู้อยู่ใน ‘บุคคลไม่สำคัญของโลก‘ ของเพลงดาบฯ นี่เอง อยากอ่านนิทานของเธอคนนี้มานาน ไม่นึกเลยว่าจะเป็นคนเดียวกันกับเจ้าของหนังสือเล่มนี้ สอยสิคะ จะรออะไร!! พอหนังสือตกถึงมือเรา อย่างหนึ่งที่ชัดเจนคือ .. รสหวานกำซาบออกมานอกเล่มอย่างเห็นได้ชัด หวาน สดใส น่ารัก ตั้งแต่ภาพปก คำนำ คำนิยม ตลอดไปจนถึงนิทานภายในเล่ม ไม่น่าเชื่อว่ามีผู้ใหญ่ที่มองโลกสดใสอย่างกับมองด้วยสายตาเด็กๆ แบบนี้ด้วย อ่านแล้วอมยิ้มได้ทุกบท ทุกตอนเลยค่ะ เรื่องที่เราชอบที่สุดคือเรื่องข้าวและหญ้า สองพี่น้องผู้แตกต่าง และพวกเธอได้เลือกทางเดินชีวิตของตนเอง น่ารักสดใสทั้งเรื่องเลยค่ะ ^^ เสียดายอยู่อย่างหนึ่งคือ การจัดรูปเล่มให้มีหน้าเว้นว่างเอาไว้ให้บันทึกมากไปหน่อย ทำให้เรื่องเล่าของความรัก กลายเป็นสิ่งครึ่งๆ กลางๆ ระหว่างหนังสือและสมุดบันทึก[…]

เรื่อง mannerism สมบัติผู้ดี 24 สาแหรก ผู้แต่ง อรรถ บุนนาค สำนักพิมพ์ ฟรีฟอร์ม ราคา 120 บาท ทั้งคำนำ คำนิยมตอนต้นเล่ม .. ล้วนแต่หลอกลวงเราว่าเนื้อหาในเล่มจะนำพาเราไปสู่วิถีแห่งการเป็นผู้มีมารยาทดี จวบจนกระทั่งแตะบทที่หนึ่งนั่นล่ะ เราจึงรู้สึกตัวว่าโดนหลอก .. และเรามาถูกทางแล้ว!! เพราะหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ฮาวทู แต่เป็นวัตถุที่ใช้อ่านเพื่อความบรรเทิงเท่านั้น อ่านไว้ประดับความรู้ เผื่อจับพลัดจับผลูได้แอ๊บเป็นผู้ดีกับเขาบ้าง! mannerism สมบัติผู้ดี 24 สาแหรก เป็นหนังสือบอกเล่าวิถีแห่งผู้ดี (ด้วยทุนนิยมชัดๆ) ผู้ดี มันก็ขึ้นกับนิยามของใครจริงๆ นะ และการเป็น ‘ผู้ดี’ อย่างในเล่มนี้นั้น บางทีมันก็ ‘เยอะ’ ไปอย่างที่เพื่อนคุณอรรถว่าอยู่เหมือนกัน มิน่า ถึงแถมจาก 8 สาแหรกไปให้ถึง 24 สาแหรก ให้สามคำสำหรับเล่มนี้ล่ะก็ ขอยก ‘เยอะ ยวน[…]

เรื่อง I hate to cook : บันทึกคนเกลียดครัว ผู้แต่ง ปราย พันแสง สำนักพิมพ์ ฟรีฟอร์ม ราคา 295 บาท เปลี่ยนจากครัวเกียวโตและครัวสันคะยอมของฮิมิโตะ ณ เกียวโต มายังครัวของคนที่ (เคย) เกลียดครัวอย่าง ปราย พันแสง บ้างดีกว่า สิ่งแรกที่เหมือนกันเป๊ะเลยก็คือ ทั้งฮิมิโตะฯ และปราย พันแสง ต่างออกตัวแบบเดียวกันเปี๊ยบเลยว่า ตัวเองเป็นพวกที่ขี้เกียจ อ่านแล้วก็ขอยกมือค้านเบาๆ ว่า ขี้เกียจตัวจริงน่ะเราต่างหาก อ่านอย่างเดียว ไม่เคยลุกขึ้นมาทำเมนูใดสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันสักที สิ่งแรกที่แตกต่าง .. ฮิมิโตะฯ ทำอาหารมาตั้งแต่เด็ก ทำจนสูตรอาหารแทรกซึมกลายเป็นชีวิตประจำวัน แม้แต่ป่วยไข้ยังลุกขึ้นมาทำกับข้าวแก้ป่วยด้วยตัวเอง ทำเมนูพิสดารได้สุดลัด (แบบที่คนขี้เกียจถึงจะคิดได้) มั่วๆ ออกมาแล้วก็ออกมาอร่อยเหาะ (เธอว่าอย่างนั้น) ในขณะที่ปราย พันแสง ไม่เคยเข้าครัวเลยตั้งแต่เด็ก อย่างนี้น่ะสิ ถึงเข้าใจตัวเองผิดมาตลอดว่า[…]

เรื่อง จดหมายจากเกียวโต ผู้แต่ง ฮิมิโตะ ณ เกียวโต สำนักพิมพ์ ฟรีฟอร์ม ราคา 250 บาท ถ้าจะนับกันตามลำดับเวลาที่เขียนมันขึ้นมา .. เล่มนี้คือเล่มแรกของฮิมิโตะ ณ เกียวโต แต่เอาเขาจริงๆ เราก็จำไม่ได้หรอกว่าหยิบเล่มนี้มาอ่านเป็นเล่มที่เท่าไรของเธอ สำหรับจดหมายจากเกียวโต ฮิมิโตะฯ ไม่ได้เล่าญี่ปุ่นในมุมมองของนักท่องเที่ยว แต่เป็นสายตาที่มองญี่ปุ่นแบบคนที่อยู่ในญี่ปุ่น เป็นคนไทยที่มีโอกาสไปเรียนที่ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นแบบฮิมิโตะฯ จึงเป็นญี่ปุ่นแบบที่ไม่ใช่มาตุภูมิ (อย่างคุณอรรถ) แต่ก็ไม่ใช่เพียงเมืองผ่าน เป็นเมืองนอน .. ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง มีความแปลกตาในวัฒนธรรมที่แตกต่าง แต่ก็มีความคุ้นเคย สนิทสนมพอที่จะเล่าถึงชีวิตประจำวันที่น่าสนุก น่าสนใจ สำนวนในเล่มนี้ ยังไม่ร้ายเหลือรุนแรงแบบจักรวาลในสวนดอกไม้ แต่ก็ซนพอที่จะอ่านสนุก ตัวหนังสือของฮิมิโตะฯ ทั้งดื้อและขวางโลก (ในบางแง่ เราเองก็เป็นแบบนั้น แต่ไม่ค่อยได้แสดงออก) อ่านแล้วมักจะก้ำกึ่งระหว่างความชอบกับความหมั่นไส้ เล่าเรื่องสนุกๆ เพลินๆ อยู่ดีๆ ก็วกมาจิกกัดวัฒนธรรมไทยเสียทีนึง เผลอๆ ก็หยดข้อความวิเคราะห์วิพากษ์สังคมปนลงไปสักหน่อย พอให้ขัดๆ คันๆ[…]