เรื่อง หนังสือเล่มหนา กาลเวลา และผู้คน ผู้แต่ง มิซึโยะ คาคุตะ ผู้แปล อังสนา ธาดาประภากร สำนักพิมพ์ piccolo (สำนักพิมพ์ในเครืออมรินทร์) เลขมาตรฐานหนังสือ 9786161853884 หนังสือเล่มบางๆ เล่มนี้ ถูกแบ่งออกเป็นเรื่องราวสั้นๆ 9 เรื่อง เล่าเรื่องของตัวละครที่แตกต่างกันออกไป สิ่งที่เชื่อมโยงตัวละครเหล่านี้ไว้ด้วยกัน คือเรื่องราวของผู้คน และหนังสือ ที่ก้าวข้ามผ่านกาลเวลา สมกับชื่อหนังสือ หนังสือเล่มหนา กาลเวลา และผู้คน เลยค่ะ เรื่องสั้นแต่ละเรื่องในเล่มนี้ สั้นมาก จนเหมือนแทบไม่มีพล็อตเป็นชิ้นเป็นอัน แค่เล่าเรื่อยๆ จบในตอน ไม่เกี่ยวเนื่องกัน แต่ถึงแม้จะบอกว่าดูเรื่อยๆ จนเหมือนไม่มีพล็อต แต่เรากลับคิดว่าผู้เขียนวางพล็อตเอาไว้แล้ว เรื่องสั้นในแต่ละตอนถูกวางแผนเอาไว้แล้วอย่างแยบยล ทั้งตอนเริ่ม ตอนเล่า และตอนจบ ไม่ใช่เรื่องราวที่อ่านไปอย่างเรื่อยเปื่อย แต่เป็นเรื่องที่ถูกปู ถูกตบ ให้จบอย่างเหมาะสม และมีผลต่อหัวใจ เราชอบตอนแรกเป็นพิเศษ และมันมีผลทำให้เราชอบเล่มนี้ไปทั้งเล่ม เล่มแรกเล่าถึงตอนที่ “ฉัน” อายุ 18 ปี เธอตัดสินใจขายหนังสือที่สะสมไว้จนเกลี้ยง เพราะต้องหมุนเงินมาใช้ดำรงชีวิตในแต่ละวัน ตอนที่ตั้งใจจะขายหนังสือเล่มหนึ่ง คุณลุงคนขาย … Read More →
เรื่อง หนังสือเล่มนี้ที่คุณตามหา ผู้แต่ง มิจิโกะ อาโอยามะ ผู้แปล ธนพล ศักดิ์สมุทรานันท์ สำนักพิมพ์ piccolo (สำนักพิมพ์ในเครืออมรินทร์) เลขมาตรฐานหนังสือ 9786161850708 หาอะไรอยู่หรือคะ .. คำถามธรรมดาๆ ที่คำตอบของมันอาจจะหมายถึงหนังสือสักเล่ม .. บางสิ่งที่ยังติดค้างในหัวใจ หรือไม่ก็ลึกซึ้งลงไปถึง .. เป้าหมายสำคัญในชีวิต .. สิ่งที่ตามหา .. และเราอาจไม่รู้ตัว บางที มันอาจะไม่ใช่เพียงหนังสือหนึ่งเล่ม ชื่อหนังสือที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งที่ขอ ถูกพิมพ์ลงบนกระดาษขนาดเอ 5 ซึ่งแนะนำโดยบรรณารักษ์ โคมาจิ ซายูริ บรรณารักษ์ร่างใหญ่ หน้าตาย ที่มีน้ำเสียงอบอุ่น และทำอะไรแปลกๆ อาจให้คำตอบของสิ่งที่ค้างคาใจนั้นได้โดยไม่รู้ตัว นี่เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่องราวแบบนั้นล่ะค่ะ เป็นอีกครั้ง ที่ฉากของหนังสือเล่มที่เราอ่านเกิดขึ้นในห้องสมุด ห้องสมุดแห่งนี้ เป็นห้องสมุดที่อยู่ในบริเวณสาธารณะของชุมชน และผู้คนที่เข้ามาใช้บริการ ก็เป็นผู้คนในชุมชนนั้นเอง นอกจากภายในห้องสมุด หนังสือยังบอกเล่าเรื่องราวนอกห้องสมุด อันนำพาเราไปสู่เรื่องราวในชีวิตของตัวละครในแต่ละตอน พวกเขาอาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน เดินสวนกันไปมา รู้จัก ทักทาย หรือเพียงเดินผ่าน .. แต่ละคน ต่างมีปัญหาของตัวเอง ไม่ใช่ปัญหาใหญ่โต แต่เป็นสิ่งที่ติดค้างอยู่ในหัวใจ เป็นความปรารถนาในส่วนลึก … Read More →
เรื่อง จะเป็นใครกันที่หยิบฉันออกจากชั้นหนังสือ ผู้แต่ง ซาโกะ ไอซาวะ ผู้แปล ปาวัน การสมใจ สำนักพิมพ์ piccolo (สำนักพิมพ์ในเครืออมรินทร์) เลขมาตรฐานหนังสือ 9786161848552 อ่านจบแล้วกรีดร้อง!!! เราตกหลุมพรางของนักเขียนไปตอนไหนกันนะ อ่านจบแล้วอยากจะย้อนกลับไปอ่านตั้งแต่แรกใหม่ เนื้อหาข้างล่างนี้ ขอสปอยล์นะคะ .. ตอนที่อ่านจบ แล้วพบกับเซอร์ไพรส์ของผู้เขียน สติแตกสุดๆ ไปเลยค่ะ ตกลงครูชิโอริมีกี่คนกันแน่ แล้วครูชิโอริคนไหนคือคนไหนกัน!? อันที่จริง ถ้าตั้งใจย้อนนึกกลับไปดีๆ มันก็มีตัวละครร่วมอยู่นะ ค่อยๆ ไล่ไปก็คงจะไม่งง แต่พอมาเจอทีเดียวตอนจบ เลยเหวอไปเลย งงไปเลย สนุกดีค่ะ แต่ตกใจ และเจ็บใจด้วย 5555 ตะหงิดๆ อยู่แล้วเชียว ว่าจะต้องจับตาคุณครูชิโอริ และน่าจะมีเรื่องของไทม์ไลน์มาเกี่ยว แต่เพราะอ่านผ่านๆ เลยไม่ได้เก็บประเด็นนี้ขนาดนั้น ถึงตอนนี้เลยอยากย้อนไปอ่านใหม่เลยค่ะ >,< จะเป็นใครกันที่หยิบฉันออกจากชั้นหนังสือ เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องเป็นตอนสั้นๆ ภายในเล่ม ถูกแบ่งออกเป็น 6 ตอน ทุกตอนมีตัวละครที่เชื่อมโยงกัน มันเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโรงเรียนมัธยมต้น แห่งเดียวกัน มีห้องสมุดของโรงเรียน เป็นฉากร่วมของทุกเรื่อง และคุณครูชิโอริ ที่เป็นคุณครูบรรณารักษ์ … Read More →
เรื่อง ปริซึม สีของความรู้สึก ผู้แต่ง ซนว็อนพย็อง ผู้แปล วิทิยา จันทร์พันธ์ สำนักพิมพ์ piccolo (สำนักพิมพ์ในเครืออมรินทร์) เลขมาตรฐานหนังสือ 9786161848903 ปริซึม สีของความรู้สึก เริ่มต้นเล่าเรื่องผ่านตัวละคร 2 คน คือเยจิน กับโดวอน เยจิน เป็นสาวออฟฟิศ ทำงานอยู่ในบริษัทของเล่น ที่มีสำนักงานอยู่บนอาคารแห่งหนึ่งกลางกรุงเกาหลี ในขณะที่โดวอน มีอาชีพเป็นซาวด์เอ็นจิเนีย มีหน้าที่แก้ไขเสียงภาพยนตร์ ทั้งสองคนเจอกันโดยบังเอิญ ที่ร้านกาแฟแห่งหนึ่งใกล้ๆ กับบริษัท มันเป็นร้านการแฟลับๆ ในซอกหลืบ ถึงแม้ย่านนั้นจะพลุกพล่น แต่ร้านกาแฟแห่งนั้นกลับเงียบสงบ ทั้งสองคนก็เลยเจอกันบ่อยๆ แล้วก็เริ่มรู้สึกดีต่อกัน ก่อนหน้านั้น หนังสือปูพื้นถึงความทรงจำที่ฝังใจเยจินมาตั้งแต่เด็ก ที่บ้านของเธอในชนบท เคยเลี้ยงวัวมาก่อน มีลูกวัวตัวหนึ่งที่เธอรักมาก ถูกขายไป พ่อนำเงินจากการขายลูกวัวตัวนั้นไปซื้อเครื่องเขียนสวยๆ ให้เธอ หนึ่งในเครื่องเขียนเหล่านั้น มีอันหนึ่งเป็นปริซึมทรงสามเหลี่ยมพีระมิด แม้จะเสียใจที่วัวถูกขายไป แต่ข้าวของเหล่านั้น โดยเฉพาะปริซึม ก็เป็นเสมือนตัวแทนของลูกวัวตัวนั้น เธอหลงใหลแสงที่ถูกส่องผ่านปริซึม และกระจายออกเป็นสีรุ้ง เธอมีความทรงจำทั้งดีและร้าย เกี่ยวกับเจ้าปริซึมนั้น และความทรงจำเหล่านั้นทำให้เกิดความรู้สึกฝังใจว่า ของที่รักนั้น ถ้ารักมาก … Read More →
เรื่อง ชีวิตไม่ไร้ความหมาย ผู้แต่ง วิกเตอร์ อี. ฟรังเคิล ผู้แปล นพมาส แววหงส์ สำนักพิมพ์ โซเฟีย สำนักพิมพ์ในเครืออมรินทร์ เลขมาตรฐานหนังสือ 9786161848286 ชีวิตไม่ไร้ความหมาย ถูกเขียนขึ้นโดย .. วิกเตอร์ อี. ฟรังเคิล จิตแพทย์ชาวออสเตรีย เขาถูกจับไปอยู่ในค่ายกักกันของนาซี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาถูกย้ายไปเรื่อยๆ ถึง 4 แห่ง ก่อนที่สงครามจะสิ้งสุดลง หนังสือเล่มนี้ พิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1946 ผู้เขียน เขียนส่วนแรกรวดเดียวจบ โดยใช้เวลาเพียง 9 วัน เราไม่แปลกใจเลย ที่เขาจะใช้เวลาเขียนน้อย เรื่องที่เล่ามันพรั่งพรู เขาเขียนออกมาจากความทรงจำรวดเดียว มันค่อนข้างวกวน ไม่รู้ว่าเป็นที่ผู้เขียนเองหรือผู้แปล แต่ถ้อยคำที่ใช้วกไปวนมาอยู่สักหน่อย หนังสือเล่มนี้ ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนแรก คือส่วนที่เขาเล่าประสบการณ์ในค่ายกักกันของนาซี ส่วนที่สอง คือรายละเอียดของโลโกเทอราปี ทฤษฎีทางจิตเวช ที่เกิดขึ้นจากการตกผลึกความคิดทั้งหมด ทั้งจากการสังเกตเหล่าผู้คนในค่ายกักกัน และรักษาผู้ป่วยภายหลังสงคราม ในเวลาต่อมา … Read More →
เรื่อง ชาเขียวอุ่นๆ กับคุณในวันจันทร์ ผู้แต่ง มิจิโกะ อาโอยามะ ผู้แปล อภิวัฒน์ พวงไธสง สำนักพิมพ์ piccolo (สำนักพิมพ์ในเครืออมรินทร์) เลขมาตรฐานหนังสือ 9786161850135 ชาเขียวอุ่นๆ กับคุณในวันจันทร์ ดูจากชื่อเรื่องแล้ว .. เดาได้ไม่ยากเลยว่า หนังสือเล่มนี้ต้องเกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มก่อนหน้า .. โกโก้อุ่นๆ กับคุณในวันพฤหัสฯ อย่างแน่นอน แม้ว่าเรื่องจะเกี่ยวข้องกัน แม้ว่าเรื่องจะต่อเนื่องกัน แต่เราอ่านรีวิวแล้วพบว่า คนอ่านแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายที่ชอบโกโก้ฯ มากกว่า กับฝ่ายที่ชอบชาเขียวฯ มากกว่า ความแตกต่างระหว่างสองเล่มนี้อยู่ตรงที่ เล่มชาเขียวฯ ใกล้ตัวกว่า เข้าถึงคนทั่วไปได้ง่ายกว่า หากแต่ก็ไม่ซับซ้อน ไม่ท้าทาย ในขณะที่โกโก้ฯ มีตัวละครที่ซับซ้อนมากกว่า ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน แต่เรามักพบเจอตัวละครลับตามหลืบมุมต่างๆ ของเรื่องต่างหาก นอกจากนี้ ประเด็นที่นำเสนอ ยังเป็นประเด็นที่เฉพาะเจาะจง และอาจจะไกลตัวคนอ่านที่ไม่ได้มีประสบการณ์ร่วมกับตัวละคร ถ้าถามว่าเราต้องอ่านสองเล่มนี้ต่อเนื่องกันตามลำดับไหม สำหรับเรา เราว่าควรนะ เพราะ ชาเขียวอุ่นๆ กับคุณในวันจันทร์ เป็นเรื่องราวภายหลังจาก – เหตุการณ์ในเล่ม โกโก้อุ่นๆ กับคุณในวันพฤหัสฯ … Read More →
เรื่อง โกโก้อุ่นๆ กับคุณในวันพฤหัสฯ ผู้แต่ง มิจิโกะ อาโอยามะ ผู้แปล ธนพล ศักดิ์สมุทรานันท์ สำนักพิมพ์ piccolo (สำนักพิมพ์ในเครืออมรินทร์) เลขมาตรฐานหนังสือ 9786161842420 เราเริ่มต้นบทแรกด้วยความรู้สึกเฉยๆ ถึงอย่างนั้นก็อ่านได้ราบรื่นดี พอขึ้นบทที่ 2 .. บทที่ 3 .. และบทต่อๆ มา ไม่รู้ทำไม ยิ่งอ่านไปยิ่งสนุก ทั้งๆ ที่แต่ละบทก็แยกจากกัน ไม่ได้เล่าต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียว แต่ยิ่งอ่านยิ่งชอบ และยิ่งรู้สึกว่าผู้เขียนลึกซึ้ง ว่าถึงชื่อเรื่องก่อน โกโก้อุ่นๆ กับคุณในวันพฤหัสฯ ทีแรก เราเข้าใจว่าหนังสือชื่อแบบนี้ น่าจะเล่าเรื่องในร้านกาแฟร้านหนึ่งตลอดทั้งเล่ม เหมือนเล่ม คาเฟ่ลูส เมนูที่รักจากการเดินทาง หรือ เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น แต่จริงๆ แล้ว เล่มนี้ ร้านกาแฟเป็นเพียงจุดเชื่อมเล็กๆ เท่านั้นเอง เรื่องเปิดขึ้นที่คาเฟ่แห่งหนึ่ง .. มาร์เบิ้ล คาเฟ่ แล้วหลังจากนั้นก็เชื่อมโยงตัวละครไปทีละตัว เป็นเรื่องสั้นๆ ที่มีตัวละครหลักของเรื่อง สลับหมุนเวียนกันไป ตัวละครเชื่อมโยงกันนิดหน่อย หลายๆ เรื่องในเล่มนี้ … Read More →
เรื่อง คุณ ผม และผู้คนที่สวนกันบนรถไฟสายฮังคิวผู้แต่ง อาริคาวะ ฮิโระผู้แปล พลอยทับทิม ทับทิมทองสำนักพิมพ์ piccolo(สำนักพิมพ์ในเครืออมรินทร์)เลขมาตรฐานหนังสือ 9786161850500 หนังสือเล่มนี้ เป็นผลงานของผู้เขียนคนเดียวกันกับที่เขียนหนังสือเรื่องผม แมว และการเดินทางของเรา ค่ะเราชอบเล่มแรกที่ได้อ่าน แล้วก็เลยคิดว่าน่าจะชอบเล่มนี้เช่นกันแล้วก็ชอบจริงๆ ด้วยค่ะ 🙂 ตลอดเวลาที่อ่าน เรารำพึงกับตัวเองว่า “น่ารักจัง” บ่อยมากกกกเราชอบวิธีเล่า ที่แบ่งเรื่องราวออกเป็นตอน ตามสถานีรถไฟแต่ละสถานี ของขบวนรถไฟสายฮังคิวเรื่องราวในตอนแรก เริ่มต้นด้วยเรื่องของชายหนุ่มที่ขึ้นรถไฟที่สถานีต้นทางเรื่องเล่าผ่านมุมมองของเขา ที่มักใช้เวลาในช่วงวันหยุดแวะมาที่ห้องสมุดที่อยู่ ณ ปลายทางของสถานีรถไฟแห่งนี้เขามาที่ห้องสมุดบ่อย จนจำผู้คนขาประจำของห้องสมุดได้หลายคนและเธอ .. คือหนึ่งในคนที่เขาจำได้ ..เรื่องราวเริ่มขึ้นแบบนั้น และจบตอนลงอย่างน่ารัก 🙂 แต่ว่า .. ผู้เขียนไม่ได้ทิ้งค้างเรื่องราวของตอนแรกเอาไว้แค่นั้นในระหว่างเรื่องราวของผู้หญิงอีกคนหนึ่ง ในตอนที่สองที่มาขึ้นรถไฟจากสถานีรถไฟที่สองของเส้นทางผู้เขียนได้แทรกฉากของชายหญิงคู่แรกบนรถไฟผ่านสายตาของหญิงสาวที่เป็นเจ้าของเรื่องเล่าในตอนนี้ เรื่องราวของคนคู่แรก และคนอื่นๆ ที่เป็นตัวเอกในแต่ละตอนยังถูกเล่าต่อๆ มา แทรกอยู่ในตอนต่างๆ และเรื่องราวต่างๆของผู้คนที่เดินทางสวนกันไปมาบนขบวนรถไฟสายนี้ ความเชื่อมโยง .. สายสัมพันธ์แบบไม่ผูกพันของผู้คนมากมายมันช่างเป็นวิธีเล่าเรื่องที่มีเสน่ห์และน่ารักแม้แต่ตอนที่เป็นเรื่องเศร้า ก็ยังมีมุมมองดีๆ เกิดขึ้นในเรื่อง หนังสือเล่มนี้ เล่าเรื่องด้วยจังหวะสบายๆ เนิบช้าผู้เขียนเล่าถึงผู้คนที่เดินทางด้วยรถไฟสายเดียวกันเดินสวนกัน มองเห็นกัน คุ้นหน้ากันบ้าง ฯลฯ แม้ว่าเรื่องจะเล่าไปเรื่อยๆ … Read More →
เรื่อง มีอะไรในสวนหลังบ้านผู้แต่ง คิมจินยองผู้แปล วิทิยา จันทร์พันธ์สำนักพิมพ์ แพรวสำนักพิมพ์เลขมาตรฐานหนังสือ 9786161829636 มันเริ่มจากกลิ่นเหม็นแปลกๆ ที่โชยคละคลุ้งอยู่ในสวนดอกไม้ของจูรันก่อนที่กลิ่นนั้น จะนำพาให้ตัวตนของเธอเปลี่ยนแปลงไปหมดสิ้นทุกอย่าง มีอะไรในสวนหลังบ้าน เป็นเรื่องราวที่ถูกเล่าผ่านผู้หญิงสองคนคือคิมจูรัน และอีซังอึน ตัดสลับกันอย่างลงตัว พอเหมาะผู้เขียนจงใจทิ้งปมง่ายๆ เอาไว้เป็นระยะๆให้เราคลำทางไปอย่างลุ้นๆในขณะที่อีกส่วนของเรื่อง กลับเป็นเผยตัวผู้ฆ่าอย่างโต้งๆเราค่อยๆ คลำทางไปเพื่อค้นหาว่า ปลายทั้งสองนี้จะไปเชื่อมต่อกันที่ใดและปมที่ผู้เขียนพาเราไปนั้น เป็นปมหลอกหรือไม่ เงื่อนงำ .. ความเชื่อใจและไม่เชื่อใจระหว่างคนในครอบครัวผู้เขียนเล่นกับความไม่แน่ใจในตัวเองของคนวิตกจริต ช่างระแวงความสงสัยที่ไม่กล้าเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความจริง ..หรือเป็นเพียงมโนภาพของตนเอง คำว่าผู้หญิง และสังคมเกาหลี ..เราได้รับอารมณ์และความรู้สึกแบบเดียวกัน –กับที่ได้รับเมื่อตอนที่อ่าน คิมจียองเกิดปี 82 มันรู้สึกอยู่จางๆผู้หญิงสองคนในเรื่องนี้ .. ภรรยาของชายผู้ร่ำรวย และภรรยาของชายที่ยากจนต่างก็มีความทุกข์ในแบบของตัวเองเป็นความทุกข์ที่มีรากฐานมาจากสังคมและค่านิยมแบบเกาหลีแบบที่ผู้หญิงด้อยกว่าผู้ชายเสมอ ไม่ว่าในสถานะไหนก็ตาม มีอะไรในสวนหลังบ้าน ดีงามทั้งการเปิดเรื่อง การดำเนินเรื่อง และพล็อตตอนที่ปมทุกอย่างค่อยๆ คลี่คลายออกมา มันพีคมากสำหรับเราก่อนหน้านี้เราเดาอะไรไม่ได้เลยได้แต่ตามเบาะแสเงื่อนงำที่ผู้เขียนค่อยๆ ปลดทีละเปลาะอย่างผู้ตามที่ดีแต่ไม่เคยตามทัน และยิ่งไม่อาจแซงหน้าผู้เขียนได้เลย ตอนที่อ่านหนังสือเล่มนี้จบเรานึกถึงการดูข่าว หรืออ่านข่าวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเล่มนี้ .. ในวันรุ่งขึ้นแน่นอนว่าเนื้อหาข่าวไม่ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงแน่ๆทำให้เราหวนคิดถึงข่าวอีกหลายข่าวที่เราได้ฟังได้ดูมามันมีความจริงอยู่เท่าไรกัน และความจริงที่ว่านั้น มันเป็นความจริงในแง่มุมไหน มนุษย์นั้นซับซ้อน และเราไม่อาจตัดสินผู้คนได้จากเพียงการกระทำเดียวหรือจากมุมมองเพียงมุมเดียวที่เรารับรู้ เล่มนี้พีคมาก และเราชอบมากค่ะ
เรื่อง ความทรงจำของวันพรุ่งนี้ผู้แต่ง โอกิวาระ ฮิโรชิผู้แปล หนึ่งฤทัย ปราดเปรียวสำนักพิมพ์ แพรวสำนักพิมพ์เลขมาตรฐานหนังสือ 9786161834647 เราเองก็อายุไม่น้อยแล้วนะที่หยิบเล่มนี้มาอ่านก็เพราะรู้สึกว่าเราเองก็มีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์อยู่เหมือนกันเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวเลย แต่ด้วยวิธีเล่าที่เริ่มต้นจากการบอกเล่าชีวิตประจำวันของผู้ชายญี่ปุ่นผู้เป็นหัวหน้าครอบครัววัยกลางคนเรื่องดำเนินไปอย่างเนิบนาบและไม่สามารถตอบโจทย์ความอยากรู้อยากเห็นของเราเกี่ยวกับอาการของโรคนี้ทำให้ช่วงต้นต่อติดได้ยากหน่อยกว่าจะผ่านไปแต่ละบท มันไม่มีอะไรดึงดูดเราเอาไว้ได้เลย ต่อเมื่ออ่านไปถึงช่วงหนึ่ง วิธีเล่าแบบนี้กลับเป็นประโยชน์มากเพราะมันทำให้เรารู้และเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เข้าใจว่าอะไรที่เกิดขึ้นกับตัวเขา และเข้าใจว่าเขาคิดอะไร สะเอกิ คือชายวัย 50 ที่เริ่มมีอาการป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์นับตั้งแต่วันที่เขารู้ว่าตนเองป่วย คล้ายกับว่าอาการของโรคค่อยๆ พัฒนาไปทีละน้อยแต่ถ้านับจากวันป่วยจนถึงวันสุดท้ายในเล่มก็นับว่าอาการป่วยรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว สะเอกิต่อสู้เต็มที่กับความทรงจำที่กำลังจะลบเลือนเขาอ่านหนังสือเพื่อทำความรู้จักกับโรคที่ตัวเองเป็นเปลี่ยนวิถึชีวิต เปลี่ยนวิธีการดื่มกินอาหารเขาจดบันทึกข้อมูลสำคัญที่ได้รับจากการทำงานในแต่ละวันนอกจากนี้ยังจดบันทึกเหตุการณ์ประจำวันมีสมุดแพลนเนอร์ที่จดละเอียดมากพกแผนที่ติดตัวไปด้วย ฯลฯแต่ถึงอย่างนั้น ความกลัวและไม่มั่นใจ ก็มีปรากฏให้เห็น ความทรมานของโรคไม่ได้อยู่ที่การเจ็บป่วยทางกายแต่มันคือความหวาดกลัวว่าเราจะหลงลืมทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยรู้จักหลงลืมเพื่อน หลงลืมเพื่อนร่วมงาน หลงลืมแม้แต่คนในครอบครัวและท้ายที่สุดแล้ว คือการหลงลืมตัวเอง และสูญเสียความเป็นตัวเองไป การที่ล่วงรู้อยู่ก่อนแล้วว่าปลายทางที่โหดร้ายนั้นเป็นอย่างไรนั้นทำให้ระหว่างทางที่ผ่านพ้นไปในแต่ละวัน เป็นวันที่น่าหวั่นใจไม่น้อย ในตอนใกล้จบเราลุ้น เอาใจช่วยกับการทำตามฝันอันบ้าบิ่นของชายผู้เป็นอัลไซเมอร์คนนี้มากและแม้ว่าเราจะพอเดาตอนจบของหนังสือเล่มนี้กันได้อยู่แล้วแต่ผู้เขียนก็สามารถสร้างตอนจบที่ละมุนละไม สวยงาม(ซึ่งในความสวยงามที่ว่านี้ ก็รู้แหละว่ามันคือความโหดร้ายในความเป็นจริง) ความทรงจำของวันพรุ่งนี้ เป็นหนังสือที่เริ่มต้นแบบง่วงๆ แต่กลับจบลงด้วยความดีงามเป็นอีกครั้งที่เราดีใจที่ได้อ่านมันจนจบไม่ได้เลิกอ่านไปก่อนตั้งแต่ไม่กี่หน้าแรก