เรื่อง อิ่มอกอิ่มใจ ผู้แต่ง รัตมา พงศ์พนรัตน์ สำนักพิมพ์ polka dot ราคา 395 บาท ถัดจากครัวเหนือ (ฮาร์ดคอร์) แบบฮิมิโตะ ณ เกียวโต และครัวเหนือ (เพื่อสุขภาพ) แบบปราย พันแสงแล้ว เล่มนี้นำเสนอครัวอบอุ่น ครัวแห่งความรัก สุดฟรุ้งฟริ้งค่ะ (พลิกอารมณ์ตามแทบไม่ทัน) อ่านเมนูทำอาหารมาหลายๆ เล่มก็ชักจะจับสังเกตได้ว่า ผู้เขียนส่วนมากมักจะพ่วงเอาความหลังแถมมากับเมนูอาหารเหล่านั้นด้วย เมนูที่อร่อยที่สุด มักจะเป็นเมนูที่เคยกินตอนเด็กๆ เมนูที่ทำกินกันในบ้าน หรือเมนูที่พ่วงเอาความรักความเอาใจใส่ของครอบครัว ความทรงจำแกล้มรสชาติเหล่านี้จึงมักเป็นเมนูโปรดที่เราทุกคนต่างโหยหา แบบบ้านใครบ้านมัน สูตรใครสูตรมัน และยากจะตัดสินว่าใครเด็ดไปกว่าใคร ผู้เขียนได้รวบรวมและเรียงเรียงนานาเมนูที่ว่านี้ ผ่านปากคำตัวแทนเจ้าบ้านหลายๆ บ้าน บันทึกไว้ให้เราอ่าน แล้วอบอุ่น และอิ่มเอม เจ้าของเมนูอิ่มอกอิ่มใจในเล่มนี้ ประกอบไปด้วย แหวว ดร.ม.ล. จิตตวดี จิตรพงศ์, ก้อง พ.ต.ท. นรบดี ศศิประภา, พาย ภัทรียา[…]

เรื่อง I hate to cook : บันทึกคนเกลียดครัว ผู้แต่ง ปราย พันแสง สำนักพิมพ์ ฟรีฟอร์ม ราคา 295 บาท เปลี่ยนจากครัวเกียวโตและครัวสันคะยอมของฮิมิโตะ ณ เกียวโต มายังครัวของคนที่ (เคย) เกลียดครัวอย่าง ปราย พันแสง บ้างดีกว่า สิ่งแรกที่เหมือนกันเป๊ะเลยก็คือ ทั้งฮิมิโตะฯ และปราย พันแสง ต่างออกตัวแบบเดียวกันเปี๊ยบเลยว่า ตัวเองเป็นพวกที่ขี้เกียจ อ่านแล้วก็ขอยกมือค้านเบาๆ ว่า ขี้เกียจตัวจริงน่ะเราต่างหาก อ่านอย่างเดียว ไม่เคยลุกขึ้นมาทำเมนูใดสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันสักที สิ่งแรกที่แตกต่าง .. ฮิมิโตะฯ ทำอาหารมาตั้งแต่เด็ก ทำจนสูตรอาหารแทรกซึมกลายเป็นชีวิตประจำวัน แม้แต่ป่วยไข้ยังลุกขึ้นมาทำกับข้าวแก้ป่วยด้วยตัวเอง ทำเมนูพิสดารได้สุดลัด (แบบที่คนขี้เกียจถึงจะคิดได้) มั่วๆ ออกมาแล้วก็ออกมาอร่อยเหาะ (เธอว่าอย่างนั้น) ในขณะที่ปราย พันแสง ไม่เคยเข้าครัวเลยตั้งแต่เด็ก อย่างนี้น่ะสิ ถึงเข้าใจตัวเองผิดมาตลอดว่า[…]

เรื่อง ครัวหรรษาจากปลาร้าถึงวาซาบิ ผู้แต่ง ฮิมิโตะ ณ เกียวโต สำนักพิมพ์ มติชน ราคา 155 บาท ชีวิตอย่างกับถูกจัดฉาก ในวันหนึ่งที่เราตะบี้ตะบันขุดงานเก่าๆ ของฮิมิโตะ ณ เกียวโต ออกมาอ่านไล่เรียงลำดับไปทีละเล่มนั้น ก็มีเหตุให้ต้องเดินทาง .. และระหว่างการเดินทางเราก็ได้พบเจ้าเล่มนี้ นอนรอเรานิ่งๆ อยู่ที่ร้านหนังสือมือสองแห่งหนึ่ง จากที่เคยคิดว่าจะปิดท้ายฮิมิโตะ เซ็ต เอาไว้ที่คลุกข้าวซาวเกลือ ครัวหรรษา จากปลาร้าถึงวาซาบิ เล่มนี้จึงกลายเป็นเล่มปิดท้ายกว่า แถมมาอีกเล่มไปโดยปริยาย อ่านผ่านๆ มาจากหลายเล่มว่าฮิมิโตะ ณ เกียวโต เคยร่วมแรงกับเพื่อนชาวญี่ปุ่น เปิดร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นอยู่พักหนึ่ง หนังสือเล่มนี้ จะมาเล่าถึงประสบการณ์ครั้งนั้นแบบเพียวๆ เต็มๆ เมื่อฮิมิโตะฯ มีเหตุให้ต้องตกปากรับคำไปทำครัววาซาบิอยู่ร่วมปี เรื่องราวที่เกิดขึ้นในครัวจึงค่อยๆ ถูกถ่ายทอดสู่เราเหล่านักอ่านทีละน้อยๆ แม้จะเป็นการเริ่มต้นอย่างทุลักทุเล เพราะหุ้นส่วนทั้งสองล้วนเป็นมือใหม่นักฝันด้วยกันทั้งคู่ ตอนฝันก็ร่วมกันฝันดีอยู่หรอก แต่อีตอนทำก็แทบจะยกกระทะตะหลิวช้งเช้งกันไปปรึกษากันไป แต่ระยะเวลาที่ผ่านไป ทำให้ครัวแห่งนี้แข็งแรงขึ้น (บ้าง) ทั้งปริมาณสมาชิก สูตรอาหาร และปริมาณเสบียงกรัง[…]

เรื่อง คลุกข้าวซาวเกลือ ผู้แต่ง ฮิมิโตะ ณ เกียวโต สำนักพิมพ์ แพรวสำนักพิมพ์ (สนพ. ในเครืออมรินทร์) ราคา 229 บาท ถ้ายกให้จักรวาลในสวนดอกไม้เป็นเล่มโปรด คลุกข้าวซาวเกลือ เล่มนี้คือเล่มที่ชอบรองลงมาสูสีกับจดหมายจากสันคะยอม เป็นการผสมผสานระหว่างเมนูอาหาร เพื่อน ความสัมพันธ์ ความรัก (ความไม่รัก?) ฯลฯ ได้อย่างลงตัว เหมาะเจาะกว่าเล่มใดๆ ตัวหนังสือของฮิมิโตะฯ เติบโตขึ้นตามตัวตนของเธอ และเรื่องราวในนั้น มันก็เพิ่มความสุขุม ละมุนละไม ความฟูมฟายลดลง ความรู้สึกตกผลึกแล้ว เรื่องรักเคล้าอาหาร (ซึ่งก็มักเป็นเมนูแปลกประหลาด แต่น่ากิน) เราน้ำลายไหลทุกครั้งที่ฮิมิโตะฯ บรรยายฉากการทำอาหารของเธอ (หรือของใครๆ ก็ตามที่เธอพาดพิงถึง) จากก็นั่งทำใจกันไป เพราะอาหารเหล่านี้ไม่รู้จะหากินได้ที่ไหน บางอย่าง ชื่อยังเพิ่งเคยได้ยินครั้งแรกในตอนอ่านนี่แหละ นึกๆ ไป มันก็เป็นหนังสือที่ไม่ดีเอาซะเลย .. อ่านดึกๆ หิวมาก >,< เราชอบการเล่าเรื่องแบฮิมิโตะฯ คือแบบสองรวมเป็นหนึ่ง เป็นการเล่าเรื่องตัดสลับของสองสิ่งซึ่งไม่เกี่ยวกัน แต่ก็เกี่ยวกัน[…]

เรื่อง vanishing life&desirable taste เมนูปรารถนา ผู้แต่ง ฮิมิโตะ ณ เกียวโต สำนักพิมพ์ ระหว่างบรรทัด ราคา 135 บาท ตีความ หาเหตุผลให้กับทุกอารมณ์ ทุกความรู้สึกที่เข้ามากระทบใจ บางทีมันมากเกินไปจนเรารู้สึกว่าชีวิตเธอมันช่างยากจัง แต่ฮิมิโตะ ณ เกียวโต ก็ยังเป็นนักเขียนผู้เขียนเรื่องอาหารได้อีโรติคเป็นบ้า!! (แม้ในช่วงภาวะอารมณ์อ่อนแออย่างในเล่มนี้) หลังจากที่หลงเพลินอยู่ในรสอาหารที่ฮิมิโตะฯ นำมาบอกเล่าอยู่หลายเล่ม และแล้วเล่มนี้เธอก็พากเรากลับมาหลงเพลินอยู่ในรสอารมณ์อย่างเต็มภาคภูมิอีกครั้ง นำความทุกข์ กิเลสตัณหาของตัวเองมาพัวพันกับเมนูอาหาร และเขียนเล่าเรื่องได้เป็นเล่ม (เก่งเว่อร์ .. ชมค่ะ) ฮิมิโตะฯ ยังคงเป็นฮิมิโตะฯ คนเดิมคนเดียวกับที่เล่าเรื่องต้นไม้ใบหญ้ารอบๆ บ้าน สำนวนวิเคราะห์โลก หยามเหยียดความรัก แต่ก็โหยหามัน เล่มนี้เธออ่อนแอเป็นพิเศษ ความเก่งกล้า เย้ยหยันลดน้อยถอยไป (อาจเกี่ยวกับกำลังใจในช่วงที่เขียน) แต่ในฐานะคนอ่าน เมนูปรารถนาเล่มนี้ยังคงอ่านเพลินเช่นเคย เพิ่มเติมอีกนิด เดี๋ยวจะหาว่าเล่มนี้ไม่มีสาระ เน้นอารมณ์ล้วนๆ นี่!! ดูความคิดสุดแหวกแนวของเธอเสียก่อน เธอชวนเชื่อจนเราเชื่อตามเธอไปด้วยอย่างนั้นจริงๆ[…]

เรื่อง โสดสนุก สูตรอร่อย ผู้แต่ง ฮิมิโตะ ณ เกียวโต สำนักพิมพ์ diva books ราคา 230 บาท เล่มนี้ว่ากันด้วยเรื่องของอาหารเพียวๆ (ที่สุด) มีสูตร วิธีทำ เกร็ดเบาๆ และภาพประกอบ ไม่มีครอบครัว ไม่มีผู้ชาย และไม่มีเซ็กซ์ ค่ะ ด้วยมาตรฐานแบบฮิมิโตะ ณ เกียวโต เราว่าเล่มนี้ง่ายไปนะนี่ (ฮา) แต่ถึงกระนั้น โสดสนุกสูตรอร่อย ก็เป็นหนังสือทำอาหารที่อ่านแล้วขำได้ สำนวนภาษาแบบฮิมิโตะฯ ยังอยู่ครบถ้วน เมนูส่วนมาก ง่ายแสนง่ายแบบที่คนไม่เคยทำครัวอ่านแล้วยังอยากลุกขึ้นมายกกระทะบ้างเลย หลังจากเล่าเรื่องสูตรอร่อยอย่างเดียวกันมาจนเกือบจบ ท้ายเล่ม ฮิมิโตะฯ จึงปิดท้ายเอาใจคนโสดด้วยสูตร “โสดสนุก” อย่างเดียว เพียวๆ อีก 1 เซ็ตเล็กด้วย

เรื่อง ยำใหญ่ใส่ความรัก ผู้แต่ง ฮิมิโตะ ณ เกียวโต สำนักพิมพ์ ระหว่างบรรทัด (มติชนหนุนหลัง) ราคา 145 บาท หลังจากที่แตะๆ เฉียดๆ เรื่องของอาหารมาตลอด เล่มนี้ฮิมิโตะฯ มาว่ากันด้วยเรื่องของอาหารเต็มๆ ค่ะ ยำใหญ่ใส่ความรัก เป็นลีลาผสมผสานระหว่างความรัก เซ็กซ์ และอาหาร อย่างที่เราคุ้นเคยในงานเขียนของฮิมิโตะ ณ เกียวโต ลีลาการเล่ายังคงเหลือหลาย อย่างเช่น .. ฉากการทุบหัวปลาครั้งแรก สะเทือนอารมณ์ที่สุด แล้วจู่ๆ เธอก็จบแบบมุมกลับ กระชากอารมณ์กันดื้อๆ อาหารแบบฮิมิโตะฯ ไม่เคยธรรมดาอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่มีเมนูธรรมดาๆ ปะปนมาบ้าง วิธีเล่าของเธอ ก็ทำให้อาหารธรรมดาๆ มีเสน่ห์ เนื้อความในเล่มนี้สนุก เฮฮา แต่ไม่จิกกัดแดกดันใครเท่าเล่มอื่นๆ ค่ะ

เรื่อง จดหมายจากสันคะยอม ผู้แต่ง ฮิมิโตะ ณ เกียวโต สำนักพิมพ์ สารคดี ราคา 190 บาท สันคะยอมในมุมของฮิมิโตะฯ คือตัวอย่างหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชนบทของไทย เปล่า .. จดหมายจากสันคะยอมไม่ใช่เรื่องเครียดขนาดนั้น สำนวนของฮิมิโตะฯ ยังคงผ่าซาก และเปิดมุมมองแปลกๆ ให้เราเสมอ เรื่องเล่าในจดหมายจากเกียวโต เราได้รู้ว่าฮิมิโตะฯ จากบ้านจากเมืองไปอยู่เกียวโตเสียหลายปี การห่างบ้านไปนานขนาดนั้น เมื่อกลับมาอีกครั้ง ย่อมหลีกเลี่ยงความเปลี่ยนแปลงไม่พ้น ความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดาโลก เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เพียงแต่ถ้าเราอยู่กับมัน เราอาจจะไม่รู้สึก แต่สำหรับคนที่จากไปนานๆ บางความเปลี่ยนแปลงก็ทำให้รู้สึกเศร้า เปล่า .. ฮิมิโตะฯ ไม่ได้บอกว่าเธอเศร้าแม้แต่น้อย แต่ตัวหนังสือของเธอแอบบอกเราเป็นระยะๆ .. ว่าอย่างนั้น จดหมายจากสันคะยอม เป็นภาคต่อของจดหมายจากเกียวโต ด้วยว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นค่อนข้างเชื่อมต่อกัน แต่ภาพที่เกิดขึ้น เป็นคนละภาพ เปลี่ยนจากเกียวโต ณ ญี่ปุ่น มาเป็นหมู่บ้านสันคะยอม ณ เชียงใหม่แทน เมื่อฉากเปลี่ยน เรื่องราวที่เกิดขึ้นจึงเปลี่ยนไปตามภาพ[…]

เรื่อง จดหมายจากเกียวโต ผู้แต่ง ฮิมิโตะ ณ เกียวโต สำนักพิมพ์ ฟรีฟอร์ม ราคา 250 บาท ถ้าจะนับกันตามลำดับเวลาที่เขียนมันขึ้นมา .. เล่มนี้คือเล่มแรกของฮิมิโตะ ณ เกียวโต แต่เอาเขาจริงๆ เราก็จำไม่ได้หรอกว่าหยิบเล่มนี้มาอ่านเป็นเล่มที่เท่าไรของเธอ สำหรับจดหมายจากเกียวโต ฮิมิโตะฯ ไม่ได้เล่าญี่ปุ่นในมุมมองของนักท่องเที่ยว แต่เป็นสายตาที่มองญี่ปุ่นแบบคนที่อยู่ในญี่ปุ่น เป็นคนไทยที่มีโอกาสไปเรียนที่ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นแบบฮิมิโตะฯ จึงเป็นญี่ปุ่นแบบที่ไม่ใช่มาตุภูมิ (อย่างคุณอรรถ) แต่ก็ไม่ใช่เพียงเมืองผ่าน เป็นเมืองนอน .. ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง มีความแปลกตาในวัฒนธรรมที่แตกต่าง แต่ก็มีความคุ้นเคย สนิทสนมพอที่จะเล่าถึงชีวิตประจำวันที่น่าสนุก น่าสนใจ สำนวนในเล่มนี้ ยังไม่ร้ายเหลือรุนแรงแบบจักรวาลในสวนดอกไม้ แต่ก็ซนพอที่จะอ่านสนุก ตัวหนังสือของฮิมิโตะฯ ทั้งดื้อและขวางโลก (ในบางแง่ เราเองก็เป็นแบบนั้น แต่ไม่ค่อยได้แสดงออก) อ่านแล้วมักจะก้ำกึ่งระหว่างความชอบกับความหมั่นไส้ เล่าเรื่องสนุกๆ เพลินๆ อยู่ดีๆ ก็วกมาจิกกัดวัฒนธรรมไทยเสียทีนึง เผลอๆ ก็หยดข้อความวิเคราะห์วิพากษ์สังคมปนลงไปสักหน่อย พอให้ขัดๆ คันๆ[…]

เรื่อง จักรวาลในสวนดอกไม้ ผู้แต่ง ฮิมิโตะ ณ เกียวโต สำนักพิมพ์ แพรวสำนักพิมพ์ (สนพ. ในเครืออมรินทร์) ราคา 159 บาท เริ่มต้นกันตั้งแต่คำนิยมเด็ดๆ ด้วยกลอนของโตมร จักรวาลในสวนดอกไม้ .. บอกเล่าความทรงจำเสมือนจริง แบบที่จริงใจที่สุด (อย่างน้อยเราก็รู้สึกอย่างนั้น) บอกเล่าชีวิตครอบครัว และความรักของเธอ .. พร้อมทั้งแตะแต้มตำหนิอันเป็นจริงลงอย่างไม่ปิดบัง มนุษย์มีหลายด้านเสมอ อย่างน้อยผู้หญิงอย่าง “คำ ผกา” ก็มีมุมอ่อนไหว อ่อนโยนในยามเล่าถึงต้นไม้และความหลัง แม้ว่ามุมละมุนของเธอที่ว่านี้จะแทรกด้วยทัศนคติติดลบเป็นระยะๆ แม้อยู่ในร่างฮิมิโตะ ณ เกียวโต ปากจัดของเธอยังก่นด่าทุกอย่างรอบตัว ไปพร้อมๆ กับวาดภาพละมุนละไมของพืชพันธุ์ เป็นภาพสวยปนแซ่บที่พอเหมาะลงตัวอย่างแปลกประหลาด ภาษาของฮิมิโตะฯ มีอารมณ์ มีสีสัน มีจังหวะจะโคนของมัน จุดเริ่มต้นและจุดจบ ขมวดมุ่นทบปมสวยงาม โลกสวยงาม แม้ในสายตาที่มองมันในแง่ร้ายอย่างสายตาของฮิมิโตะฯ โลกซับซ้อน ชีวิตคนซับซ้อน จริง หลอก ถูกหลอก[…]