อ่านแล้วเล่า

หินครวญ

112-1 หินครวญ

เรื่อง หินครวญ
ผู้แต่ง ฮิคารุ โอคุมิซึมิ
ผู้แปล ปาริชาต ฉิมคล้าย
สำนักพิมพ์ โอ้พระเจ้า
ราคา 140 บาท

จำได้ว่าเมื่อตอนหยิบ หินครวญ มาอ่านครั้งแรกนั้นไม่ชอบเลย
หนังสืออะไรไม่รู้แปลกประหลาด
มีฉากแหวะปนมาเบาบาง อี๋มากตอนนั้น
แต่พอหยิบมาอ่านรอบนี้กลับรู้สึกโอเคกับมัน
และฉากแหวะที่ว่า ก็เป็นเพียงฉากเดียวที่ผ่านมาแล้วผ่านไป

หินครวญ เป็นหนังสือบางๆ ที่มีเพียง 3 บท
แต่แต่ละบทก็ไม่สั้นนะ มีแบ่งย่อยๆ ออกไปอีกเป็นช่วงสั้นๆ
เล่าเรื่องของมะนะเซะ ชายผู้รอดชีวิตจากสงคราม และกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติ

เป็นการดำเนินเรื่องไปด้วยความสงบเงียบ
แม้ว่าระหว่างทาง ตัวละครจะได้เผชิญกับความทุกข์ ความเศร้าในชีวิตอยู่บ้าง
แต่ความรู้สึกทั้งปวงก็ยังดำเนินไปอย่างเงียบสงบโดยแท้
มะนะเซะ เป็นตัวละครที่ต้องพบกับเหตุการณ์ที่สร้าง ‘แผล’ ให้กับชีวิตเขาถึงสองครั้ง
ครั้งแรกเกิดขึ้นในถ้ำแห่งหนึ่งอันไกลโพ้น ในยุคสงคราม
และอีกครั้ง เกิดขึ้นในถ้ำอีกแห่ง ไม่ไกลจากบ้านของเขาเอง

จิตใต้สำนึกของเขาได้ผสานร่องรอยของแผลทั้งสองให้เป็นหนึ่งเดียว?
เป็นเรื่องราวที่จบแบบอึ้งๆ อึนๆ คำตอบของคำถามเกิดขึ้นในใจใครใจมัน
งุนงง สงสัย สับสน และอัดอั้น

ตอนอ่าน เรารู้สึกว่าเหมือนอยู่บนเรือที่จอดนิ่งอยู่บนท้องน้ำทะเล
มันมีจังหวะโยนตัวขึ้นลงอย่างเนิบช้า
เดี๋ยวก็หวิววืด เดี๋ยวก็เหมือนถูกกล่อม อ่อนโยน ..
มะนะเซะสูญเสียลูกชายหนึ่งคน ครอบครัวแตกสลาย
และชีวิตเข้าสู่สมดุลอันควรเป็น?
แต่แล้ว ลูกชายอีกคนกลับสร้างปมความสงสัยขึ้นในใจของผู้อ่าน
ขบกันหัวแตกเลยค่ะ อ่านจบแล้วอยากถกกับใครสักคน
ต้องมีใครสักคนที่คิดเหมือนเราแน่ๆ

สิ่งที่ชอบในเรื่องนี้ คือบทความตอนนี้ค่ะ ..

112-2 หินครวญ 112-3 หินครวญ 112-4 หินครวญ

บทความที่เป็นจุดเปลี่ยนชีวิตของมะนะเซะ
คำพูดที่เป็นแรงบันดาลใจให้เขาเริ่มต้นสะสมหิน
เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติมาก
แต่น่าเสียดายที่มันกลับกลายเป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด?
ว่าแต่ว่า มันเป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด .. จริงๆ หรือ?

Comments are closed.