อ่านแล้วเล่า

นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ

136-1-%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1

เรื่อง นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
A Man Called Intrepid
ผู้แต่ง วิลเลียม สตีเวนสัน
พระราชนิพนธ์แปล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
สำนักพิมพ์ อมรินทร์ฯ
ราคา 300 บาท

นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่เราตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่ต้นปี
ว่าจะต้องอ่านให้จบภายในปีนี้ให้ได้
และคิวที่จะหยิบมาอ่าน ก็ใกล้จะถึงเต็มที ไม่นานเลย
สุดท้าย .. เราก็ไม่ได้อ่านหนังสือพระราชนิพนธ์แปลของท่าน .. ในรัชกาลของท่าน
เป็นหนึ่งสิ่งที่เสียใจที่สุด
แต่ถึงอย่างนั้น คำสอนของท่าน ที่ท่านตั้งพระทัยจะพระราชทานให้แก่คนไทยทั้งปวง
ก็จะยังคงอยู่ในหนังสือเล่มนี้ พร้อมให้ผู้คนได้หยิบมาอ่าน
ได้ตระหนักรู้ถึงคำสอนนั้น .. ตลอดกาล

139-3-%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1

ครั้งแรกที่ตั้งใจว่าจะอ่านหนังสือนี้ ยอมรับว่าเกร็งอยู่หน่อยๆ
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหนังสือหนามาก แถมยังเป็นพระราชนิพนธ์แปลด้วย
เรากลัวว่าเนื้อหา และภาษาจะต้องยากแน่ๆ
เลยแอบไปลองเสิร์ชหาเค้าโครงเรื่องคร่าวๆ ก่อน
พบว่า เนื้อหาของเรื่องมีความน่าสนใจมาก
ดูแล้วมีกำลังใจที่จะอ่านมากขึ้น และความกลัวค่อยๆ ลดลง

นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นจากเหตุการณ์จริงที่ถูกปกปิดมานาน
เป็นเรื่องราวในช่วงก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ล่วงเลยมาจนสิ้นสุดสงคราม
เบื้องหน้าและเบื้องหลังของบุคคลที่มีอำนาจตัดสินใจ และบุคคลใกล้ชิด
เน้นไปทางฝั่งอังกฤษและอเมริกาบางส่วน

ระหว่างที่สงครามกำลังบ่มเพาะกรุ่นๆ อยู่นั้น
เยอรมันเตรียมพร้อมแล้วที่จะเปิดศึกตามแผนไมน์ คัมฟ์ (Mein Kampf) –
หนังสือหรือแผนการณ์ที่ฮิตเลอร์เขียนขึ้นเมื่อยามที่เขาติดคุก
เขามีแผนที่จะยึดครองโลกใบนี้
และควบคุมให้ประชากรในโลกมีเพียงสายเลือดบริสุทธิ์ของชาวเยอรมันเท่านั้น

139-5-%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1

ขณะนั้น อังกฤษยังคงแตกแยกกันอยู่ระหว่างพวกที่รักสงบ
และพวกที่ถูกตราหน้าว่ากระหายสงคราม
เนวิลล์ เชมเบอร์เลน (Neville Chamberlain) นายกรัฐมันตรีในขณะนั้น
มีความเห็นอย่างยิ่งยวดว่าอังกฤษจะปลอดภัย อยู่ท่ามกลางความบ้าระห่ำของเยอรมัน
โดยยินยอมให้เยอรมันกระทำตามใจ รุกล้ำยุโรปไปเรื่อยๆ

กลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง อันมีสมาชิกสำคัญๆ คือเชอร์ชิลด์ สตีเฟนสัน โดโนเวน ฯลฯ
สตีเฟนสัน หรือวิลเลียม สตีเฟนสันนี่เอง คือเจ้าของนามแฝงว่า ‘นายอินทร์‘ (intrepid)
คนกลุ่มนี้ได้กระทำการลับๆ แต่สำคัญยิ่ง คือการสืบข่าวลับจากเยอรมัน
เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการเตรียมรับมือสงครามใหญ่ครั้งนี้
เชอร์ชิลด์ และสตีเฟนสัน กระทำการข้ามหัวนายกเชมเบอร์เลน
ไปกราบทูลต่อพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ ๒
และติดต่ออย่างลับๆ กับ แฟรงกลิน ดิลาโน รูสเวลท์ ประธานาธิบดีอเมริกา

139-4-%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1

เมื่อมีผู้ถามว่า เชอร์ชิลล์หวังจะเป็นนายกรัฐมนตรีหรือเปล่า
ภริยาของเขาตอบว่า “จะเป็นก็ต่อเมื่อหายนะใหญ่หลวงมาทำให้ประเทศชาติล่มจม .. ”

ปมก่อกำเนิดสงครามโลกครั้งที่สองนี้
และการทำงานของหน่วยสืบราชการลับ
ที่ต่อสู้อย่างเต็มกำลังที่จะให้อังกฤษอยู่รอดปลอดภัยนั้น
จอร์จ เออร์วิลได้ร่วมรู้ตื้นลึกหนาบางด้วยบางประการ
เขาได้รู้แผนการลับระหว่างเยอรมันและรัสเซีย
สองขั้วมหาอำนาจได้จับมือกันยึดครองโลกแบบลับๆ
และปันส่วนแบ่งประเทศที่ชอบๆ กันเป็นการภายใน
(แต่ท้ายที่สุดแล้ว เยอรมันก็หักหลัง โจมตีรัสเซียตามที่รู้กัน)

139-6-%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1

ข้อมูลที่ว่านี้ คงมีส่วนไม่มากก็น้อย ที่ทำให้ 1984 ถือกำเนิดขึ้น
นอกจาก 1984 แล้ว การทำงานแบบอุทิศชีวิตของจารชนเหล่านี้
ยังเป็นแรงบันดาลใจให้เอียน เฟล็มมิง เขียน 007 ขึ้นอีกด้วย

เมื่ออังกฤษถึงตาจน
หน่วยงาน บี.เอ็ส.ซี. ของสตีเฟนสัน ได้อพยพย้ายไปยังประเทศอเมริกา
เป็นการอพยพแบบสายฟ้าแลบ
เช่นเดียวกันกับการรุกเข้ามาแบบสายฟ้าแลบของฮิตเลอร์
ที่นิวยอร์ก บี.เอ็ส.ซี. เป็นศูนย์กลางการสั่งการสงครามลับเต็มรูปแบบ
มันสมองจากอังกฤษหลั่งไหลมายังอเมริกาเพื่อรวมกำลังต่อต้านฮิตเลอร์

139-7-%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1

อังกฤษผู้ด้อยกว่าในทุกทาง ซ้ำยังอาการร่อแร่รู้สึกตัวช้า
หนทางเดียวที่จะชนะ คือกลยุทธ์และกำลังใจอันแข็งกล้าเท่านั้น
อเมริกันคือตัวช่วยอันสำคัญ แม้กระทำกันอย่างลับๆ
ผู้คนที่เกี่ยวข้อง ล้วนแต่เปิดเผยตัวตนและสิ่งที่กำลังทำอยู่ไม่ได้
เป็นการปิดทองหลังพระโดยแท้
จวบแม้เวลาผ่านไปแล้วร่วมสามสิบกว่าปี
ความลับก็ยังเป็นความลับอยู่เช่นนั้น

เนื้อหาในเล่ม เป็นเหตุการณ์เริ่มตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
ก่อนที่อังกฤษจะประกาศสงครามกับเยอรมัน
ผู้เขียน เล่าแบบลำดับเหตุการณ์ มีการย้อนกลับไปกลับมาบ้าง
อ้างอิงถึงบันทึกของผู้ที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายที่
เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพเหตุการณ์
ขณะอ่าน ไม่ได้ตื่นเต้นเร้าใจเหมือนดูภาพยนตร์แอ็คชั่น
แต่ได้เห็นลำดับขั้นตอน ชั้นเชิง และการวิเคราะห์สถานการณ์ (ของฝ่ายอังกฤษเป็นสำคัญ)

นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ จึงเป็นหนังสือที่จัดทำขึ้น
โดยมีเจตนาหลักคือสดุดีผู้ที่ทำความดี แต่ถูกปกปิดเป็นความลับมาอย่างยาวนาน
แม้จะผ่านสงครามมาหลายสิบปีแล้วนั่นเอง

139-9-%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1

หนังสือเล่มนี้ มีการเล่าเรื่องที่เหมือนจังหวะการเต้นรำ
ที่เดินหน้าถอยหลังหมุนวนอยู่รอบสถานการณ์จนแจ่มแจ้ง
แล้วจึงขยับไปเล่าเรื่องต่อๆ ไปด้วยวิธีเดียวกัน
การดำเนินเรื่องจึงเป็นไปอย่างช้าๆ
ไม่ได้เน้นที่ความตื่นเต้นในยุทธการศึก
ไม่ได้ออกแนวนิยายสายลับอย่างที่เข้าใจในคราแรก
แต่เน้นความครอบคลุมรอบด้านของข้อมูลที่ต้องการจะเล่า
เน้นที่การวางชั้นเชิงทางสงครามมากกว่า
ผู้อ่านที่ชอบในเรื่องของประวัติศาสตร์สงคราม
ทำนองแฟนพันธุ์แท้สงครามโลก น่าจะอ่านสนุก

ความเป็นสายลับแบบในหนัง เพิ่งมาปรากฏชัดในบทท้ายๆ ของภาคที่สอง
ชั้นเชิงในการวางแผน แผนลวง แผนหลอก แผนจริง
การซ่อนเอกสารสำคัญ และการส่งเอกสารสำคัญอย่างเปิดเผย
เพื่อลวงอีกฝ่ายอย่างซับซ้อนหลายชั้น

การตรวจค้นจดหมาย และข้าวของต่างๆ
ที่ถูกแฝงส่งไปทางไปรษณีย์ถูกดักตรวจอยู่ที่เบอร์มิวดา
สร้างความน่าตื่นตาตื่นใจให้เรามาก
ที่ได้ทึ่งว่าการแฝงข้อความลับมาทางจดหมายนั้น
ทำได้ด้วยวิธีบรรเจิดอย่างไรบ้าง

139-10-%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1

หนังสือไม่ได้สุดุดีความดีของเหล่าจารชนอย่างโต้งๆ
แต่เราได้เห็นความยากลำบาก ความเสียสละ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพวกเขา
การเล่าบางช่วง กระโดดข้ามห้วงเวลาและสถานที่ไปมา
แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่า ไม่ง่ายเลยที่จะรวบรวมทุกปฏิบัติการ
จากอาสาสมัครผู้เสียสละในทุกๆ ฝ่ายเอาไว้ได้อย่างครบถ้วน
ความสำเร็จหลังสงคราม เป็นการอวสานอย่างเงียบเชียบของผู้คนที่เกี่ยวข้องด้วยทั้งหมด
ไม่มีคำชื่นชม เฉลิมฉลอง ต่อผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเสียสละโดยไม่คิดชีวิต
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทยอยปิดตัวลง
เหล่าจารบุรุษ จารสตรี กลับกลายเป็นประชาชนคนธรรมดา
ประกอบอาชีพกันไปอย่างธรรมดา
โดยคุณงามความดีทั้งหมดไม่เคยได้รับการยอมรับอย่างเปิดเผย
ความภาคภูมิใจทั้งปวง เป็นความภาคภูมิอันเป็นส่วนตัว
ที่ผู้เป็นเจ้าของได้แต่เก็บเงียบไว้ในความทรงจำเพียงของตนเท่านั้น
เป็นอวสานที่วังเวง หดหู่ในทัศนะของคนอ่านจริงๆ

Comments are closed.