อ่านแล้วเล่า

จดหมายรักจากบุรุษโลกไม่ลืม

เรื่อง จดหมายรักจากบุรุษโลกไม่ลืม
ผู้แต่ง เออร์ซูลา ดอยล์
ผู้แปล วลัยภรณ์ นาคพันธุ์ – เกษมชัย บุณยรัตพันธุ์
สำนักพิมพ์ โฟร์ เล็ตเตอร์ เวิร์ด
เลขมาตรฐานหนังสือ 9786167193113

เราชอบหนังสือรวมจดหมายรักเล่มนี้
ชอบเพราะก่อนจดหมายแต่ละฉบับ
หนังสือได้รวบรวมประวัติโดยคร่าวของผู้เขียนและผู้รับเอาไว้
ทำให้เราเข้าใจสถานการณ์ประกอบการอ่านอยู่บ้าง
และได้รู้จักตัวตนของเจ้าของจดหมายที่เราอ่านอยู่
เอาจริงๆ เจ้าของจดหมายทั้งหมดในเล่มนี้
เราก็เคยได้ยินชื่อของเขามาก่อนแค่ไม่กี่คนเอง
อย่างเช่น พระเจ้าเฮนรีที่แปด, โมสาร์ต (จดหมายของโมสาร์ทน่ารักมาก)
นโปเลียน, บีโธเฟน, วิกเตอร์ ฮูโก้, มาร์ก ทเวน, 
ออสการ์ ไวลด์, ปิแอร์ กูรี .. ประมาณนั้น

เจ้าของจดหมายแต่ละคน ก็มีอาชีพหลากหลาย แตกต่างกันไป
ทั้งนักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ กวี นักประพันธ์หนังสือ นักประพันธ์เพลง
ทหาร ทั้งที่รอดกลับมา และที่ตายในสงคราม นักการเมือง แม้กระทั่งนักบวช ฯลฯ

มีจดหมายหลายฉบับที่ถูกส่งไปยังผู้หญิงที่ไม่ใช่ภรรยาของผู้เขียน
และอีกบางฉบับ ฝ่ายหญิงผู้รับจดหมายก็มีคู่ครองอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ก็มีจดหมายอีกบางฉบับเช่นกัน ที่แสดงให้เราเห็นว่า
ฝ่ายชายที่ประสบความสำเร็จงดงามในชีวิตแล้วนั้น มักจะหลงตัวเอง

จดหมายรักทั้งหลายในเล่มนี้ มิได้แสดงแต่ความรักต่อกันเท่านั้น
บางฉบับก็ประกอบไปด้วยความเศร้า การตัดพ้อต่อว่า ประชดประชัน ข่มขู่ ไปจนถึงสาปแช่ง

จดหมายที่อ่านแล้วชอบติดใจ คือจดหมายของโรเบิร์ต ชูมานน์
มันอ่อนหวาน เต็มไปด้วยรักที่ไม่โอเวอร์
อุปมาของเขาแสนหวานและน่ารัก

อีกฉบับที่ชอบพอกันคือ จดหมายของปิแอร์ กูรี
เราชอบในความถ่อมตน ชอบเกรงอกเกรงใจว่าที่แฟนเป็นที่สุด น่ารักค่ะ

ปล. โดยส่วนตัว เราชอบจดหมายฉบับที่ใช้สรรพนาม คุณ – ผม  (ซึ่งมีอยู่จิ๊ดเดียวเอง)
       มากกว่าฉบับที่ใช้ ข้า – เจ้านะ
       (ซึ่งในส่วนคำนำ ผู้แปลได้ชี้แจงแล้วล่ะ ว่ามันขึ้นกับยุคสมัย)
       การใช้คุณ – ผม มันทำให้เราอินง่ายกว่า
       เวลาอ่านข้ากับเจ้าแล้วมันดูจักรๆ วงศ์ๆ ไม่ก็หนังจีนกำลังภายในยังไงไม่รู้
       ติดๆ ขัดๆ อยู่ในใจ เลยพาลไม่อินไป

Comments are closed.