อ่านแล้วเล่า

ที่นี่ที่รัก

62-1 ที่นี่ที่รัก

เรื่อง ที่นี่ที่รัก
ผู้แต่ง ทรงกลด บางยี่ขัน
สำนักพิมพ์ abook
ราคา 235 บาท

ซื้อหนังสือเล่มนี้มาได้ 2 ปีแล้ว
สารภาพกันโต้งๆ เลยว่าเพิ่งได้โอกาสหยิบมาอ่านเป็นรอบแรกค่ะ

ดองอย่างดีเอาไว้ในตู้ กำลังได้ที่เลยเชียว -*-

62-3 ที่นี่ที่รัก + นิ้วกลม

เปิดอ่านแล้วถึงได้รู้ว่า “ทางรถไฟสายดาวตก” ไม่ใช่เล่มแรกที่ก้องเขียนถึงญี่ปุ่น
ใช่แล้วค่ะ “ที่รัก” ของก้อง อยู่ที่ฟุกุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่นนี่เอง ..

ใครๆ ก็เล่าเรื่องการไปเที่ยวญี่ปุ่น
ก้องเองก็ด้วย เล่มนี้เป็นเล่มแรกที่ก้องพูดถึงญี่ปุ่น (แต่เป็นเล่มที่สองที่เราอ่าน)
ญี่ปุ่นเป็นเมืองที่เต็มที่ เวลาที่เขาทำอะไรเขาจะเต็มที่กับมัน
ทำอาหาร ก็ใส่ใจลงไปให้สุด
ทำสนามเบสบอล อันเป็นกีฬาสุดฮอตบ้านเขา
ก็ช่างเป็นสนามที่เหมาะสมกับการทำกิจกรรมทุกอย่างเกี่ยวกับเบสบอล
มีความสร้างสรรค์เท่าไร ใส่เต็มไปให้หมด สนามกีฬาจึงไม่เป็นแค่ที่เล่นกีฬา
แต่เป็นลานความสุขของคนดูกีฬาด้วย
มุมมองญี่ปุ่นแบบก้องๆ จึงอบอุ่น และสร้างสรรค์
เป็นการรวบรวมความอบอุ่นและสร้างสรรค์ของก้องและญี่ปุ่นผสมผสานกัน
ให้ใครที่ไหนมาเล่า ก็ไม่มีทางเหมือนก้องจริงๆ

62-4 ที่นี่ที่รัก

ก้องยังคงเล่าเรื่องธรรมดาๆ ได้ไม่ธรรมดา
ญี่ปุ่นของก้อง ก็เป็นญี่ปุ่นธรรมดาๆ ไม่หวือหวา ไม่แฟชั่น ไม่เน้นแหล่งท่องเที่ยว ..
แต่ก็ไม่ธรรมดาเอาเสียเลย

62-2 ที่นี่ที่รัก

ตัวหนังสือของก้องยังคงเรียกรอยยิ้มได้เป็นระยะขณะอ่าน
แม้ทุกอย่างจะโอเค แต่การอ่าน “ที่นี่ที่รัก” ต่อติดๆ กับ “สองเงาในเกาหลี
มันช่างทำให้เกิดข้อเปรียบเทียบได้อย่างชัดเจน
ญี่ปุ่นก็ญี่ปุ่นเหอะ อ่านให้ตายยังไงก็โรแมนติคไม่ได้ครึ่งของ (สองเงาใน) เกาหลีเลย

ท่องเที่ยวตามก้องติดต่อกันมาหลายเล่ม สังเกตได้ว่าสถานที่ที่ก้องเที่ยวนั้นมักจะไม่ธรรมดา
แม้จะเป็นที่ที่ธรรมดาที่สุดอย่างที่พัก หรือร้านอาหาร  แต่พอก้องไป มันกลับไม่ธรรมดาซะงั้น
ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า มันเป็นเพราะแนวการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของก้อง
หรือมุมมองผ่านสายตาของเขากันแน่ ที่ทำให้ภาพธรรมดาๆ ไม่เคยธรรมดาสักที

Comments are closed.